กรมทรัพย์สินทางปัญญา มั่นใจกรอบความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ ไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ไม่กระทบสิทธิบัตรด้านจุลชีพ และไทยจะไม่สูญเสียทรัพยากรธรรมชาติตามที่มีความกังวลใจ พร้อมเดินหน้าหารือกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาของญี่ปุ่นและวัดโพธิ์ เพื่อปกป้องคนญี่ปุ่นจะนำท่านวด “ฤๅษีดัดตน” ของไทยไปใช้หาผลประโยชน์ทางการค้า
นางพวงรัตน์ อัศวพิศิษฐ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยถึงกรณีที่มีข้อวิจารณ์เกี่ยวกับร่างความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ ไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ภายใต้กรอบเอฟทีเอ ไทย-ญี่ปุ่น โดยทั้ง 2 ประเทศจะมีการลงนามข้อตกลงระหว่างกันได้ในเร็วๆ นี้ จะส่งผลร้ายแรงทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียฐานทรัพยากรอย่างมหาศาลให้กับต่างชาติที่จะเข้ามาจดสิทธิบัตรจุลชีพของไทย ที่มีการระบุร่างข้อตกลงแต่ละฝ่ายจะต้องให้ความมั่นใจว่าคำขอรับสิทธิบัตรใดๆ จะไม่ถูกปฏิเสธเพียงเพราะเหตุผลอย่างเดียวว่าสาระที่ขอสิทธิในคำขอนั้นเกี่ยวกับจุลชีพที่มีอยู่ธรรมชาติ
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาถึงการตีข้อความนี้ในเชิงลึก จะเห็นว่า ถ้อยคำดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อระบบการจดสิทธิบัตรไทยในปัจจุบัน และไทยจะไม่สูญเสียทรัพยากรธรรมชาติตามที่หลายฝ่ายกังวลใจ ที่สำคัญ จุลชีพที่จะขอรับการจดสิทธิบัตรได้ต้องเป็นจุลชีพใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน และเกิดจากความสามารถของมนุษย์ในการประดิษฐ์คิดทำ หรือคิดแปลง หรือพัฒนาต่อยอดให้เกิดขึ้นมา ดังนั้น จุลชีพของเดิมที่ไทยมีอยู่แล้ว และมีการจดสิทธิบัตรอยู่แล้วจะไม่ได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน และกระทรวงพาณิชย์จะเร่งดำเนินการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อไป
ส่วนความคืบหน้ากรณีที่ นายมาซากิ ฟุรุยะ ชาวญี่ปุ่น ยื่นจดสิทธิบัตรเครื่องหมายการค้าฤๅษีดัดตนหลังจากเข้ามาร่ำเรียนที่วัดโพธิ์ ในประเทศไทย และได้ทำการยื่นจดสิทธิบัตรเครื่องหมายการค้าพร้อมทั้งจะทำการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ และนิตยสาร โดยจะควบคู่ไปกับการสอนโยคะ โดยระบุว่า ก่อนหน้านี้ ประเทศไทยได้มีการคัดค้านไปยังกรมทรัพย์สินทางปัญญาที่ญี่ปุ่นแล้ว และได้มีการระงับการจดสิทธิบัตรตามคำคัดค้านของประเทศไทย แต่ทางผู้ยื่นจดมีการร้องว่าสามารถที่จะขอใช้ชื่อ เพื่อจะประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ นิตยสาร และการสอนโยคะได้โดยให้เหตุผลว่า ทำให้ชื่อฤๅษีดัดตนเป็นที่รู้จักในญี่ปุ่น ซึ่งเรื่องดังกล่าวผู้ยื่นจดได้ให้ข้อมูลเป็นภาษาญี่ปุ่น และจากการที่ไทยได้ว่าจ้างทนายความชาวญี่ปุ่นกำลังศึกษารายละเอียดคำคัดค้านดังกล่าว แต่ยืนยันว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญาไม่ได้นิ่งนอนใจ จะหารือกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาของญี่ปุ่น และวัดโพธิ์ เพื่อหาทางป้องกันการละเมิดดังกล่าวต่อไป
นางพวงรัตน์ กล่าวอีกว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญาจะเร่งประสานไปยังประเทศอินโดนีเซียกรณีที่มีบริษัทในอินโดฯ ได้ลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้า และสินค้าหมวกกันน็อกไทยยี่ห้อ “INDEX” รวมทั้งได้ลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าไทยแลนด์ แบรนด์ ที่อาจทำให้เกิดความสับสนหลงผิดในแหล่งกำเนิดสินค้าที่จะมีผลเสียหาย ทำให้สินค้าไทยไม่สามารถส่งออกไปยังตลาดอินโดฯ ได้ ซึ่งกรมทรัพย์สินทางปัญญาของไทยได้ส่งหนังสือแจงไปยังทางการอินโดฯ แล้ว เพื่อขอความร่วมมือกันปราบปรามและตรวจจับกันให้มากขึ้น และในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้ ไทยและอินโดฯ โดยเฉพาะกรมทรัพย์สินทางปัญญาทั้งสองฝ่ายจะมีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ที่จะช่วยกันปกป้องปราบปรามปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในรูปแบบต่างๆ ต่อไป
ส่วนความคืบหน้ากรณีทางบริษัท เอราวัณฟูด จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ผลิตเงาะกระป๋องตราช้างพระอาทิตย์ โดยได้มีการยื่นจดสิทธิบัตร และเครื่องหมายการค้าในประเทศจีนไว้ก่อนหน้านี้แล้ว แต่ปรากฏว่า ช่วงที่ผ่านมา มีบริษัทจีนได้ทำการผลิตเงาะกระป๋อง โดยลอกเลียนแบบฉลากคล้ายกับของไทยมาก พร้อมกับมีการระบุว่าเป็นผลิตภัณฑ์ของไทย ซึ่งเห็นว่า เป็นการละเมิดเครื่องหมายการค้า ทำให้สินค้าของบริษัท เอราวัณฟูด ได้รับความเสียหายทางธุรกิจ ในปี 2547 และปี 2548 ไม่ต่ำกว่า 1.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ดังนั้น กรมทรัพย์สินทางปัญญาของไทยได้ส่งหนังสือแจ้งไปยังกรมทรัพย์สินทางปัญญาของจีน เพื่อให้ดำเนินการตรวจสอบและดำเนินคดีตามกฎหมาย เพราะถือว่าเป็นการละเมิดเครื่องหมายทางการค้า ขณะเดียวกัน ทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะประสานไปยังสำนักงานผู้แทนการค้าในต่างประเทศของไทยในจีน ให้ติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด และประสานกรมส่งเสริมการส่งออกให้ดูแลเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม กรมทรัพย์สินทางปัญญาขอเตือนผู้ส่งออกไทยควรตระหนักเมื่อจะส่งออกสินค้าไปจำหน่ายในประเทศใดควรยื่นจดสิทธิบัตรในประเทศนั้นๆ ทันที โดยไม่ต้องรอให้สินค้าติดตลาดก่อน ถือว่าเป็นการป้องกันตั้งแต่ต้นทาง เพื่อลดปัญหาการละเมิดเครื่องหมายการค้า เพื่อเป็นการเฝ้าระวังอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
นางพวงรัตน์ อัศวพิศิษฐ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยถึงกรณีที่มีข้อวิจารณ์เกี่ยวกับร่างความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ ไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ภายใต้กรอบเอฟทีเอ ไทย-ญี่ปุ่น โดยทั้ง 2 ประเทศจะมีการลงนามข้อตกลงระหว่างกันได้ในเร็วๆ นี้ จะส่งผลร้ายแรงทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียฐานทรัพยากรอย่างมหาศาลให้กับต่างชาติที่จะเข้ามาจดสิทธิบัตรจุลชีพของไทย ที่มีการระบุร่างข้อตกลงแต่ละฝ่ายจะต้องให้ความมั่นใจว่าคำขอรับสิทธิบัตรใดๆ จะไม่ถูกปฏิเสธเพียงเพราะเหตุผลอย่างเดียวว่าสาระที่ขอสิทธิในคำขอนั้นเกี่ยวกับจุลชีพที่มีอยู่ธรรมชาติ
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาถึงการตีข้อความนี้ในเชิงลึก จะเห็นว่า ถ้อยคำดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อระบบการจดสิทธิบัตรไทยในปัจจุบัน และไทยจะไม่สูญเสียทรัพยากรธรรมชาติตามที่หลายฝ่ายกังวลใจ ที่สำคัญ จุลชีพที่จะขอรับการจดสิทธิบัตรได้ต้องเป็นจุลชีพใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน และเกิดจากความสามารถของมนุษย์ในการประดิษฐ์คิดทำ หรือคิดแปลง หรือพัฒนาต่อยอดให้เกิดขึ้นมา ดังนั้น จุลชีพของเดิมที่ไทยมีอยู่แล้ว และมีการจดสิทธิบัตรอยู่แล้วจะไม่ได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน และกระทรวงพาณิชย์จะเร่งดำเนินการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อไป
ส่วนความคืบหน้ากรณีที่ นายมาซากิ ฟุรุยะ ชาวญี่ปุ่น ยื่นจดสิทธิบัตรเครื่องหมายการค้าฤๅษีดัดตนหลังจากเข้ามาร่ำเรียนที่วัดโพธิ์ ในประเทศไทย และได้ทำการยื่นจดสิทธิบัตรเครื่องหมายการค้าพร้อมทั้งจะทำการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ และนิตยสาร โดยจะควบคู่ไปกับการสอนโยคะ โดยระบุว่า ก่อนหน้านี้ ประเทศไทยได้มีการคัดค้านไปยังกรมทรัพย์สินทางปัญญาที่ญี่ปุ่นแล้ว และได้มีการระงับการจดสิทธิบัตรตามคำคัดค้านของประเทศไทย แต่ทางผู้ยื่นจดมีการร้องว่าสามารถที่จะขอใช้ชื่อ เพื่อจะประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ นิตยสาร และการสอนโยคะได้โดยให้เหตุผลว่า ทำให้ชื่อฤๅษีดัดตนเป็นที่รู้จักในญี่ปุ่น ซึ่งเรื่องดังกล่าวผู้ยื่นจดได้ให้ข้อมูลเป็นภาษาญี่ปุ่น และจากการที่ไทยได้ว่าจ้างทนายความชาวญี่ปุ่นกำลังศึกษารายละเอียดคำคัดค้านดังกล่าว แต่ยืนยันว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญาไม่ได้นิ่งนอนใจ จะหารือกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาของญี่ปุ่น และวัดโพธิ์ เพื่อหาทางป้องกันการละเมิดดังกล่าวต่อไป
นางพวงรัตน์ กล่าวอีกว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญาจะเร่งประสานไปยังประเทศอินโดนีเซียกรณีที่มีบริษัทในอินโดฯ ได้ลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้า และสินค้าหมวกกันน็อกไทยยี่ห้อ “INDEX” รวมทั้งได้ลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าไทยแลนด์ แบรนด์ ที่อาจทำให้เกิดความสับสนหลงผิดในแหล่งกำเนิดสินค้าที่จะมีผลเสียหาย ทำให้สินค้าไทยไม่สามารถส่งออกไปยังตลาดอินโดฯ ได้ ซึ่งกรมทรัพย์สินทางปัญญาของไทยได้ส่งหนังสือแจงไปยังทางการอินโดฯ แล้ว เพื่อขอความร่วมมือกันปราบปรามและตรวจจับกันให้มากขึ้น และในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้ ไทยและอินโดฯ โดยเฉพาะกรมทรัพย์สินทางปัญญาทั้งสองฝ่ายจะมีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ที่จะช่วยกันปกป้องปราบปรามปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในรูปแบบต่างๆ ต่อไป
ส่วนความคืบหน้ากรณีทางบริษัท เอราวัณฟูด จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ผลิตเงาะกระป๋องตราช้างพระอาทิตย์ โดยได้มีการยื่นจดสิทธิบัตร และเครื่องหมายการค้าในประเทศจีนไว้ก่อนหน้านี้แล้ว แต่ปรากฏว่า ช่วงที่ผ่านมา มีบริษัทจีนได้ทำการผลิตเงาะกระป๋อง โดยลอกเลียนแบบฉลากคล้ายกับของไทยมาก พร้อมกับมีการระบุว่าเป็นผลิตภัณฑ์ของไทย ซึ่งเห็นว่า เป็นการละเมิดเครื่องหมายการค้า ทำให้สินค้าของบริษัท เอราวัณฟูด ได้รับความเสียหายทางธุรกิจ ในปี 2547 และปี 2548 ไม่ต่ำกว่า 1.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ดังนั้น กรมทรัพย์สินทางปัญญาของไทยได้ส่งหนังสือแจ้งไปยังกรมทรัพย์สินทางปัญญาของจีน เพื่อให้ดำเนินการตรวจสอบและดำเนินคดีตามกฎหมาย เพราะถือว่าเป็นการละเมิดเครื่องหมายทางการค้า ขณะเดียวกัน ทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะประสานไปยังสำนักงานผู้แทนการค้าในต่างประเทศของไทยในจีน ให้ติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด และประสานกรมส่งเสริมการส่งออกให้ดูแลเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม กรมทรัพย์สินทางปัญญาขอเตือนผู้ส่งออกไทยควรตระหนักเมื่อจะส่งออกสินค้าไปจำหน่ายในประเทศใดควรยื่นจดสิทธิบัตรในประเทศนั้นๆ ทันที โดยไม่ต้องรอให้สินค้าติดตลาดก่อน ถือว่าเป็นการป้องกันตั้งแต่ต้นทาง เพื่อลดปัญหาการละเมิดเครื่องหมายการค้า เพื่อเป็นการเฝ้าระวังอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง