กระทรวงพาณิชย์เดินหน้ากดดันออสเตรเลียอย่างหนัก เพื่อคัดค้านไม่ให้ออกมาตรการตรวจสอบนำเข้ากุ้งและผลิตภัณฑ์กุ้งที่เข้มงวดกว่าเดิม เพราะจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกกุ้งของไทยอย่างไม่เป็นธรรม เตรียมหารือทั้งใน WTO และการประชุม Asean-CER เพื่อหาทางออกต่อไป
น.ส.ชุติมา บุณประภัศร อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ตามที่ออสเตรเลียจัดทำร่างรายงานวิเคราะห์ความเสี่ยงสำหรับกุ้งและผลิตภัณฑ์กุ้ง ซึ่งได้เสนอมาตรการใหม่ในการตรวจสอบการนำเข้ากุ้งและผลิตภัณฑ์กุ้งที่เข้มงวดกว่าเดิม แต่ไทยคัดค้านไม่ให้นำมาตรการดังกล่าวมาบังคับใช้ เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกกุ้งของไทยอย่างไม่เป็นธรรม และเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้ประสานกับคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก ขอให้นำประเด็นนี้หารือในที่ประชุมคณะกรรมการว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ครั้งที่ 38 ณ นครเจนีวา สวิสเซอร์แลนด์
น.ส.ชุติมา กล่าวว่า นายธวัชชัย โสภาเสถียรพงศ์ เอกอัครราชทูตคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก (WTO) ได้แสดงความกังวลว่ามาตรการดังกล่าวไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มารองรับอย่างเพียงพอ การนำมาบังคับใช้จะเป็นการกีดกันทางการค้าและจะส่งผลกระทบต่อคนจำนวนมากในภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องของประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะไทย นอกจากนี้ ออสเตรเลียไม่ควรนำมาบังคับใช้ในลักษณะที่เป็นมาตรการชั่วคราว เนื่องจากข้อตกลง SPS อนุญาตให้ใช้มาตรการชั่วคราวเฉพาะกรณีเกิดโรคระบาดอย่างรุนแรง ซึ่งปัจจุบันออสเตรเลียไม่ได้อยู่ในภาวะดังกล่าว ซึ่งข้อเรียกร้องดังกล่าวของไทยได้รับการสนับสนุนจากจีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และศรีลังกา
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมานายวินิจฉัย แจ่มแจ้ง รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้เข้าพบที่ปรึกษาทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจของสถานทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย เพื่อเน้นย้ำความเห็นของไทยในกรณีดังกล่าวว่าออสเตรเลียควรเร่งหาทางออกโดยใช้เวที TAFTA จะเหมาะสมกว่า ล่าสุดในการประชุม Asean-CER ระหว่างวันที่ 2-7 มีนาคม 2550 ณ กรุงเวลลิงตัน ประเทศนิวซีแลนด์ รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้ยกประเด็นดังกล่าวขึ้นหารือในที่ประชุม
“การดำเนินการในขั้นต่อไป หากทั้งไทยและออสเตรเลียไม่สามารถใช้เวที TAFTA เพื่อหาทางออกได้ ก็อาจจะมีผลกระทบต่อการลงนามของไทยในเวที Asean-CER ด้วย เนื่องจากกรณีมาตรการกุ้งถือเป็นกรณีตัวอย่างที่ออสเตรเลียบังคับใช้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชอย่างไม่สมเหตุผลและไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจน ซึ่งประเทศที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าวคือสมาชิกในกลุ่ม ASEAN ซึ่งเป็นผู้ส่งออกกุ้งรายใหญ่ไปตลาดออสเตรเลีย รวมทั้งไทยด้วย” น.ส.ชุติมา กล่าว
น.ส.ชุติมา บุณประภัศร อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ตามที่ออสเตรเลียจัดทำร่างรายงานวิเคราะห์ความเสี่ยงสำหรับกุ้งและผลิตภัณฑ์กุ้ง ซึ่งได้เสนอมาตรการใหม่ในการตรวจสอบการนำเข้ากุ้งและผลิตภัณฑ์กุ้งที่เข้มงวดกว่าเดิม แต่ไทยคัดค้านไม่ให้นำมาตรการดังกล่าวมาบังคับใช้ เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกกุ้งของไทยอย่างไม่เป็นธรรม และเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้ประสานกับคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก ขอให้นำประเด็นนี้หารือในที่ประชุมคณะกรรมการว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ครั้งที่ 38 ณ นครเจนีวา สวิสเซอร์แลนด์
น.ส.ชุติมา กล่าวว่า นายธวัชชัย โสภาเสถียรพงศ์ เอกอัครราชทูตคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก (WTO) ได้แสดงความกังวลว่ามาตรการดังกล่าวไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มารองรับอย่างเพียงพอ การนำมาบังคับใช้จะเป็นการกีดกันทางการค้าและจะส่งผลกระทบต่อคนจำนวนมากในภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องของประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะไทย นอกจากนี้ ออสเตรเลียไม่ควรนำมาบังคับใช้ในลักษณะที่เป็นมาตรการชั่วคราว เนื่องจากข้อตกลง SPS อนุญาตให้ใช้มาตรการชั่วคราวเฉพาะกรณีเกิดโรคระบาดอย่างรุนแรง ซึ่งปัจจุบันออสเตรเลียไม่ได้อยู่ในภาวะดังกล่าว ซึ่งข้อเรียกร้องดังกล่าวของไทยได้รับการสนับสนุนจากจีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และศรีลังกา
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมานายวินิจฉัย แจ่มแจ้ง รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้เข้าพบที่ปรึกษาทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจของสถานทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย เพื่อเน้นย้ำความเห็นของไทยในกรณีดังกล่าวว่าออสเตรเลียควรเร่งหาทางออกโดยใช้เวที TAFTA จะเหมาะสมกว่า ล่าสุดในการประชุม Asean-CER ระหว่างวันที่ 2-7 มีนาคม 2550 ณ กรุงเวลลิงตัน ประเทศนิวซีแลนด์ รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้ยกประเด็นดังกล่าวขึ้นหารือในที่ประชุม
“การดำเนินการในขั้นต่อไป หากทั้งไทยและออสเตรเลียไม่สามารถใช้เวที TAFTA เพื่อหาทางออกได้ ก็อาจจะมีผลกระทบต่อการลงนามของไทยในเวที Asean-CER ด้วย เนื่องจากกรณีมาตรการกุ้งถือเป็นกรณีตัวอย่างที่ออสเตรเลียบังคับใช้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชอย่างไม่สมเหตุผลและไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจน ซึ่งประเทศที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าวคือสมาชิกในกลุ่ม ASEAN ซึ่งเป็นผู้ส่งออกกุ้งรายใหญ่ไปตลาดออสเตรเลีย รวมทั้งไทยด้วย” น.ส.ชุติมา กล่าว