ภาคเอกชนหวั่นเครื่องในหมูนำเข้าจากออสเตรเลีย กระทบผู้จำหน่ายหมูในประเทศ หลังเปิดเอฟทีเอกับไทยแล้ว เพราะนำเข้ามาขายส่งราคาเพียงกิโลกรัมละ 10 บาท ขณะที่หอการค้า เตือนให้เกษตรกรและผู้ประกอบการเตรียมรับมือ เพราะอีก 13 ปี จะลดภาษีทุกประเภทเป็นศูนย์
นายกิดดิวงศ์ สมบุญธรรม เลขาธิการ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กล่าวในงานสัมมนา เรื่อง “FTA สุกรไทยเรื่องใกล้ตัว” ว่า ปัจจุบันราคาสุกรหน้าฟาร์มเริ่มดีขึ้น โดยขยับขึ้นมาเป็น 36-37 บาท/กิโลกรัม เนื่องจากกรมการค้าภายในได้นำโครงการจำหน่ายเนื้อสุกร 2 กิโลกรัม/100 บาท มาใช้ผลักดันตลาด รวมถึงโครงการหมูหัน ซึ่งรัฐบาลอนุมัติงบประมาณชดเชยลูกสุกร จำนวน 20 ล้านบาท เพื่อหวังลดจำนวนลูกสุกรในระบบ 1 แสนตัว จึงเชื่อมั่นว่า ในช่วง 8 เดือนข้างหน้า จะสามารถควบคุมแม่พันธุ์สุกรที่มีอยู่ 180,000 ตัว ไม่ให้ผลิตลูกออกสู่ระบบจนล้นตลาด
แต่ที่น่าเป็นห่วง คือ ปัญหาการนำเข้าเครื่องในสุกรเข้ามาจำหน่ายในประเทศจากประเทศออสเตรเลีย โดยพ่อค้าส่งรับซื้อในราคาเพียงกิโลกรัมละ 10 บาท เท่านั้น แต่นำมาจำหน่ายในตลาดในราคา 80-90 บาท เท่ากับเครื่องในหมูจากการชำแหละในประเทศ ทำให้ผู้ค้าส่งมีส่วนต่างรายได้ประมาณ 50 บาท และจะทำให้เครื่องในหมูในประเทศต้นทุนสูงกว่า และอาจทำให้เขียงชำแหละหมูปรับขึ้นราคาหมูเนื้อแดงให้สูงขึ้น เพราะรายได้จากเครื่องในลดลง ที่สำคัญปริมาณเครื่องในหมูจากออสเตรเลียจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 25 ของเครื่องในทั้งหมดในประเทศ หรือนำเข้ามาประมาณ 120,000 ตัน/ปี โดยเป็น ตับ ไต ถึง 5,800 ตัน เพราะประเทศพัฒนาแล้วจะไม่บริโภคเครื่องในและค่าใช้จ่ายในการทำลายเครื่องในก็สูงมาก จึงส่งออกยังประเทศไทย และอาจเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 50 หรือ 100 เปอร์เซ็นต์
นางปิยะนุช มาลากุล ณ อยุธยา รองประธานคณะกรรมการกฎระเบียบและการค้าระหว่างประเทศ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การทำเอฟทีเอกับออสเตรเลียจะทำให้ภาษีนำเข้าในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุกร 5,500 รายการต้องลดภาษี โดยทยอยลดภาษีร้อยละ 2 ต่อปี ทำให้ในช่วง 13 ปีข้างหน้า ในปี 2563 ภาษีเกี่ยวกับธุรกิจต่อเนื่องจะลดลงเป็นศูนย์ ทั้งวัตถุดิบ ยา อาหารสัตว์ ดังนั้น เกษตรกร และผู้ประกอบการจะต้องเร่งปรับตัวรองรับ การไหลเข้ามาแข่งขันของสินค้าประเภทต่างๆ แม้จะจำกัดโควตาหากมีการนำเข้ามาเป็นจำนวนมากก็ตาม แต่ก็ผู้ประกอบการไทยต้องได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน
นายกิดดิวงศ์ สมบุญธรรม เลขาธิการ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กล่าวในงานสัมมนา เรื่อง “FTA สุกรไทยเรื่องใกล้ตัว” ว่า ปัจจุบันราคาสุกรหน้าฟาร์มเริ่มดีขึ้น โดยขยับขึ้นมาเป็น 36-37 บาท/กิโลกรัม เนื่องจากกรมการค้าภายในได้นำโครงการจำหน่ายเนื้อสุกร 2 กิโลกรัม/100 บาท มาใช้ผลักดันตลาด รวมถึงโครงการหมูหัน ซึ่งรัฐบาลอนุมัติงบประมาณชดเชยลูกสุกร จำนวน 20 ล้านบาท เพื่อหวังลดจำนวนลูกสุกรในระบบ 1 แสนตัว จึงเชื่อมั่นว่า ในช่วง 8 เดือนข้างหน้า จะสามารถควบคุมแม่พันธุ์สุกรที่มีอยู่ 180,000 ตัว ไม่ให้ผลิตลูกออกสู่ระบบจนล้นตลาด
แต่ที่น่าเป็นห่วง คือ ปัญหาการนำเข้าเครื่องในสุกรเข้ามาจำหน่ายในประเทศจากประเทศออสเตรเลีย โดยพ่อค้าส่งรับซื้อในราคาเพียงกิโลกรัมละ 10 บาท เท่านั้น แต่นำมาจำหน่ายในตลาดในราคา 80-90 บาท เท่ากับเครื่องในหมูจากการชำแหละในประเทศ ทำให้ผู้ค้าส่งมีส่วนต่างรายได้ประมาณ 50 บาท และจะทำให้เครื่องในหมูในประเทศต้นทุนสูงกว่า และอาจทำให้เขียงชำแหละหมูปรับขึ้นราคาหมูเนื้อแดงให้สูงขึ้น เพราะรายได้จากเครื่องในลดลง ที่สำคัญปริมาณเครื่องในหมูจากออสเตรเลียจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 25 ของเครื่องในทั้งหมดในประเทศ หรือนำเข้ามาประมาณ 120,000 ตัน/ปี โดยเป็น ตับ ไต ถึง 5,800 ตัน เพราะประเทศพัฒนาแล้วจะไม่บริโภคเครื่องในและค่าใช้จ่ายในการทำลายเครื่องในก็สูงมาก จึงส่งออกยังประเทศไทย และอาจเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 50 หรือ 100 เปอร์เซ็นต์
นางปิยะนุช มาลากุล ณ อยุธยา รองประธานคณะกรรมการกฎระเบียบและการค้าระหว่างประเทศ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การทำเอฟทีเอกับออสเตรเลียจะทำให้ภาษีนำเข้าในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุกร 5,500 รายการต้องลดภาษี โดยทยอยลดภาษีร้อยละ 2 ต่อปี ทำให้ในช่วง 13 ปีข้างหน้า ในปี 2563 ภาษีเกี่ยวกับธุรกิจต่อเนื่องจะลดลงเป็นศูนย์ ทั้งวัตถุดิบ ยา อาหารสัตว์ ดังนั้น เกษตรกร และผู้ประกอบการจะต้องเร่งปรับตัวรองรับ การไหลเข้ามาแข่งขันของสินค้าประเภทต่างๆ แม้จะจำกัดโควตาหากมีการนำเข้ามาเป็นจำนวนมากก็ตาม แต่ก็ผู้ประกอบการไทยต้องได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน