องค์กรนอกภาครัฐ (เอ็นจีโอ)-นักวิชาการเรียกร้องให้รัฐบาลชะลอการอนุมัติแผนพีดีพี 2007 ออกไปก่อน เพราะความต้องการใช้ไฟฟ้าใหม่จะเกิดขึ้นในอีก 7 ปีข้างหน้า โดยควรใช้เวลา 2 ปีนับจากนี้ทบทวนการจัดทำแผน หวั่นหาก 3 การไฟฟ้ามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนจะเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะถือว่ามีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง
วันนี้ (8 มี.ค.) กระทรวงพลังงานร่วมกับคณะกรรมาธิการพลังงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และสภาอาจารย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกันจัดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (พีดีพี) ระยะยาว 15 ปี (2550-2564) หรือแผนพีดีพี 2007 ซึ่งในแผนดังกล่าวทั้งนักวิชาการและองค์กรนอกภาครัฐหรือเอ็นจีโอ ต่างแสดงความไม่เห็นด้วยว่ากรณี 3 การไฟฟ้า ประกอบด้วย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนดังกล่าวและเป็นห่วงถึงผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะทั้ง 3 การไฟฟ้ามีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง ยิ่งค่าพยากรณ์สูงก็จะมีงบลงทุนที่สูงและกำไรสูง
นอกจากนี้ อาจจะเกิดปัญหาการเมืองแทรกแซง เนื่องจากยังไม่มีองค์กรกำกับดูแลองค์กรอิสระการจัดทำค่าพยากรณ์และอาจเกิดแรงจูงใจในการเข้ามาแทรกแซง ซึ่งกรณีค่าพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง ก็จะเป็นสิ่งที่ทำให้เห็นว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มเติบโตสูง และจะมีการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการลงทุนค่าไฟฟ้า โดยทางเอ็นจีโอ เสนอด้วยว่าแผนพีดีพี 2007 ยังไม่ต้องรีบอนุมัติ เพราะความต้องการใช้ไฟฟ้าใหม่จะเกิดขึ้นในอีก 7 ปีข้างหน้า ดังนั้น 2 ปีนับจากนี้น่าจะมาทบทวนการทำแผน ซึ่งจะต้องอยู่บนหลักเกณฑ์ต้นทุนต่ำที่สุดและผู้ทำแผนควรจะเป็นองค์กรกำกับดูแลองค์กรอิสระ
พร้อมทั้งแสดงความเห็นว่าแผนพีดีพี 2007 มีการลงทุนที่สูงเกินจริง เช่น กรณี 5 ปีแรกมีการคาดการณ์ว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงถึง 1,400 เมกะวัตต์ต่อปี 5 ปีถัดไปมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงถึง 1,900 เมกะวัตต์ต่อวัน และ 5 ปีสุดท้ายมีความต้องการใช้ไฟฟ้าถึง 2,300 เมกะวัตต์ต่อปี ซึ่งหากมองย้อนหลังจะเห็นได้ว่าแผนพีดีพีนั้นมีความต้องการสูงเกินข้อเท็จจริงตลอด โดยคาดว่าความต้องการสูงสุดน่าจะอยู่ที่ประมาณ 1,200 เมกะวัตต์ต่อปี และยังไม่เห็นด้วยกับกรณีนำนิวเคลียร์ 4,000 เมกะวัตต์มาเป็นทางเลือกสร้างโรงไฟฟ้าและมีการกำกับสร้างโรงไฟฟ้าจากภาคเอกชนรายเล็ก (เอสพีพี) และเล็กมาก (วีเอสพีพี)
ด้านตัวแทนจากกระทรวงพลังงาน นายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ชี้แจงว่า แผนพีดีพีได้พิจารณาจากตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ประมาณการโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และได้ทำหลายทางเลือกทั้งการใช้ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน นิวเคลียร์ พลังงานทางเลือก การประหยัดพลังงาน การใช้ระบบไฟฟ้าจากพลังงานความร้อนร่วมเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการวางแผน ซึ่งการทำแผนพีดีพี หากไม่เร่งกำหนดล่วงหน้า น่าเป็นห่วงว่าหากประเทศเกิดไฟฟ้าขาดแคลนผลกระทบจะเกิดมาก อย่างไรก็ตาม จะนำความคิดเห็นทุกฝ่ายประกอบการพิจารณาจัดทำแผนพีดีพีให้เหมาะสมต่อไป
วันนี้ (8 มี.ค.) กระทรวงพลังงานร่วมกับคณะกรรมาธิการพลังงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และสภาอาจารย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกันจัดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (พีดีพี) ระยะยาว 15 ปี (2550-2564) หรือแผนพีดีพี 2007 ซึ่งในแผนดังกล่าวทั้งนักวิชาการและองค์กรนอกภาครัฐหรือเอ็นจีโอ ต่างแสดงความไม่เห็นด้วยว่ากรณี 3 การไฟฟ้า ประกอบด้วย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนดังกล่าวและเป็นห่วงถึงผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะทั้ง 3 การไฟฟ้ามีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง ยิ่งค่าพยากรณ์สูงก็จะมีงบลงทุนที่สูงและกำไรสูง
นอกจากนี้ อาจจะเกิดปัญหาการเมืองแทรกแซง เนื่องจากยังไม่มีองค์กรกำกับดูแลองค์กรอิสระการจัดทำค่าพยากรณ์และอาจเกิดแรงจูงใจในการเข้ามาแทรกแซง ซึ่งกรณีค่าพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง ก็จะเป็นสิ่งที่ทำให้เห็นว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มเติบโตสูง และจะมีการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการลงทุนค่าไฟฟ้า โดยทางเอ็นจีโอ เสนอด้วยว่าแผนพีดีพี 2007 ยังไม่ต้องรีบอนุมัติ เพราะความต้องการใช้ไฟฟ้าใหม่จะเกิดขึ้นในอีก 7 ปีข้างหน้า ดังนั้น 2 ปีนับจากนี้น่าจะมาทบทวนการทำแผน ซึ่งจะต้องอยู่บนหลักเกณฑ์ต้นทุนต่ำที่สุดและผู้ทำแผนควรจะเป็นองค์กรกำกับดูแลองค์กรอิสระ
พร้อมทั้งแสดงความเห็นว่าแผนพีดีพี 2007 มีการลงทุนที่สูงเกินจริง เช่น กรณี 5 ปีแรกมีการคาดการณ์ว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงถึง 1,400 เมกะวัตต์ต่อปี 5 ปีถัดไปมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงถึง 1,900 เมกะวัตต์ต่อวัน และ 5 ปีสุดท้ายมีความต้องการใช้ไฟฟ้าถึง 2,300 เมกะวัตต์ต่อปี ซึ่งหากมองย้อนหลังจะเห็นได้ว่าแผนพีดีพีนั้นมีความต้องการสูงเกินข้อเท็จจริงตลอด โดยคาดว่าความต้องการสูงสุดน่าจะอยู่ที่ประมาณ 1,200 เมกะวัตต์ต่อปี และยังไม่เห็นด้วยกับกรณีนำนิวเคลียร์ 4,000 เมกะวัตต์มาเป็นทางเลือกสร้างโรงไฟฟ้าและมีการกำกับสร้างโรงไฟฟ้าจากภาคเอกชนรายเล็ก (เอสพีพี) และเล็กมาก (วีเอสพีพี)
ด้านตัวแทนจากกระทรวงพลังงาน นายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ชี้แจงว่า แผนพีดีพีได้พิจารณาจากตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ประมาณการโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และได้ทำหลายทางเลือกทั้งการใช้ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน นิวเคลียร์ พลังงานทางเลือก การประหยัดพลังงาน การใช้ระบบไฟฟ้าจากพลังงานความร้อนร่วมเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการวางแผน ซึ่งการทำแผนพีดีพี หากไม่เร่งกำหนดล่วงหน้า น่าเป็นห่วงว่าหากประเทศเกิดไฟฟ้าขาดแคลนผลกระทบจะเกิดมาก อย่างไรก็ตาม จะนำความคิดเห็นทุกฝ่ายประกอบการพิจารณาจัดทำแผนพีดีพีให้เหมาะสมต่อไป