มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุ ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยทุกรายการปรับลดลงจนต่ำสุดในรอบ 6 เดือน หลังจากมีปัจจัยลบรุมเร้าเพียบ ทั้งปัญหาการเมือง เหตุระเบิดทั้งใน กทม.และภาคใต้ ส่วนปัจจัยบวกมีเพียงการลดดอกเบี้ยเท่านั้น แนะรัฐบาลเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านมาตรการการเงิน การคลัง โดยด่วน
นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ผลการสำรวจความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยเดือนกุมภาพันธ์ 2550 พบว่า ดัชนีทุกรายการยังปรับลดลงต่อเนื่องและต่ำสุดในรอบ 6 เดือน โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงจาก 79.9 มาอยู่ที่ 79.0 ความเชื่อมั่นในปัจจุบันลดลงจาก 77.7 เหลือ 76.8 และดัชนีความเชื่อมั่นต่ออนาคต ลดลงจาก 78.0 มาอยู่ที่ 77.1 เช่นเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโดยรวมที่ลดลงจาก 74.2 เหลือ 73.4 ความเชื่อมั่นต่อโอกาสในการหางานจาก 75.4 เหลือ 474.4 และความเชื่อมั่นต่อรายได้ในอนาคต ลดลงจาก 90.2 มาอยู่ที่ 89.2 ขณะที่ประชาชนยังเห็นว่าไม่มีความเหมาะสมต่อการซื้อรถยนต์ ซื้อบ้าน ไปท่องเที่ยว และลงทุนทางธุรกิจ จึงกระทบต่อดัชนีลดลงทุกรายการเช่นกัน
ทั้งนี้ การที่ดัชนีทุกรายการลดลงจนทำสถิติต่ำสุดในรอบ 60 เดือน เนื่องจากมีปัจจัยลบจำนวนมาก ได้แก่ แนวโน้มราคาน้ำมันที่สูงขึ้นต่อเนื่อง การเมืองเริ่มขาดเสถียรภาพจากการที่ ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล ลาออกจากรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่ากระทรวงการคลัง และการลาออกของ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ จากประธานคณะกรรมการประสานงานและกระชับความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เหตุการณ์ระเบิดในภาคใต้ต่อเนื่อง และการประกาศเตือนการลอบวางระเบิดในกรุงเทพฯ ได้ส่งผลกระทบทางจิตวิทยาในการชะลอการซื้อ และการลงทุน กระทรวงการคลังประกาศลดประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2550 เหลือร้อยละ 4-4.5 เงินบาทแข็งค่ากระทบต่อการส่งออกและขยายตัวของเศรษฐกิจ อีกทั้งความวิตกต่อปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้นและรายได้ในอนาคต ซึ่งผลจากยังไม่เห็นความชัดเจนต่อนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ขณะที่ปัจจัยบวกมีเพียงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อพันธบัตรรัฐบาลระยะ 1 วันลงร้อยละ 0.25 และอัตราเงินกู้ลงร้อยละ 0.25 ทำให้การซื้อขายหุ้นเพิ่มขึ้น และค่าบาทอ่อนขาลงเล็กน้อย
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ผลสำรวจได้ชี้ชัดถึงสัญญาณดัชนีความเชื่อมั่นขาลง และโอกาสดัชนีผู้บริโภคปรับลดลงยังมีต่อเนื่อง และถือเป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง ถือว่าเข้าใกล้ขั้นวิกฤตของความเชื่อมั่นภาคประชาชน ฉะนั้น รัฐบาลควรเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านมาตรการทางการคลังและการเงิน โดยเร่งการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อกระตุ้นการจ้างงาน ปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.5 ไม่เกินไตรมาส 2/50 ผ่อนปรน หรือยกเลิกมาตรการดูแลการเก็งกำไรร้อยละ 30 ซึ่งจะช่วยฟื้นความมั่นใจต่อการลงทุนของต่างประเทศ
“ตอนนี้การเมืองกำลังเปราะบาง และเพิ่มความกังวลต่อประชาชนมากขึ้น บวกกับปัจจัยลบภายนอกที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด ทั้งความขัดแย้งของสหรัฐฯ กับอิรัก อิหร่าน การปรับลดลงของตลาดหุ้นทั่วเอเชีย และเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและความผันผวนของค่าเงินของประเทศค้าใหญ่ของโลกทั้งสหรัฐฯ จีน และญี่ปุ่น ย่อมกระทบต่อการส่งออก และการท่องเที่ยวที่ลดลง รัฐมนตรีการคลังคนใหม่ ควรเร่งในการฟื้นความมั่นใจของนักลงทุน ดูแลค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าเกิน 35-35.50 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ เร่งพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยกู้ลงอีกรอบ อาจกระทบต่อประมาณเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวต่ำกว่าร้อยละ 4 ได้ ซึ่งในเดือนเมษายนนี้ หอการค้าไทยจะประเมินตัวเลขเศรษฐกิจไทยใหม่ในทิศทางที่ลดลง เพราะเชื่อว่าความเชื่อมั่น และเศรษฐกิจไทยจะกลับมาเป็นขาขึ้นอีกครั้งในไตรมาส 3-4 ของปี” นายธนวรรธน์ กล่าว
นายธนวรรธน์ กล่าวถึงการประเมินผลงานรัฐบาลในรอบ 6 เดือน ว่า คงได้ 7 คะแนนใน 10 คะแนน เพราะที่ผ่านมารัฐบาลมุ่งแต่แก้ไขพื้นฐานและเฉพาะด้านเป็นหลัก แต่ยังไม่วางพื้นฐานการกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะปานกลางและยาว อีกทั้งขาดการประชาสัมพันธ์ ทำให้เกิดความขัดแย้ง หรือคัดค้าน เช่น การแก้ไข พ.ร.บ.การประกอบการของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 ในหลักการนั้นถูกต้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย แต่ควรเร่งชี้แจงเพื่อให้เกิดความเข้าใจและยอมรับมากกว่านี้ หรือการใช้มาตรการแบบกะทันหันของมาตรการสกัดการเก็งกำไร เงินบาท ในแง่บุคคลที่เข้าร่วมรัฐบาล ยังเห็นรัฐมนตรีส่วนใหญ่มีความเป็นกลางและเที่ยงธรรม แต่อย่างไรก็ตามในผลสำรวจต่อผลงานรัฐบาลซึ่งทางหอการค้าไทยกำลังจัดเก็บข้อมูล เบื้องต้นประชาชนเริ่มเปรียบเทียบนโยบาย และผลงานของรัฐบาลชุดปัจจุบันกับรัฐบาลก่อนหน้านี้
นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ผลการสำรวจความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยเดือนกุมภาพันธ์ 2550 พบว่า ดัชนีทุกรายการยังปรับลดลงต่อเนื่องและต่ำสุดในรอบ 6 เดือน โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงจาก 79.9 มาอยู่ที่ 79.0 ความเชื่อมั่นในปัจจุบันลดลงจาก 77.7 เหลือ 76.8 และดัชนีความเชื่อมั่นต่ออนาคต ลดลงจาก 78.0 มาอยู่ที่ 77.1 เช่นเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโดยรวมที่ลดลงจาก 74.2 เหลือ 73.4 ความเชื่อมั่นต่อโอกาสในการหางานจาก 75.4 เหลือ 474.4 และความเชื่อมั่นต่อรายได้ในอนาคต ลดลงจาก 90.2 มาอยู่ที่ 89.2 ขณะที่ประชาชนยังเห็นว่าไม่มีความเหมาะสมต่อการซื้อรถยนต์ ซื้อบ้าน ไปท่องเที่ยว และลงทุนทางธุรกิจ จึงกระทบต่อดัชนีลดลงทุกรายการเช่นกัน
ทั้งนี้ การที่ดัชนีทุกรายการลดลงจนทำสถิติต่ำสุดในรอบ 60 เดือน เนื่องจากมีปัจจัยลบจำนวนมาก ได้แก่ แนวโน้มราคาน้ำมันที่สูงขึ้นต่อเนื่อง การเมืองเริ่มขาดเสถียรภาพจากการที่ ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล ลาออกจากรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่ากระทรวงการคลัง และการลาออกของ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ จากประธานคณะกรรมการประสานงานและกระชับความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เหตุการณ์ระเบิดในภาคใต้ต่อเนื่อง และการประกาศเตือนการลอบวางระเบิดในกรุงเทพฯ ได้ส่งผลกระทบทางจิตวิทยาในการชะลอการซื้อ และการลงทุน กระทรวงการคลังประกาศลดประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2550 เหลือร้อยละ 4-4.5 เงินบาทแข็งค่ากระทบต่อการส่งออกและขยายตัวของเศรษฐกิจ อีกทั้งความวิตกต่อปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้นและรายได้ในอนาคต ซึ่งผลจากยังไม่เห็นความชัดเจนต่อนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ขณะที่ปัจจัยบวกมีเพียงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อพันธบัตรรัฐบาลระยะ 1 วันลงร้อยละ 0.25 และอัตราเงินกู้ลงร้อยละ 0.25 ทำให้การซื้อขายหุ้นเพิ่มขึ้น และค่าบาทอ่อนขาลงเล็กน้อย
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ผลสำรวจได้ชี้ชัดถึงสัญญาณดัชนีความเชื่อมั่นขาลง และโอกาสดัชนีผู้บริโภคปรับลดลงยังมีต่อเนื่อง และถือเป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง ถือว่าเข้าใกล้ขั้นวิกฤตของความเชื่อมั่นภาคประชาชน ฉะนั้น รัฐบาลควรเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านมาตรการทางการคลังและการเงิน โดยเร่งการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อกระตุ้นการจ้างงาน ปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.5 ไม่เกินไตรมาส 2/50 ผ่อนปรน หรือยกเลิกมาตรการดูแลการเก็งกำไรร้อยละ 30 ซึ่งจะช่วยฟื้นความมั่นใจต่อการลงทุนของต่างประเทศ
“ตอนนี้การเมืองกำลังเปราะบาง และเพิ่มความกังวลต่อประชาชนมากขึ้น บวกกับปัจจัยลบภายนอกที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด ทั้งความขัดแย้งของสหรัฐฯ กับอิรัก อิหร่าน การปรับลดลงของตลาดหุ้นทั่วเอเชีย และเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและความผันผวนของค่าเงินของประเทศค้าใหญ่ของโลกทั้งสหรัฐฯ จีน และญี่ปุ่น ย่อมกระทบต่อการส่งออก และการท่องเที่ยวที่ลดลง รัฐมนตรีการคลังคนใหม่ ควรเร่งในการฟื้นความมั่นใจของนักลงทุน ดูแลค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าเกิน 35-35.50 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ เร่งพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยกู้ลงอีกรอบ อาจกระทบต่อประมาณเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวต่ำกว่าร้อยละ 4 ได้ ซึ่งในเดือนเมษายนนี้ หอการค้าไทยจะประเมินตัวเลขเศรษฐกิจไทยใหม่ในทิศทางที่ลดลง เพราะเชื่อว่าความเชื่อมั่น และเศรษฐกิจไทยจะกลับมาเป็นขาขึ้นอีกครั้งในไตรมาส 3-4 ของปี” นายธนวรรธน์ กล่าว
นายธนวรรธน์ กล่าวถึงการประเมินผลงานรัฐบาลในรอบ 6 เดือน ว่า คงได้ 7 คะแนนใน 10 คะแนน เพราะที่ผ่านมารัฐบาลมุ่งแต่แก้ไขพื้นฐานและเฉพาะด้านเป็นหลัก แต่ยังไม่วางพื้นฐานการกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะปานกลางและยาว อีกทั้งขาดการประชาสัมพันธ์ ทำให้เกิดความขัดแย้ง หรือคัดค้าน เช่น การแก้ไข พ.ร.บ.การประกอบการของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 ในหลักการนั้นถูกต้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย แต่ควรเร่งชี้แจงเพื่อให้เกิดความเข้าใจและยอมรับมากกว่านี้ หรือการใช้มาตรการแบบกะทันหันของมาตรการสกัดการเก็งกำไร เงินบาท ในแง่บุคคลที่เข้าร่วมรัฐบาล ยังเห็นรัฐมนตรีส่วนใหญ่มีความเป็นกลางและเที่ยงธรรม แต่อย่างไรก็ตามในผลสำรวจต่อผลงานรัฐบาลซึ่งทางหอการค้าไทยกำลังจัดเก็บข้อมูล เบื้องต้นประชาชนเริ่มเปรียบเทียบนโยบาย และผลงานของรัฐบาลชุดปัจจุบันกับรัฐบาลก่อนหน้านี้