จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ เปิดผลประกอบการปี 2549 รายได้ทะลุ 6,427.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นแค่ 1.8% เผยธุรกิจอีเว้นต์เติบโตสูงสุด 14%
รายงานข่าวจาก บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) แจ้งถึงผลประกอบการของบริษัทฯว่า บริษัทฯสามารถทำรายได้รวมปี 2549 เป็นจำนวนเงิน 6,427.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ซึ่งมีรายได้รวม 6,313.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 114 ล้านบาท หรือคิดเป็น 1.8%
ทั้งนี้สัดส่วนของรายได้ทั้งกลุ่มนั้นแบ่งออกเป็น 1. ธุรกิจเพลง 2.มีเดีย 3. ภาพยนตร์ และ4. อื่นๆโดยรายได้แยกตามกลุ่มได้ดังนี้ 1.ธุรกิจเพลง ทำรายได้ 52% ของรายได้รวมคือ 3,348 ล้านบาท สูงกว่าปี 2548 ประมาณ 2% หรือ 54 ล้านบาท แบ่งออกเป็นรายได้จากการจำหน่ายสินค้าในรูปแบบของเทป ซีดี และวีซีดี61% การบริหารศิลปิน13%อีบิซิเนส 11% การบริหารลิขสิทธิ์ 9 % และโชว์บิซ 6% โดยภาพรวมรายได้จาการจำหน่ายสินค้าในรูปแบบของเทป ซีดี และวีซีดี ลดลงไปกว่าปี 2548 เล็กน้อยไม่เกิน 10% แต่รายได้ด้านอื่นเติบโตขึ้น อีบิซิเนสโตขึ้น 8% การบริหารลิขสิทธ์เติบโตขึ้น 12% การบริหารศิลปินเติบโตขึ้น 9% และโชว์บิซเติบโตขึ้น 12%
รายได้ของกลุ่มเพลงนั้นเติบโตขึ้น แม้ว่าไตรมาสสุดท้ายจะเกิดสถานการณ์ไม่สงบเรียบร้อยของบ้านเมืองหลายอย่าง ทั้งนี้เพราะความสำเร็จของการทำ Integrated Marketing ให้กับลูกค้ารายใหญ่ อาทิเช่น MISO,Na Ma Cha ( Green Tea) Toyota Vigo, MAMA, Yamaha นั่นเอง
2.ธุรกิจมีเดีย หรือ บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) เป็น 38% ของรายได้รวมกลุ่ม หรือ 2854.7 ล้านบาท สูงกว่าปี 2548 ซึ่งมีรายได้รวม 2748.6 ล้านบาท ประมาณ106.1 ล้านบาท หรือ 3.9% แบ่งออกเป็นรายได้จากวิทยุ 25% หรือ 718 ล้านบาท โทรทัศน์ 37% หรือ 1149 ล้านบาท อีเว้นต์ 27% หรือ 635 ล้านบาท สิ่งพิมพ์ 11% หรือ 314 ล้านบาท
รายได้ที่เพิ่มขึ้นนั้นมารจากธุรกิจอีเว้นต์ที่เติบโตถึง 14% แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไม่สงบในช่วงปลายปีอยู่บ้าง สะท้อนว่ากลยุทธ์ตอบโจทย์ลูกค้าทั้ง อะโบพ แอนด์ บีโลว์ เดอะไลน์ สอดคล้องกับความต้องการของสปอนเซอร์อย่างแท้จริง และธุรกิจสิ่งพิมพ์เติบโตขึ้น 8% ตามจำนวนหัวของนิตยสารที่เพิ่มขึ้น
3.ธุรกิจภาพยนตร์ เป็น 4% ของรายได้กลุ่ม หรือ 407 ล้านบาท ซึ่งมีมาร์เก็ตแชร์เป็น อันดับ 2 ของอุตสาหกรรมภาพยนต์ และมีผลงานติด 10 สุดยอดของภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดของปี 2549 ถึง 4 เรื่อง อีกทั้งได้รับรางวัลมากมายทั้งระดับในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลให้แบรนด์ของภาพยนตร์ในเครือได้รับการยอมรับและสามารถต่อยอดไปทำธุรกิจในต่างประเทศได้ดังเช่นภาพยนตร์เรื่อง แฝด (Alonc) ที่เข้าฉายในปีนี้ก็สามารถจำหน่ายไปได้ถึง 10 ประเทศแล้วก่อนฉายในไทย
สำหรับภาพรวมนั้น นายสิริชัย ตินติพงศ์อนันต์ รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานบัญชีการเงิน กล่าวว่า บริษัทฯพอใจกับผลประกอบการดังกล่าว เนื่องจากเป็นที่ทราบกันว่าในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีที่ผ่านมา บ้านเมืองเกิดเหตุการณ์ไม่เรียบร้อยหลายประการส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจโดยรวมทั้งสังคม แต่เนื่องจากบริษัทมีผลประกอบการในไตรมาส 2 และ 3ดี จึงสามารถทำรายได้ในระดับที่น่าพอใจ นอกจากนั้นโครงการสร้างรายได้ดังกล่าวยังตอกย้ำว่ากลยุทธ์ที่แกรมมี่จะเดินในปี 2550 มาถูกทาง ไม่ว่าจะเป็นรายได้ที่มาจากธุรกิจเพลงมากกว่า 50% การเติบโตของอีบิซิเนส โชว์บิซ และอีเวนต์ การตอบสนองลูกค้าทั้งอะโบฟ แอนด์ บีโลว์ เดอะไลน์ ในที่เดียวกัน เป็นต้น
รายงานข่าวจาก บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) แจ้งถึงผลประกอบการของบริษัทฯว่า บริษัทฯสามารถทำรายได้รวมปี 2549 เป็นจำนวนเงิน 6,427.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ซึ่งมีรายได้รวม 6,313.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 114 ล้านบาท หรือคิดเป็น 1.8%
ทั้งนี้สัดส่วนของรายได้ทั้งกลุ่มนั้นแบ่งออกเป็น 1. ธุรกิจเพลง 2.มีเดีย 3. ภาพยนตร์ และ4. อื่นๆโดยรายได้แยกตามกลุ่มได้ดังนี้ 1.ธุรกิจเพลง ทำรายได้ 52% ของรายได้รวมคือ 3,348 ล้านบาท สูงกว่าปี 2548 ประมาณ 2% หรือ 54 ล้านบาท แบ่งออกเป็นรายได้จากการจำหน่ายสินค้าในรูปแบบของเทป ซีดี และวีซีดี61% การบริหารศิลปิน13%อีบิซิเนส 11% การบริหารลิขสิทธิ์ 9 % และโชว์บิซ 6% โดยภาพรวมรายได้จาการจำหน่ายสินค้าในรูปแบบของเทป ซีดี และวีซีดี ลดลงไปกว่าปี 2548 เล็กน้อยไม่เกิน 10% แต่รายได้ด้านอื่นเติบโตขึ้น อีบิซิเนสโตขึ้น 8% การบริหารลิขสิทธ์เติบโตขึ้น 12% การบริหารศิลปินเติบโตขึ้น 9% และโชว์บิซเติบโตขึ้น 12%
รายได้ของกลุ่มเพลงนั้นเติบโตขึ้น แม้ว่าไตรมาสสุดท้ายจะเกิดสถานการณ์ไม่สงบเรียบร้อยของบ้านเมืองหลายอย่าง ทั้งนี้เพราะความสำเร็จของการทำ Integrated Marketing ให้กับลูกค้ารายใหญ่ อาทิเช่น MISO,Na Ma Cha ( Green Tea) Toyota Vigo, MAMA, Yamaha นั่นเอง
2.ธุรกิจมีเดีย หรือ บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) เป็น 38% ของรายได้รวมกลุ่ม หรือ 2854.7 ล้านบาท สูงกว่าปี 2548 ซึ่งมีรายได้รวม 2748.6 ล้านบาท ประมาณ106.1 ล้านบาท หรือ 3.9% แบ่งออกเป็นรายได้จากวิทยุ 25% หรือ 718 ล้านบาท โทรทัศน์ 37% หรือ 1149 ล้านบาท อีเว้นต์ 27% หรือ 635 ล้านบาท สิ่งพิมพ์ 11% หรือ 314 ล้านบาท
รายได้ที่เพิ่มขึ้นนั้นมารจากธุรกิจอีเว้นต์ที่เติบโตถึง 14% แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไม่สงบในช่วงปลายปีอยู่บ้าง สะท้อนว่ากลยุทธ์ตอบโจทย์ลูกค้าทั้ง อะโบพ แอนด์ บีโลว์ เดอะไลน์ สอดคล้องกับความต้องการของสปอนเซอร์อย่างแท้จริง และธุรกิจสิ่งพิมพ์เติบโตขึ้น 8% ตามจำนวนหัวของนิตยสารที่เพิ่มขึ้น
3.ธุรกิจภาพยนตร์ เป็น 4% ของรายได้กลุ่ม หรือ 407 ล้านบาท ซึ่งมีมาร์เก็ตแชร์เป็น อันดับ 2 ของอุตสาหกรรมภาพยนต์ และมีผลงานติด 10 สุดยอดของภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดของปี 2549 ถึง 4 เรื่อง อีกทั้งได้รับรางวัลมากมายทั้งระดับในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลให้แบรนด์ของภาพยนตร์ในเครือได้รับการยอมรับและสามารถต่อยอดไปทำธุรกิจในต่างประเทศได้ดังเช่นภาพยนตร์เรื่อง แฝด (Alonc) ที่เข้าฉายในปีนี้ก็สามารถจำหน่ายไปได้ถึง 10 ประเทศแล้วก่อนฉายในไทย
สำหรับภาพรวมนั้น นายสิริชัย ตินติพงศ์อนันต์ รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานบัญชีการเงิน กล่าวว่า บริษัทฯพอใจกับผลประกอบการดังกล่าว เนื่องจากเป็นที่ทราบกันว่าในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีที่ผ่านมา บ้านเมืองเกิดเหตุการณ์ไม่เรียบร้อยหลายประการส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจโดยรวมทั้งสังคม แต่เนื่องจากบริษัทมีผลประกอบการในไตรมาส 2 และ 3ดี จึงสามารถทำรายได้ในระดับที่น่าพอใจ นอกจากนั้นโครงการสร้างรายได้ดังกล่าวยังตอกย้ำว่ากลยุทธ์ที่แกรมมี่จะเดินในปี 2550 มาถูกทาง ไม่ว่าจะเป็นรายได้ที่มาจากธุรกิจเพลงมากกว่า 50% การเติบโตของอีบิซิเนส โชว์บิซ และอีเวนต์ การตอบสนองลูกค้าทั้งอะโบฟ แอนด์ บีโลว์ เดอะไลน์ ในที่เดียวกัน เป็นต้น