อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ระบุสินค้าหลายรายการของไทยมีโอกาสถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) จากสหรัฐฯ หลังจากมีมูลค่านำเข้าในรอบปีปฏิทินที่ผ่านมาเกินเพดานที่กำหนด โดยคาดว่า ยางเรเดียล และโพลิ (เอทิลีนเทเรฟทาเลต) จะถูกตัดสิทธิจีเอสพีในวันที่ 1 กรกฎาคมนี้
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ไทยมีการใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) สหรัฐฯ ในปี 2549 มูลค่า 4,252.32 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ซึ่งมีมูลค่า 3,575.23 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 18.93 และเปรียบเทียบกับมูลค่าการส่งออกรวมไปสหรัฐฯจำนวน 22,344.70 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 19.03 โดยไทยเป็นประเทศที่ใช้สิทธิจีเอสพีสหรัฐฯสูงเป็นลำดับที่ 3 รองจากแองโกลา และอินเดีย สำหรับสินค้าที่ไทยใช้สิทธิจีเอสพีสหรัฐฯสูง 5 อันดับแรก คือ อัญมณีและเครื่องประดับ ทำจากโลหะ เครื่องรูปพรรณอื่นๆ ทำด้วยโลหะเงินมีมูลค่าเกิน ยางเรเดียล เครื่องรับโทรทัศน์สี และโพลิ (เอทิลีนเทเรฟทาเลต)
โดยตามหลักเกณฑ์จีเอสพีสหรัฐฯ หากสินค้าของประเทศใดมีมูลค่านำเข้าสหรัฐฯ ในปีปฏิทินที่ผ่านมาเกินเพดานที่สหรัฐฯกำหนดจะถูกตัดสิทธิจีเอสพี ซึ่งสหรัฐฯจะประกาศผลการทบทวนจีเอสพี ในวันที่ 1 กรกฎาคมของทุกปี สำหรับสินค้าที่มีการใช้สิทธิจีเอสพีสูง และได้รับยกเว้นเพดานการส่งออกไปแล้ว คือ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องรูปพรรณอื่นๆ ทำด้วยโลหะเงินมีมูลค่าเกิน และเครื่องรับโทรทัศน์สี ส่วนสินค้าไทยที่คาดว่าจะถูกตัดสิทธิจีเอสพี ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2550 คือ ยางเรเดียล และโพลิ (เอทิลีนเทเรฟทาเลต)
อย่างไรก็ตาม ทางการสหรัฐฯได้เปิดโอกาสให้ยื่นคำร้องการขอคืนสิทธิกรณีดังกล่าว และได้รับคำร้องขอคืนสิทธิของสินค้ายางเรเดียลจากไทยแล้ว ขณะนี้รอผลการพิจารณาจากสหรัฐฯ ขณะที่โครงการจีเอสพีที่เพิ่งได้รับการต่ออายุออกไป 2 ปีนั้น ยังคงใช้หลักเกณฑ์การตัดสิทธิเดิม แต่เพิ่มรายละเอียดการผ่อนผันยกเว้นเพดานการส่งออกสำหรับสินค้าที่ได้รับการผ่อนผันมาเกิน 5 ปี และมีมูลค่าการนำเข้าเกิน 187.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ว่า อาจจะไม่ได้รับการยกเว้นต่อไป ซึ่งสินค้าไทยที่เข้าเงื่อนไขที่จะถูกตัดสิทธิดังกล่าว ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับทำจากโลหะมีค่า
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ไทยมีการใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) สหรัฐฯ ในปี 2549 มูลค่า 4,252.32 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ซึ่งมีมูลค่า 3,575.23 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 18.93 และเปรียบเทียบกับมูลค่าการส่งออกรวมไปสหรัฐฯจำนวน 22,344.70 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 19.03 โดยไทยเป็นประเทศที่ใช้สิทธิจีเอสพีสหรัฐฯสูงเป็นลำดับที่ 3 รองจากแองโกลา และอินเดีย สำหรับสินค้าที่ไทยใช้สิทธิจีเอสพีสหรัฐฯสูง 5 อันดับแรก คือ อัญมณีและเครื่องประดับ ทำจากโลหะ เครื่องรูปพรรณอื่นๆ ทำด้วยโลหะเงินมีมูลค่าเกิน ยางเรเดียล เครื่องรับโทรทัศน์สี และโพลิ (เอทิลีนเทเรฟทาเลต)
โดยตามหลักเกณฑ์จีเอสพีสหรัฐฯ หากสินค้าของประเทศใดมีมูลค่านำเข้าสหรัฐฯ ในปีปฏิทินที่ผ่านมาเกินเพดานที่สหรัฐฯกำหนดจะถูกตัดสิทธิจีเอสพี ซึ่งสหรัฐฯจะประกาศผลการทบทวนจีเอสพี ในวันที่ 1 กรกฎาคมของทุกปี สำหรับสินค้าที่มีการใช้สิทธิจีเอสพีสูง และได้รับยกเว้นเพดานการส่งออกไปแล้ว คือ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องรูปพรรณอื่นๆ ทำด้วยโลหะเงินมีมูลค่าเกิน และเครื่องรับโทรทัศน์สี ส่วนสินค้าไทยที่คาดว่าจะถูกตัดสิทธิจีเอสพี ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2550 คือ ยางเรเดียล และโพลิ (เอทิลีนเทเรฟทาเลต)
อย่างไรก็ตาม ทางการสหรัฐฯได้เปิดโอกาสให้ยื่นคำร้องการขอคืนสิทธิกรณีดังกล่าว และได้รับคำร้องขอคืนสิทธิของสินค้ายางเรเดียลจากไทยแล้ว ขณะนี้รอผลการพิจารณาจากสหรัฐฯ ขณะที่โครงการจีเอสพีที่เพิ่งได้รับการต่ออายุออกไป 2 ปีนั้น ยังคงใช้หลักเกณฑ์การตัดสิทธิเดิม แต่เพิ่มรายละเอียดการผ่อนผันยกเว้นเพดานการส่งออกสำหรับสินค้าที่ได้รับการผ่อนผันมาเกิน 5 ปี และมีมูลค่าการนำเข้าเกิน 187.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ว่า อาจจะไม่ได้รับการยกเว้นต่อไป ซึ่งสินค้าไทยที่เข้าเงื่อนไขที่จะถูกตัดสิทธิดังกล่าว ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับทำจากโลหะมีค่า