มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จับมือกระทรวงการคลัง จัดทำรายงานภาวะเศรษฐกิจรายภูมิภาคและแนวโน้มเศรษฐกิจรายภูมิภาค ปี 2550 เพื่อสะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจแต่ละภูมิภาค และเป็นข้อมูลในการตัดสินใจดำเนินธุรกิจและนโยบายของภาครัฐในส่วนภูมิภาค ยอมรับหลายปัจจัยยังส่งกระทบต่อเศรษฐกิจไทย และมีผลถึงเศรษฐกิจในภูมิภาคด้วย พร้อมคาดเศรษฐกิจปีนี้อาจขยายตัวไม่ถึงร้อยละ 4
นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมกับสำนักการเงินการคลัง กรมบัญชีกลางและคลังจังหวัดทุกจังหวัด จัดทำรายงานภาวะเศรษฐกิจรายภูมิภาคและแนวโน้มเศรษฐกิจรายภูมิภาคปี 2550 เพื่อเป็นภาพสะท้อนภาวะเศรษฐกิจแต่ละภูมิภาค รวมทั้งเพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจดำเนินธุรกิจและนโยบายของภาครัฐในส่วนภูมิภาค เช่นเดียวกับภาวะเศรษฐกิจประเทศ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจฯ ได้วิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจรายภูมิภาคทั้ง 5 ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยผลสรุปภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค ปัจจัยบวกที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจภูมิภาคให้สามารถปรับตัวดีขึ้น ได้แก่ อัตราเงินเฟ้อลดลง ราคาน้ำมันอยู่ในระดับต่ำ และมีเสถียรภาพ อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง ระดับราคาผลผลิตของสินค้าเกษตรยังทรงตัวในระดับสูง จำนวนนักท่องเที่ยวมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง ส่วนปัจจัยที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจภูมิภาค ได้แก่ ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น กระทบการส่งออกและการท่องเที่ยว ภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะภัยแล้ง สถานการณ์การเมืองที่ยังไม่มีเสถียรภาพ การก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาไข้หวัดนกที่กลับมาระบาด ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและผู้ประกอบการปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ปัจจัยต่างๆ เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลด้านจิตวิทยาการลงทุน การค้า
นางเสาวณีย์ กล่าวว่า จากสมมติฐานเศรษฐกิจไทยปี 2550 คาดว่า จะขยายตัวร้อยละ 4-4.5 ทำให้คาดว่าเศรษฐกิจแต่ละภูมิภาคจะขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการขยายตัวร้อยละ 4.03 ภาคเหนือร้อยละ 4.20 ภาคใต้ร้อยละ 4.05 ภาคกลางร้อยละ 5.27 และกรุงเทพฯ และปริมณฑลร้อยละ 4.24 แต่สิ่งที่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจยังเป็นปัจจัยเดิม คือ การก่อความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาราคาน้ำมัน ดังนั้น ในการประเมินภาวะเศรษฐกิจยังต้องติดตามปัจจัยดังกล่าว แม้ว่าสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ใน 4 จังหวัดรวมกันคิดเป็นร้อยละ 2.91 ของเศรษฐกิจรวมของประเทศ ถือเป็นสัดส่วนน้อย จึงอาจมองได้ว่า ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อภาพรวม แต่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภาคใต้ส่วนใหญ่ ซึ่งหากรัฐบาลนำแผนการรักษาความปลอดภัย การพัฒนาชายแดนภาคใต้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ และการกระตุ้นการลงทุน เชื่อว่า เศรษฐกิจภาคใต้จะฟื้นตัวได้ในช่วงปลายไตรมาสที่ 3 แต่จะเป็นการฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจภาคใต้จะต้องไม่มีเหตุการณ์ระเบิดซ้ำขึ้นมาอีก ซึ่งจะต้องติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ กล่าวว่า จากการดูสัญญาณภาพรวมเศรษฐกิจ เดิมศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ มองว่า ปี 2550 จีดีพีของประเทศจะเติบโตร้อยละ 4.0-4.5 แต่จากการติดตามสัญญาณเศรษฐกิจหลายตัว ซึ่งมีแนวโน้มชะลอตัวลง และเป็นไปได้ว่าจีดีพีของประเทศปี 2550 อาจจะต่ำกว่าร้อยละ 4 ซึ่งทางศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจจะประเมินตัวเลขจีดีพีของประเทศอีกครั้ง และปรับประมาณการภายในเดือนเมษายนนี้ ส่วนจีดีพีรายไตรมาสของแต่ละภูมิภาคจะประเมินอีกครั้งช่วงเดือนพฤษภาคมนี้ แต่สิ่งที่รัฐบาลจะต้องเร่งดำเนินการ คือ รักษาระดับค่าเงินบาทไว้ที่ 35-36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เพราะยังเป็นระดับที่ประเทศไทยสามารถแข่งขันได้ เร่งเบิกจ่ายงบประมาณ ดูแลปัญหาภัยแล้ง และไข้หวัดนก รวมทั้งเร่งรักษาความปลอดภัยจังหวัดชายแดนภาคใต้และทั่วประเทศ เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ระเบิดเหมือนช่วงปีใหม่และตรุษจีนที่ผ่านมา
นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมกับสำนักการเงินการคลัง กรมบัญชีกลางและคลังจังหวัดทุกจังหวัด จัดทำรายงานภาวะเศรษฐกิจรายภูมิภาคและแนวโน้มเศรษฐกิจรายภูมิภาคปี 2550 เพื่อเป็นภาพสะท้อนภาวะเศรษฐกิจแต่ละภูมิภาค รวมทั้งเพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจดำเนินธุรกิจและนโยบายของภาครัฐในส่วนภูมิภาค เช่นเดียวกับภาวะเศรษฐกิจประเทศ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจฯ ได้วิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจรายภูมิภาคทั้ง 5 ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยผลสรุปภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค ปัจจัยบวกที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจภูมิภาคให้สามารถปรับตัวดีขึ้น ได้แก่ อัตราเงินเฟ้อลดลง ราคาน้ำมันอยู่ในระดับต่ำ และมีเสถียรภาพ อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง ระดับราคาผลผลิตของสินค้าเกษตรยังทรงตัวในระดับสูง จำนวนนักท่องเที่ยวมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง ส่วนปัจจัยที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจภูมิภาค ได้แก่ ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น กระทบการส่งออกและการท่องเที่ยว ภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะภัยแล้ง สถานการณ์การเมืองที่ยังไม่มีเสถียรภาพ การก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาไข้หวัดนกที่กลับมาระบาด ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและผู้ประกอบการปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ปัจจัยต่างๆ เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลด้านจิตวิทยาการลงทุน การค้า
นางเสาวณีย์ กล่าวว่า จากสมมติฐานเศรษฐกิจไทยปี 2550 คาดว่า จะขยายตัวร้อยละ 4-4.5 ทำให้คาดว่าเศรษฐกิจแต่ละภูมิภาคจะขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการขยายตัวร้อยละ 4.03 ภาคเหนือร้อยละ 4.20 ภาคใต้ร้อยละ 4.05 ภาคกลางร้อยละ 5.27 และกรุงเทพฯ และปริมณฑลร้อยละ 4.24 แต่สิ่งที่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจยังเป็นปัจจัยเดิม คือ การก่อความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาราคาน้ำมัน ดังนั้น ในการประเมินภาวะเศรษฐกิจยังต้องติดตามปัจจัยดังกล่าว แม้ว่าสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ใน 4 จังหวัดรวมกันคิดเป็นร้อยละ 2.91 ของเศรษฐกิจรวมของประเทศ ถือเป็นสัดส่วนน้อย จึงอาจมองได้ว่า ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อภาพรวม แต่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภาคใต้ส่วนใหญ่ ซึ่งหากรัฐบาลนำแผนการรักษาความปลอดภัย การพัฒนาชายแดนภาคใต้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ และการกระตุ้นการลงทุน เชื่อว่า เศรษฐกิจภาคใต้จะฟื้นตัวได้ในช่วงปลายไตรมาสที่ 3 แต่จะเป็นการฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจภาคใต้จะต้องไม่มีเหตุการณ์ระเบิดซ้ำขึ้นมาอีก ซึ่งจะต้องติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ กล่าวว่า จากการดูสัญญาณภาพรวมเศรษฐกิจ เดิมศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ มองว่า ปี 2550 จีดีพีของประเทศจะเติบโตร้อยละ 4.0-4.5 แต่จากการติดตามสัญญาณเศรษฐกิจหลายตัว ซึ่งมีแนวโน้มชะลอตัวลง และเป็นไปได้ว่าจีดีพีของประเทศปี 2550 อาจจะต่ำกว่าร้อยละ 4 ซึ่งทางศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจจะประเมินตัวเลขจีดีพีของประเทศอีกครั้ง และปรับประมาณการภายในเดือนเมษายนนี้ ส่วนจีดีพีรายไตรมาสของแต่ละภูมิภาคจะประเมินอีกครั้งช่วงเดือนพฤษภาคมนี้ แต่สิ่งที่รัฐบาลจะต้องเร่งดำเนินการ คือ รักษาระดับค่าเงินบาทไว้ที่ 35-36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เพราะยังเป็นระดับที่ประเทศไทยสามารถแข่งขันได้ เร่งเบิกจ่ายงบประมาณ ดูแลปัญหาภัยแล้ง และไข้หวัดนก รวมทั้งเร่งรักษาความปลอดภัยจังหวัดชายแดนภาคใต้และทั่วประเทศ เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ระเบิดเหมือนช่วงปีใหม่และตรุษจีนที่ผ่านมา