ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ชี้ เงินกู้โครงการรถไฟฟ้าเข้าข่ายลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งยังสามารถกู้เงินจากเจบิกในอัตราดอกเบี้ยเดิมร้อยละ 0.75 ได้ พร้อมระบุผู้บริหารของเจบิกจะเดินทางมาประเมินโครงการ และเจรจารายละเอียดในเดือนมีนาคมนี้
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กล่าวว่า จากกรณีที่มีกระแสข่าวธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิก) เตรียมปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้โครงการรถไฟฟ้าของไทย จากร้อยละ 0.75 เป็นร้อยละ 1.5 นั้น ขณะนี้ยังไม่ทราบเรื่องดังกล่าว และขั้นตอนการเจรจาก็ยังดำเนินอยู่ และเห็นว่า โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าของไทยยังเข้าข่ายในการลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ทั้งลดการใช้พลังงาน ลดปัญหาจราจร ซึ่งเข้าข่ายในการขอกู้จากเจบิก ในการคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 0.75 และในเดือนมีนาคมนี้ ผู้บริหารของเจบิกจะเดินทางมาประเมินโครงการรถไฟฟ้า และการเจรจายังดำเนินการไปตามขั้นตอน ก่อนที่จะเริ่มเปิดประมูลตามกรอบเวลา
สำหรับการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทางประมาณ 26 กิโลเมตร ช่วงบางซื่อ-มักกะสัน-หัวหมาก (เชื่อมต่อหัวลำโพง) ระยะทางประมาณ 19 กิโลเมตร เงินลงทุนประมาณ 53,000 ล้านบาท รถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ระยะทางประมาณ 23 กิโลเมตร เงินลงทุนประมาณ 52,581 ล้านบาท รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และช่วงหัวลำโพง-บางแค ระยะทางประมาณ 27 กิโลเมตร เงินลงทุนประมาณ 29,160 ล้านบาท
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กล่าวว่า จากกรณีที่มีกระแสข่าวธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิก) เตรียมปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้โครงการรถไฟฟ้าของไทย จากร้อยละ 0.75 เป็นร้อยละ 1.5 นั้น ขณะนี้ยังไม่ทราบเรื่องดังกล่าว และขั้นตอนการเจรจาก็ยังดำเนินอยู่ และเห็นว่า โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าของไทยยังเข้าข่ายในการลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ทั้งลดการใช้พลังงาน ลดปัญหาจราจร ซึ่งเข้าข่ายในการขอกู้จากเจบิก ในการคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 0.75 และในเดือนมีนาคมนี้ ผู้บริหารของเจบิกจะเดินทางมาประเมินโครงการรถไฟฟ้า และการเจรจายังดำเนินการไปตามขั้นตอน ก่อนที่จะเริ่มเปิดประมูลตามกรอบเวลา
สำหรับการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทางประมาณ 26 กิโลเมตร ช่วงบางซื่อ-มักกะสัน-หัวหมาก (เชื่อมต่อหัวลำโพง) ระยะทางประมาณ 19 กิโลเมตร เงินลงทุนประมาณ 53,000 ล้านบาท รถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ระยะทางประมาณ 23 กิโลเมตร เงินลงทุนประมาณ 52,581 ล้านบาท รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และช่วงหัวลำโพง-บางแค ระยะทางประมาณ 27 กิโลเมตร เงินลงทุนประมาณ 29,160 ล้านบาท