ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินแนวโน้มถั่วเขียว และผลิตภัณฑ์เติบโตต่อเนื่อง ทั้งตลาดในประเทศและส่งออก พร้อมแนะภาครัฐและทุกฝ่ายเร่งเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอ ทั้งปริมาณและคุณภาพ พัฒนาพันธุ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด รวมทั้งผลักดันให้มีการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วย เพื่อรักษาสถานภาพการเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกถั่วเขียวและผลิตภัณฑ์รายใหญ่ของโลก
บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ระบุ ถั่วเขียวและผลิตภัณฑ์ ผลผลิตส่วนใหญ่ใช้ภายในประเทศเพื่อการบริโภคโดยตรง และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเพาะถั่วงอก อุตสาหกรรมขนมหวาน การผลิตแป้งถั่วเขียว และวุ้นเส้น เมื่อเทียบระหว่างปริมาณการผลิตและความต้องการถั่วเขียว จะเห็นได้ว่า ปริมาณการผลิตถั่วเขียวของไทยไม่เพียงพอกับความต้องการในประเทศ ทำให้ไทยต้องหันไปพึ่งพิงการนำเข้าถั่วเขียวและผลิตภัณฑ์ ซึ่งเมื่อพิจารณาการส่งออกถั่วเขียวและผลิตภัณฑ์ โดยการส่งออกมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ถั่วเขียว และผลิตภัณฑ์ ยังมีโอกาสในการขยายตลาดทั้งในประเทศและส่งออก ดังนั้น ไทยต้องหันมาเร่งแก้ปัญหาผลผลิตถั่วเขียวที่ไม่เพียงพอกับความต้องการทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพของถั่วเขียว ซึ่งจะผลักดันให้ถั่วเขียวและผลิตภัณฑ์เป็นสินค้าที่สามารถขยายการส่งออกได้มากขึ้นในอนาคต
สำหรับการบริโภคเมล็ดถั่วเขียวโดยตรง ส่วนใหญ่จะบริโภคในลักษณะถั่วเขียวต้มน้ำตาล นอกจากนั้น จะเป็นการส่งออกเมล็ดถั่วเขียว โดยการส่งออกแบ่งเป็นการส่งออกถั่วเขียวผิวมัน และถั่วเขียวผิวดำ ซึ่งในปี 2549 ปริมาณการส่งออกถั่วเขียวผิวมันเท่ากับ 19,044 ตัน มูลค่า 547.97 ล้านบาท เมื่อเทียบกับในปี 2548 ทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้น 1.6 เท่าตัว และ 1.5 เท่าตัว ตามลำดับ ตลาดส่งออกสำคัญ คือ สหรัฐฯ ร้อยละ 18.0 รองลงมา คือ ฟิลิปปินส์ ร้อยละ 14.6 มาเลเซีย ร้อยละ 9.9 ฮ่องกง ร้อยละ 7.0 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ร้อยละ 6.7 และไต้หวัน ร้อยละ 5.5 ส่วนการส่งออกถั่วเขียวผิวดำ ในปี 2549 เท่ากับ 4,116 ตัน มูลค่า 108.21 ล้านบาท เมื่อเทียบกับในปี 2548 ทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 และ 46.7 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ไทยมีการนำเข้าเมล็ดถั่วเขียวทั้งถั่วเขียวผิวมันและผิวดำในบางปีที่ปริมาณถั่วเขียวไม่เพียงพอกับความต้องการ เนื่องจากปริมาณการผลิตถั่วเขียวในประเทศลดลงจากภาวะอากาศไม่เอื้ออำนวย และพื้นที่ปลูกลดลงจากการที่เกษตรกรหันไปปลูกพืชอื่นทดแทน
ทั้งนี้ ปัจจุบันไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกถั่วเขียวและผลิตภัณฑ์รายใหญ่ของโลก และศักยภาพของถั่วเขียวและผลิตภัณฑ์ยังมีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออก การที่จะรักษาสถานภาพการเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกถั่วเขียวและผลิตภัณฑ์รายใหญ่ของโลกไว้ ทั้งเกษตรกร โรงงานผลิตภัณฑ์ถั่วเขียว ผู้ส่งออก รวมทั้งภาครัฐต้องหันมาร่วมมือกันในการเพิ่มทั้งปริมาณและคุณภาพถั่วเขียวที่ผลิตในประเทศให้เพียงพอกับความต้องการในประเทศ และตลาดส่งออกที่เพิ่มขึ้น โดยต้องเริ่มตั้งแต่การพัฒนาพันธุ์เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด รวมถึงการผลักดันการส่งออกผลิตภัณฑ์ถั่วเขียวให้มีการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วย
บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ระบุ ถั่วเขียวและผลิตภัณฑ์ ผลผลิตส่วนใหญ่ใช้ภายในประเทศเพื่อการบริโภคโดยตรง และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเพาะถั่วงอก อุตสาหกรรมขนมหวาน การผลิตแป้งถั่วเขียว และวุ้นเส้น เมื่อเทียบระหว่างปริมาณการผลิตและความต้องการถั่วเขียว จะเห็นได้ว่า ปริมาณการผลิตถั่วเขียวของไทยไม่เพียงพอกับความต้องการในประเทศ ทำให้ไทยต้องหันไปพึ่งพิงการนำเข้าถั่วเขียวและผลิตภัณฑ์ ซึ่งเมื่อพิจารณาการส่งออกถั่วเขียวและผลิตภัณฑ์ โดยการส่งออกมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ถั่วเขียว และผลิตภัณฑ์ ยังมีโอกาสในการขยายตลาดทั้งในประเทศและส่งออก ดังนั้น ไทยต้องหันมาเร่งแก้ปัญหาผลผลิตถั่วเขียวที่ไม่เพียงพอกับความต้องการทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพของถั่วเขียว ซึ่งจะผลักดันให้ถั่วเขียวและผลิตภัณฑ์เป็นสินค้าที่สามารถขยายการส่งออกได้มากขึ้นในอนาคต
สำหรับการบริโภคเมล็ดถั่วเขียวโดยตรง ส่วนใหญ่จะบริโภคในลักษณะถั่วเขียวต้มน้ำตาล นอกจากนั้น จะเป็นการส่งออกเมล็ดถั่วเขียว โดยการส่งออกแบ่งเป็นการส่งออกถั่วเขียวผิวมัน และถั่วเขียวผิวดำ ซึ่งในปี 2549 ปริมาณการส่งออกถั่วเขียวผิวมันเท่ากับ 19,044 ตัน มูลค่า 547.97 ล้านบาท เมื่อเทียบกับในปี 2548 ทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้น 1.6 เท่าตัว และ 1.5 เท่าตัว ตามลำดับ ตลาดส่งออกสำคัญ คือ สหรัฐฯ ร้อยละ 18.0 รองลงมา คือ ฟิลิปปินส์ ร้อยละ 14.6 มาเลเซีย ร้อยละ 9.9 ฮ่องกง ร้อยละ 7.0 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ร้อยละ 6.7 และไต้หวัน ร้อยละ 5.5 ส่วนการส่งออกถั่วเขียวผิวดำ ในปี 2549 เท่ากับ 4,116 ตัน มูลค่า 108.21 ล้านบาท เมื่อเทียบกับในปี 2548 ทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 และ 46.7 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ไทยมีการนำเข้าเมล็ดถั่วเขียวทั้งถั่วเขียวผิวมันและผิวดำในบางปีที่ปริมาณถั่วเขียวไม่เพียงพอกับความต้องการ เนื่องจากปริมาณการผลิตถั่วเขียวในประเทศลดลงจากภาวะอากาศไม่เอื้ออำนวย และพื้นที่ปลูกลดลงจากการที่เกษตรกรหันไปปลูกพืชอื่นทดแทน
ทั้งนี้ ปัจจุบันไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกถั่วเขียวและผลิตภัณฑ์รายใหญ่ของโลก และศักยภาพของถั่วเขียวและผลิตภัณฑ์ยังมีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออก การที่จะรักษาสถานภาพการเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกถั่วเขียวและผลิตภัณฑ์รายใหญ่ของโลกไว้ ทั้งเกษตรกร โรงงานผลิตภัณฑ์ถั่วเขียว ผู้ส่งออก รวมทั้งภาครัฐต้องหันมาร่วมมือกันในการเพิ่มทั้งปริมาณและคุณภาพถั่วเขียวที่ผลิตในประเทศให้เพียงพอกับความต้องการในประเทศ และตลาดส่งออกที่เพิ่มขึ้น โดยต้องเริ่มตั้งแต่การพัฒนาพันธุ์เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด รวมถึงการผลักดันการส่งออกผลิตภัณฑ์ถั่วเขียวให้มีการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วย