สภาวิศวกรค้านจ้างต่างชาติเข้ามาตรวจสอบสนามบินสุวรรณภูมิ ระบุสร้างความเสื่อมเสียต่อประเทศและให้ระวังผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะปัญหาปัจจุบันก็เกิดจากการออกแบบโดยต่างชาติ พร้อมย้ำสุวรรณภูมิปลอดภัย ปัญหาสามารถแก้ไขได้ พร้อมเรียกร้องให้ผู้เข้าตรวจสอบควรเป็นกลางอย่างแท้จริง ย้ำพร้อมตรวจสอบจรรยาบรรณวิศวกรผู้คุมงานก่อสร้าง หากผิดจริงก็จะถอนใบอนุญาต ด้าน รมว.คมนาคม ระบุจะจ้างต่างชาติก็ต่อเมื่อบอร์ด ทอท.เสนอมา
นายวิระ มาวิจักขณ์ นายกสภาวิศวกร เปิดเผยว่า ทางสภาวิศวกรได้ติดตามปัญหาสุวรรณภูมิอย่างใกล้ชิด โดยได้มีคณะอนุกรรมการฯ ศึกษาเบื้องต้น ด้านเทคนิคจากข้อมูลทุติยภูมิ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งานเมกะโปรเจกต์ด้านวิศวกรรม โดยอนุกรรมการประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมของประเทศ ได้แก่ ศ.ดร.อรุณ ชัยเสรี, ศ.ดร.เอกสิทธิ์ ลิ้มสุวรรณ, นายนิพนธ์ รณะนันทน์ และผู้ทรงคุณวุฒิอีก 5 คน ซึ่งจากการประมวลปัญหาและผลการตรวจสอบเบื้องต้น สภาวิศวกรยืนยันว่า วิศวกรไทยมีสมรรถนะและความรู้เพียงพอในการให้คำปรึกษา ปรับปรุงแก้ไขสนามบินสุวรรณภูมิ โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยวิศวกรต่างชาติ และการประกอบวิชาชีพนี้ในประเทศไทยต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรม หากเป็นวิศวกรต่างชาติก็ต้องถือใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพของไทย
“การจะว่าจ้างวิศวกรต่างชาติเข้ามาแก้ปัญหาสุวรรณภูมิ นับเป็นการสร้างความเสื่อมเสียศักดิ์ศรีของชาติ ไทยมีสถานศึกษาสร้างวิศวกรเป็นจำนวนมาก มีผู้เชี่ยวชาญที่แก้ปัญหาได้ และได้รับการเชื่อถือระดับนานาชาติ และสภาฯ เห็นว่าปัญหาสุวรรณภูมิที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่จำเป็นต้องปิดแต่อย่างใด ไม่สร้างปัญหาเรื่องความไม่ปลอดภัยด้วย” นายวิระ กล่าว
นายวิระกล่าวด้วยว่า ขณะนี้มีการร้องเรียนจากกลุ่มวิศวกรรักชาติให้ตรวจสอบจรรยาบรรณของวิศวกรดูแลงานก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งสภาฯ พร้อมตรวจสอบเรื่องนี้ว่าจะผิดจรรยาบรรณหรือไหม่ เพราะสภาฯ พร้อมที่จะควบคุมด้านจรรยาบรรณ และดำเนินการกับวิศวกรที่มีส่วนร่วมในการทุจริตอย่างเข้มงวด หากมีหลักฐานชัดเจนก็จะถอนใบอนุญาต และสภาฯ ขอเสนอแนะว่า ในการแก้ปัญหาสุวรรรภูมิ ควรต้องยึดหลักวิชาการ โดยยึดข้อมูล ข้อเท็จจริง ทางวิศวกรรมเป็นหลัก และต้องตรวจสอบวิเคราะห์ปัญหาและแก้ไขปัญหาให้ครบวงจรและได้ผลระยะยาว ในขณะที่ผู้เข้าไปดำเนินการหาสาเหตุการแก้ไขปัญาของภาครัฐจะต้องมีความเป็นกลาง ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียมาก่อน และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน และสภาวิศวกรมีความมั่นใจว่าวิศวกรไทยและสถาบันการศึกษาภาควิชาวิศวกรรมโยธาของไทย มีความสามารถที่จะเข้าร่วมกันหาสาเหตุและแก้ไขปัญหาทางวิชาการของการก่อสร้าง ส่วนกรณีที่ต้องการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านหรือประสบการณ์พิเศษจากวิศวกรต่างประเทศก็จะสามารถเข้าร่วมในขอบเขตเชี่ยวชาญนั้น ๆ ได้
ด้าน ศ.ดร.เอกสิทธิ์ ลิ้มสุวรรณ ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านวิศวกรรมโยธา กล่าวว่า กรณีที่มีข้อกังขาเรื่องกลไกการกำกับดูแลและบริหารโครงการในอดีตที่ผ่านมา ว่าอาจยังไม่เป็นไปตามครรลองและวิสัยปฏิบัติการทางวิชาการชัดเท่าที่ควร การแก้ไขจึงควรมี 2 แนวทาง คือ 1. ด้านเทคนิค และ 2. การบริหารจัดการเพื่อดูแล ที่ควรยึดสัญญาเป็นหลัก โดยหากความเสียหายเกิดขึ้นในระยะการประกันงานก็ต้องให้มีการแก้ไข หรือชดเชยความเสียหายนั้น ๆ และที่สำคัญหากจะว่าจ้างวิศวกรต่างชาติก็อาจไม่สามารถวางใจเรื่องธรรมาภิบาลได้ เพราะผู้ที่ออกแบบสนามบินสุวรรณภูมิก็คือต่างชาติ ยิ่งหากว่าจ้างต่างชาติหรือผู้เชี่ยวชาญจากการก่อสร้างสนามบินฮุสตันเข้ามา ซึ่งเป็นผู้ออกแบบสนามบินสุวรรณภูมิด้วย ก็อาจจะเป็นลักษณะ “อ้อยเข้าปากช้าง” ก็ได้
“เท่าที่ติดตามปัญหาโครงสร้างอาคารผู้โดยสารสุวรรณภูมิพบว่า แจ๋วมาก การซึมรั่วของน้ำฝนก็แก้ได้ ส่วนแท็กซี่เวย์มีรอยร้าวมีผลกระทบเพียงร้อยละ 2-3 ของการก่อสร้าง ซึ่งน้อยกว่าระดับมาตรฐานที่กำหนดมาตรฐานปัญหาถึงร้อยละ 5-8 ส่วนปัญหารันเวย์ก็พบว่าไม่สร้างปัญหาเรื่องความปลอดภัยแต่อย่างใด โดยรอยร้าวที่เกิดขึ้นอยู่ในปกติวิสัยที่แก้ได้” ศ.ดร.เอกสิทธิ์ กล่าว
ด้าน พล.ร.อ.ธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ขณะนี้คนไทยช่วยกันตรวจสอบงานก่อสร้างในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และการตรวจสอบยังอยู่ในคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งจะเสนอให้คณะกรรมการของ บมจ.ท่าอากาศยานไทย (ทอท.) พิจารณาต่อไป ก็ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการ ทอท.ว่าจะพิจารณาให้ว่าจ้างวิศวกรต่างชาติมาตรวจสอบหรือไม่ ซึ่งเรื่องยังมาไม่ถึงตน แต่ถ้ามาถึงจะพิจารณาจากข้อเสนอของคณะกรรมการ ทอท. อย่างไรก็ตาม เป็นไปได้ที่สภาวิศวกรของไทยอาจรู้สึกเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ ถ้าไม่แน่ใจในการตรวจสอบของวิศวกรไทย การเอาคนกลางที่ไม่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องเข้ามาก็จะเป็นทางเลือกหนึ่ง ซึ่งแล้วแต่มุมมองของแต่ละคน
พล.ร.อ.ธีระ กล่าวว่า พรุ่งนี้ (15 ก.พ.) จะประชุมร่วมกับสายการบิน เพื่อสอบถามความเห็นในเรื่องการเปิดให้ดอนเมืองเป็นท่าอากาศยานนานาชาติอีก 1 แห่ง ส่วนการบินไทยจะย้ายมาดอนเมืองหรือไม่นั้น ยังเปิดกว้างให้เป็นไปตามสมัครใจ แต่หากไม่มีสายการบินใดย้ายมาให้บริการที่ดอนเมือง ก็ไม่น่ากระทบกับการเป็นสนามบินสากลแห่งที่ 2 เพราะขณะนี้สนามบินดอนเมืองมีเครื่องบินเช่าเหมาลำมาใช้บริการอยู่แล้ว และการเปิดสนามบินดอนเมืองยังจะช่วยระบายความแออัดให้กับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ทอท.เสนอ 10 ปัญหาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าวันนี้ (14 ก.พ.) นายต่อตระกูล ยมนาค กรรมการ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ในฐานะประธานคณะกรรมการติดตามปัญหาแท็กซี่เวย์และรันเวย์ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ นายยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ กรรมการ ทอท. เข้าพบ พล.ร.อ.ธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอปัญหาและทางแก้ไขปัญหาอาคารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประกอบด้วย 1. ปัญหาไฟไหม้ LCS (Lighting Control System) จากปัญหาตู้ควบคุมระบบไฟแสงสว่างที่ติดตั้งอยู่บนคานยอดจั่วหลังคาของอาคาร 2. ปัญหาอุบัติเหตุจากการข้ามถนนจากอาคารที่มีกิจกรรมต่อเนื่องกัน ถูกแบ่งกลางด้วยถนนหลักที่มีรถวิ่งเร็วมาก 3. ปัญหาห้องน้ำไม่เพียงพอและสกปรกมาก 4. ปัญหาประตูหมุนที่ไม่สะดวกและกระจกเป็นอันตรายไม่สะดวกในการใช้งาน 5. งวงช้าง หรือสะพานเทียบเครื่องบิน มีปัญหาทางโครงสร้าง 6. การตรวจสอบงานระบบวิศวกรรมไฟฟ้า เครื่องกล สุขาภิบาล และคอมพิวเตอร์ 7. ตรวจสอบความมั่นคงของอาคารและผลของกระจกแตก 8. คราบน้ำมันจากห้องอาหารอันจะทำให้เกิดไฟไหม้ 9. ระบบปรับอากาศไม่เย็นเพียงพอ และ 10. ระบบ CCTV ไม่เพียงพอและไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยปัญหาทั้งหมดทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจะมีการรายงานต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาในแต่ละด้านในเร็ว ๆ นี้ต่อไป
นายวิระ มาวิจักขณ์ นายกสภาวิศวกร เปิดเผยว่า ทางสภาวิศวกรได้ติดตามปัญหาสุวรรณภูมิอย่างใกล้ชิด โดยได้มีคณะอนุกรรมการฯ ศึกษาเบื้องต้น ด้านเทคนิคจากข้อมูลทุติยภูมิ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งานเมกะโปรเจกต์ด้านวิศวกรรม โดยอนุกรรมการประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมของประเทศ ได้แก่ ศ.ดร.อรุณ ชัยเสรี, ศ.ดร.เอกสิทธิ์ ลิ้มสุวรรณ, นายนิพนธ์ รณะนันทน์ และผู้ทรงคุณวุฒิอีก 5 คน ซึ่งจากการประมวลปัญหาและผลการตรวจสอบเบื้องต้น สภาวิศวกรยืนยันว่า วิศวกรไทยมีสมรรถนะและความรู้เพียงพอในการให้คำปรึกษา ปรับปรุงแก้ไขสนามบินสุวรรณภูมิ โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยวิศวกรต่างชาติ และการประกอบวิชาชีพนี้ในประเทศไทยต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรม หากเป็นวิศวกรต่างชาติก็ต้องถือใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพของไทย
“การจะว่าจ้างวิศวกรต่างชาติเข้ามาแก้ปัญหาสุวรรณภูมิ นับเป็นการสร้างความเสื่อมเสียศักดิ์ศรีของชาติ ไทยมีสถานศึกษาสร้างวิศวกรเป็นจำนวนมาก มีผู้เชี่ยวชาญที่แก้ปัญหาได้ และได้รับการเชื่อถือระดับนานาชาติ และสภาฯ เห็นว่าปัญหาสุวรรณภูมิที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่จำเป็นต้องปิดแต่อย่างใด ไม่สร้างปัญหาเรื่องความไม่ปลอดภัยด้วย” นายวิระ กล่าว
นายวิระกล่าวด้วยว่า ขณะนี้มีการร้องเรียนจากกลุ่มวิศวกรรักชาติให้ตรวจสอบจรรยาบรรณของวิศวกรดูแลงานก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งสภาฯ พร้อมตรวจสอบเรื่องนี้ว่าจะผิดจรรยาบรรณหรือไหม่ เพราะสภาฯ พร้อมที่จะควบคุมด้านจรรยาบรรณ และดำเนินการกับวิศวกรที่มีส่วนร่วมในการทุจริตอย่างเข้มงวด หากมีหลักฐานชัดเจนก็จะถอนใบอนุญาต และสภาฯ ขอเสนอแนะว่า ในการแก้ปัญหาสุวรรรภูมิ ควรต้องยึดหลักวิชาการ โดยยึดข้อมูล ข้อเท็จจริง ทางวิศวกรรมเป็นหลัก และต้องตรวจสอบวิเคราะห์ปัญหาและแก้ไขปัญหาให้ครบวงจรและได้ผลระยะยาว ในขณะที่ผู้เข้าไปดำเนินการหาสาเหตุการแก้ไขปัญาของภาครัฐจะต้องมีความเป็นกลาง ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียมาก่อน และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน และสภาวิศวกรมีความมั่นใจว่าวิศวกรไทยและสถาบันการศึกษาภาควิชาวิศวกรรมโยธาของไทย มีความสามารถที่จะเข้าร่วมกันหาสาเหตุและแก้ไขปัญหาทางวิชาการของการก่อสร้าง ส่วนกรณีที่ต้องการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านหรือประสบการณ์พิเศษจากวิศวกรต่างประเทศก็จะสามารถเข้าร่วมในขอบเขตเชี่ยวชาญนั้น ๆ ได้
ด้าน ศ.ดร.เอกสิทธิ์ ลิ้มสุวรรณ ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านวิศวกรรมโยธา กล่าวว่า กรณีที่มีข้อกังขาเรื่องกลไกการกำกับดูแลและบริหารโครงการในอดีตที่ผ่านมา ว่าอาจยังไม่เป็นไปตามครรลองและวิสัยปฏิบัติการทางวิชาการชัดเท่าที่ควร การแก้ไขจึงควรมี 2 แนวทาง คือ 1. ด้านเทคนิค และ 2. การบริหารจัดการเพื่อดูแล ที่ควรยึดสัญญาเป็นหลัก โดยหากความเสียหายเกิดขึ้นในระยะการประกันงานก็ต้องให้มีการแก้ไข หรือชดเชยความเสียหายนั้น ๆ และที่สำคัญหากจะว่าจ้างวิศวกรต่างชาติก็อาจไม่สามารถวางใจเรื่องธรรมาภิบาลได้ เพราะผู้ที่ออกแบบสนามบินสุวรรณภูมิก็คือต่างชาติ ยิ่งหากว่าจ้างต่างชาติหรือผู้เชี่ยวชาญจากการก่อสร้างสนามบินฮุสตันเข้ามา ซึ่งเป็นผู้ออกแบบสนามบินสุวรรณภูมิด้วย ก็อาจจะเป็นลักษณะ “อ้อยเข้าปากช้าง” ก็ได้
“เท่าที่ติดตามปัญหาโครงสร้างอาคารผู้โดยสารสุวรรณภูมิพบว่า แจ๋วมาก การซึมรั่วของน้ำฝนก็แก้ได้ ส่วนแท็กซี่เวย์มีรอยร้าวมีผลกระทบเพียงร้อยละ 2-3 ของการก่อสร้าง ซึ่งน้อยกว่าระดับมาตรฐานที่กำหนดมาตรฐานปัญหาถึงร้อยละ 5-8 ส่วนปัญหารันเวย์ก็พบว่าไม่สร้างปัญหาเรื่องความปลอดภัยแต่อย่างใด โดยรอยร้าวที่เกิดขึ้นอยู่ในปกติวิสัยที่แก้ได้” ศ.ดร.เอกสิทธิ์ กล่าว
ด้าน พล.ร.อ.ธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ขณะนี้คนไทยช่วยกันตรวจสอบงานก่อสร้างในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และการตรวจสอบยังอยู่ในคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งจะเสนอให้คณะกรรมการของ บมจ.ท่าอากาศยานไทย (ทอท.) พิจารณาต่อไป ก็ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการ ทอท.ว่าจะพิจารณาให้ว่าจ้างวิศวกรต่างชาติมาตรวจสอบหรือไม่ ซึ่งเรื่องยังมาไม่ถึงตน แต่ถ้ามาถึงจะพิจารณาจากข้อเสนอของคณะกรรมการ ทอท. อย่างไรก็ตาม เป็นไปได้ที่สภาวิศวกรของไทยอาจรู้สึกเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ ถ้าไม่แน่ใจในการตรวจสอบของวิศวกรไทย การเอาคนกลางที่ไม่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องเข้ามาก็จะเป็นทางเลือกหนึ่ง ซึ่งแล้วแต่มุมมองของแต่ละคน
พล.ร.อ.ธีระ กล่าวว่า พรุ่งนี้ (15 ก.พ.) จะประชุมร่วมกับสายการบิน เพื่อสอบถามความเห็นในเรื่องการเปิดให้ดอนเมืองเป็นท่าอากาศยานนานาชาติอีก 1 แห่ง ส่วนการบินไทยจะย้ายมาดอนเมืองหรือไม่นั้น ยังเปิดกว้างให้เป็นไปตามสมัครใจ แต่หากไม่มีสายการบินใดย้ายมาให้บริการที่ดอนเมือง ก็ไม่น่ากระทบกับการเป็นสนามบินสากลแห่งที่ 2 เพราะขณะนี้สนามบินดอนเมืองมีเครื่องบินเช่าเหมาลำมาใช้บริการอยู่แล้ว และการเปิดสนามบินดอนเมืองยังจะช่วยระบายความแออัดให้กับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ทอท.เสนอ 10 ปัญหาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าวันนี้ (14 ก.พ.) นายต่อตระกูล ยมนาค กรรมการ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ในฐานะประธานคณะกรรมการติดตามปัญหาแท็กซี่เวย์และรันเวย์ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ นายยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ กรรมการ ทอท. เข้าพบ พล.ร.อ.ธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอปัญหาและทางแก้ไขปัญหาอาคารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประกอบด้วย 1. ปัญหาไฟไหม้ LCS (Lighting Control System) จากปัญหาตู้ควบคุมระบบไฟแสงสว่างที่ติดตั้งอยู่บนคานยอดจั่วหลังคาของอาคาร 2. ปัญหาอุบัติเหตุจากการข้ามถนนจากอาคารที่มีกิจกรรมต่อเนื่องกัน ถูกแบ่งกลางด้วยถนนหลักที่มีรถวิ่งเร็วมาก 3. ปัญหาห้องน้ำไม่เพียงพอและสกปรกมาก 4. ปัญหาประตูหมุนที่ไม่สะดวกและกระจกเป็นอันตรายไม่สะดวกในการใช้งาน 5. งวงช้าง หรือสะพานเทียบเครื่องบิน มีปัญหาทางโครงสร้าง 6. การตรวจสอบงานระบบวิศวกรรมไฟฟ้า เครื่องกล สุขาภิบาล และคอมพิวเตอร์ 7. ตรวจสอบความมั่นคงของอาคารและผลของกระจกแตก 8. คราบน้ำมันจากห้องอาหารอันจะทำให้เกิดไฟไหม้ 9. ระบบปรับอากาศไม่เย็นเพียงพอ และ 10. ระบบ CCTV ไม่เพียงพอและไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยปัญหาทั้งหมดทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจะมีการรายงานต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาในแต่ละด้านในเร็ว ๆ นี้ต่อไป