“บรรณวิทย์” เตรียมเสนอบอร์ด ทอท.สัปดาห์หน้า ยกเลิกสัมปทานเอกชนที่ทำสัญญากับโรงแรมโนโวเทล สุวรรณภูมิ หลังชุดสอบสวนสรุปข้อเท็จจริงพบไม่โปร่งใส ทำผิดสัญญาจริง เพราะไม่ได้เซ็นสัญญากับบริษัทที่เป็นผู้เสนอทีโออาร์แต่แรกตามที่กำหนดไว้ แถมคิดค่าผลประโยชน์ตอบแทนให้รัฐเสียเปรียบมาก และไม่เคยมีประสบการณ์บริหารงานโรงแรมมาก่อน

พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาและติดตามการแก้ไขปัญหาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในฐานะที่ปรึกษา พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ประธานคณะกรรมการบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้คณะกรรมาธิการตรวจสอบสัญญาโรงแรมโนโวเทล สุวรรณภูมิ ที่มี นายภราเดช พยัฆวิเชียร เป็นประธาน ได้สรุปถึงความไม่โปร่งใสในการทำสัญญาเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยพบว่าบริษัท แอคคอร์ กรุ๊ป ผู้รับสัมปทานทำผิดสัญญา โดยให้บริษัทอื่นมาเซ็นสัญญากับโรงแรมโนโวเทล ในฐานะที่ ทอท.ถือหุ้นอยู่ ซึ่งในสัปดาห์หน้าที่มีการประชุมบอร์ด ทอท.จะเสนอเรื่องนี้ให้กับ พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ประธานบอร์ดรับทราบ และให้ ทอท.ดำเนินการยกเลิกสัญญาในทันที
ทั้งนี้ สำหรับการทำสัญญาสัมปทานระหว่างบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. กับโรงแรมโนโวเทล สุวรรณภูมินั้น เกิดจากมีผู้ร้องเรียนว่า การทำสัญญาระหว่างทั้ง 2 หน่วยงาน จะทำให้ ทอท.ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐเกิดความเสียหาย จึงได้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นสอบสวน และได้ข้อสรุปว่า ทอท.ต้องจ่ายค่าผลประโยชน์ให้กับเอกชนในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก และห้องนอนก็มีคุณภาพไม่ตรงตามสเปกที่ทำไว้ ทั้งนี้ สำหรับค่าบริหารโรงแรมโนโวเทล ทอท.ต้องจ่ายให้กับเอกชนร้อยละ 6.5 ของรายรับก่อนหักภาษี ซึ่งสูงกว่าการจ่ายค่าบริหารโรงแรมระดับ 5 ดาวทั่วไป ที่มีการจ่ายเพียงร้อยละ 2 หรือไม่เกินร้อยละ 4.5 เท่านั้น และเป็นอัตราหลังจากหักภาษีแล้วด้วย นอกจากนี้จะต้องจ่ายค่าโลโก้ คำว่า “โนโวเทล” จำนวน 20 ล้านบาท รวมถึงจ่ายค่าสัมปทานในปีแรกจำนวน 80 ล้านบาท ในปีที่ 2 จ่าย 90 ล้านบาท ส่วนปีที่ 3 จะต้องจ่ายเพิ่มขึ้นจำนวน 120 ล้านบาทตามที่ระบุไว้ในสัญญา ซึ่งถือว่า ทอท.เสียเปรียบเอกชนเป็นอย่างมาก และเป็นเรื่องที่ไม่น่าเกิดขึ้น
ด้าน นายภราเดช พยัฆวิเชียร รองประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษาฯ ในฐานะประธานอนุกรรมการตรวจสอบสัญญาโรงแรมโนโวเทล สุวรรณภูมิ เปิดเผยถึงผลการประชุมคณะกรรมการว่า คณะกรรมการได้ตรวจสอบสัญญาและที่ประชุมมีมติร่วมกันว่าการทำสัญญาของโรงแรมไม่ชอบด้วยข้อกำหนด หรือทีโออาร์ ซี่งเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหาร ทอท.จะต้องทบทวนหรือทำสัญญาใหม่ให้ถูกต้อง และตรงตามวัตถุประสงค์ในการบริหารโรงแรมต่อไป
สำหรับรายละเอียดการบริหารโรงแรมนั้นได้มีการทำทีโออาร์ชัดเจนว่าเพื่อประโยชน์สูงสุดของโรงแรมนั้น ผู้ที่จะมาขอรับซองประกวดราคาเพื่อเสนอรายละเอียดในการทำโรงแรม และผู้ที่จะเซ็นสัญญาจะต้องเป็นรายเดียวกัน แต่ตามข้อเท็จจริงนั้นพบว่าผู้ที่ยื่นซองคือกลุ่มแอคคอร์กรุ๊ป และเมื่อมีการยื่นข้อเสนอปรากฏว่าเป็นบริษัทร่วมค้า ยูนิเวอร์แซล โฮเต็ล ที่เสมือนว่าเป็นตัวแทนของแอคคอร์กรุ๊ป ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับที่สัญญาในทีโออาร์ระบุไว้ว่าจะต้องเป็นรายเดียวกับบริษัทที่มาเสนอซองประกวดราคา แต่กลายเป็นการทำสัญญาของกลุ่มร่วมค้ายูนิเวอร์แซลที่ไม่ใช่เป็นตัวแทน
นอกจากนี้ หากดูเกี่ยวกับกลุ่มกิจการร่วมค้ายูนิเวอร์แซลฯ แล้วจะพบว่า ไม่ได้อยู่ในเงื่อนไขที่ ทอท.ต้องการเลือกมาบริหารงานโรงแรมได้ เพราะไม่มีประสบการณ์หรือคุณสมบัติครบตามกำหนด เพราะมีทุนจดทะเบียนแค่ 105 ล้านบาทเท่านั้น ถือว่าน้อยมากในการมาบริหารโรงแรมระดับนี้ หากเกิดความเสียหาย ก็คิดว่าโรงแรมโนโวเทล หรือ ทอท.ในฐานะผู้ถือหุ้น จะอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบที่จะหาหลักประกันได้ และเป็นสาเหตุที่ชัดเจนว่าทำไม ทอท.ควรจะยกเลิกสัญญา
นายภราเดช กล่าวด้วยว่า สำหรับการบริหารนั้นตามสัญญาจะพบว่ามีการคิดค่าบริหารสูงกว่าราคาจริง ส่งผลให้รัฐเกิดความเสียหาย และข้อกำหนดทีโออาร์ได้ระบุให้ผู้เซ็นสัญญาจะต้องประกันเรื่องรายได้ไว้ด้วย แต่หลักการทำสัญญาบริหารส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีใครจะระบุเรื่องการประกันไว้ในสัญญา ซึ่งเป็นไปได้ว่ากิจการร่วมค้าได้คิดค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เพราะจะต้องประกันในสัญญาและเป็นเหตุให้ราคานั้นสูง
ทั้งนี้ คณะกรรมการพิจารณาได้พิจารณาคุณสมบัติแอคคอร์กรุ๊ปโดยตรง แต่ผู้เซ็นสัญญานั้นเป็นยูนิเวอร์แซล ซึ่ง ทอท.ไม่มีนิติสัมพันธ์โดยตรงกับกลุ่มแอคคอร์กรุ๊ป ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ที่โรงแรมโนโวเทล สุวรรณภูมิ ที่ ทอท.ถือหุ้นใหญ่ ต้องการเลือกกลุ่มแอคคอร์มาบริหาร และก็พบหากจะมีปัญหาใดๆ เกิดขึ้น จากนี้กลุ่มกิจการร่วมค้ายูนิเวอร์แซลฯ จะไม่สามารถรับความเสี่ยงแทนบริษัท แอคคอร์ กรุ๊ป ได้ และหากโรงแรมมีความเสี่ยงผู้ที่ต้องประกันความเสี่ยงคือผู้ที่เซ็นสัญญา หรือก็คือบริษัทร่วมค้ายูนิเวอร์แซล โดยที่ ทอท.ไม่สามารถดำเนินการกับบริษัท แอคคอร์ กรุ๊ป ได้ จึงเป็นที่น่าสงสัยว่าเหตุใด ทอท.หรือโรงแรมโนโวเทล สุวรรณภูมิ จึงเซ็นสัญญากับบริษัท ที่ไม่มีอะไรเป็นหลักประกันได้
อย่างไรก็ตาม ข้อน่าสังเกตที่ชัดเจน คือ ทอท.มีความต้องการที่จะมีหลักประกันในเรื่องของรายได้ จึงเขียนไว้ในทีโออาร์ และไปเลือกบริษัทที่คิดว่าดีที่สุด คือ แอคคอร์กรุ๊ป แต่ตอนทำสัญญาก็กลับไปทำสัญญากับคนที่ไม่มีหลักประกันอะไรให้ได้เลย คือยูนิเวอร์แซลฯ เพราะดูจากทุนจดทะเบียนแล้วก็คิดว่าเป็นเรื่องที่ ทอท.เสียเปรียบมาก เป็นเหตุที่จะต้องทบทวนและดำเนินการใหม่ให้ถูกต้อง
พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาและติดตามการแก้ไขปัญหาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในฐานะที่ปรึกษา พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ประธานคณะกรรมการบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้คณะกรรมาธิการตรวจสอบสัญญาโรงแรมโนโวเทล สุวรรณภูมิ ที่มี นายภราเดช พยัฆวิเชียร เป็นประธาน ได้สรุปถึงความไม่โปร่งใสในการทำสัญญาเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยพบว่าบริษัท แอคคอร์ กรุ๊ป ผู้รับสัมปทานทำผิดสัญญา โดยให้บริษัทอื่นมาเซ็นสัญญากับโรงแรมโนโวเทล ในฐานะที่ ทอท.ถือหุ้นอยู่ ซึ่งในสัปดาห์หน้าที่มีการประชุมบอร์ด ทอท.จะเสนอเรื่องนี้ให้กับ พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ประธานบอร์ดรับทราบ และให้ ทอท.ดำเนินการยกเลิกสัญญาในทันที
ทั้งนี้ สำหรับการทำสัญญาสัมปทานระหว่างบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. กับโรงแรมโนโวเทล สุวรรณภูมินั้น เกิดจากมีผู้ร้องเรียนว่า การทำสัญญาระหว่างทั้ง 2 หน่วยงาน จะทำให้ ทอท.ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐเกิดความเสียหาย จึงได้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นสอบสวน และได้ข้อสรุปว่า ทอท.ต้องจ่ายค่าผลประโยชน์ให้กับเอกชนในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก และห้องนอนก็มีคุณภาพไม่ตรงตามสเปกที่ทำไว้ ทั้งนี้ สำหรับค่าบริหารโรงแรมโนโวเทล ทอท.ต้องจ่ายให้กับเอกชนร้อยละ 6.5 ของรายรับก่อนหักภาษี ซึ่งสูงกว่าการจ่ายค่าบริหารโรงแรมระดับ 5 ดาวทั่วไป ที่มีการจ่ายเพียงร้อยละ 2 หรือไม่เกินร้อยละ 4.5 เท่านั้น และเป็นอัตราหลังจากหักภาษีแล้วด้วย นอกจากนี้จะต้องจ่ายค่าโลโก้ คำว่า “โนโวเทล” จำนวน 20 ล้านบาท รวมถึงจ่ายค่าสัมปทานในปีแรกจำนวน 80 ล้านบาท ในปีที่ 2 จ่าย 90 ล้านบาท ส่วนปีที่ 3 จะต้องจ่ายเพิ่มขึ้นจำนวน 120 ล้านบาทตามที่ระบุไว้ในสัญญา ซึ่งถือว่า ทอท.เสียเปรียบเอกชนเป็นอย่างมาก และเป็นเรื่องที่ไม่น่าเกิดขึ้น
ด้าน นายภราเดช พยัฆวิเชียร รองประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษาฯ ในฐานะประธานอนุกรรมการตรวจสอบสัญญาโรงแรมโนโวเทล สุวรรณภูมิ เปิดเผยถึงผลการประชุมคณะกรรมการว่า คณะกรรมการได้ตรวจสอบสัญญาและที่ประชุมมีมติร่วมกันว่าการทำสัญญาของโรงแรมไม่ชอบด้วยข้อกำหนด หรือทีโออาร์ ซี่งเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหาร ทอท.จะต้องทบทวนหรือทำสัญญาใหม่ให้ถูกต้อง และตรงตามวัตถุประสงค์ในการบริหารโรงแรมต่อไป
สำหรับรายละเอียดการบริหารโรงแรมนั้นได้มีการทำทีโออาร์ชัดเจนว่าเพื่อประโยชน์สูงสุดของโรงแรมนั้น ผู้ที่จะมาขอรับซองประกวดราคาเพื่อเสนอรายละเอียดในการทำโรงแรม และผู้ที่จะเซ็นสัญญาจะต้องเป็นรายเดียวกัน แต่ตามข้อเท็จจริงนั้นพบว่าผู้ที่ยื่นซองคือกลุ่มแอคคอร์กรุ๊ป และเมื่อมีการยื่นข้อเสนอปรากฏว่าเป็นบริษัทร่วมค้า ยูนิเวอร์แซล โฮเต็ล ที่เสมือนว่าเป็นตัวแทนของแอคคอร์กรุ๊ป ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับที่สัญญาในทีโออาร์ระบุไว้ว่าจะต้องเป็นรายเดียวกับบริษัทที่มาเสนอซองประกวดราคา แต่กลายเป็นการทำสัญญาของกลุ่มร่วมค้ายูนิเวอร์แซลที่ไม่ใช่เป็นตัวแทน
นอกจากนี้ หากดูเกี่ยวกับกลุ่มกิจการร่วมค้ายูนิเวอร์แซลฯ แล้วจะพบว่า ไม่ได้อยู่ในเงื่อนไขที่ ทอท.ต้องการเลือกมาบริหารงานโรงแรมได้ เพราะไม่มีประสบการณ์หรือคุณสมบัติครบตามกำหนด เพราะมีทุนจดทะเบียนแค่ 105 ล้านบาทเท่านั้น ถือว่าน้อยมากในการมาบริหารโรงแรมระดับนี้ หากเกิดความเสียหาย ก็คิดว่าโรงแรมโนโวเทล หรือ ทอท.ในฐานะผู้ถือหุ้น จะอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบที่จะหาหลักประกันได้ และเป็นสาเหตุที่ชัดเจนว่าทำไม ทอท.ควรจะยกเลิกสัญญา
นายภราเดช กล่าวด้วยว่า สำหรับการบริหารนั้นตามสัญญาจะพบว่ามีการคิดค่าบริหารสูงกว่าราคาจริง ส่งผลให้รัฐเกิดความเสียหาย และข้อกำหนดทีโออาร์ได้ระบุให้ผู้เซ็นสัญญาจะต้องประกันเรื่องรายได้ไว้ด้วย แต่หลักการทำสัญญาบริหารส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีใครจะระบุเรื่องการประกันไว้ในสัญญา ซึ่งเป็นไปได้ว่ากิจการร่วมค้าได้คิดค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เพราะจะต้องประกันในสัญญาและเป็นเหตุให้ราคานั้นสูง
ทั้งนี้ คณะกรรมการพิจารณาได้พิจารณาคุณสมบัติแอคคอร์กรุ๊ปโดยตรง แต่ผู้เซ็นสัญญานั้นเป็นยูนิเวอร์แซล ซึ่ง ทอท.ไม่มีนิติสัมพันธ์โดยตรงกับกลุ่มแอคคอร์กรุ๊ป ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ที่โรงแรมโนโวเทล สุวรรณภูมิ ที่ ทอท.ถือหุ้นใหญ่ ต้องการเลือกกลุ่มแอคคอร์มาบริหาร และก็พบหากจะมีปัญหาใดๆ เกิดขึ้น จากนี้กลุ่มกิจการร่วมค้ายูนิเวอร์แซลฯ จะไม่สามารถรับความเสี่ยงแทนบริษัท แอคคอร์ กรุ๊ป ได้ และหากโรงแรมมีความเสี่ยงผู้ที่ต้องประกันความเสี่ยงคือผู้ที่เซ็นสัญญา หรือก็คือบริษัทร่วมค้ายูนิเวอร์แซล โดยที่ ทอท.ไม่สามารถดำเนินการกับบริษัท แอคคอร์ กรุ๊ป ได้ จึงเป็นที่น่าสงสัยว่าเหตุใด ทอท.หรือโรงแรมโนโวเทล สุวรรณภูมิ จึงเซ็นสัญญากับบริษัท ที่ไม่มีอะไรเป็นหลักประกันได้
อย่างไรก็ตาม ข้อน่าสังเกตที่ชัดเจน คือ ทอท.มีความต้องการที่จะมีหลักประกันในเรื่องของรายได้ จึงเขียนไว้ในทีโออาร์ และไปเลือกบริษัทที่คิดว่าดีที่สุด คือ แอคคอร์กรุ๊ป แต่ตอนทำสัญญาก็กลับไปทำสัญญากับคนที่ไม่มีหลักประกันอะไรให้ได้เลย คือยูนิเวอร์แซลฯ เพราะดูจากทุนจดทะเบียนแล้วก็คิดว่าเป็นเรื่องที่ ทอท.เสียเปรียบมาก เป็นเหตุที่จะต้องทบทวนและดำเนินการใหม่ให้ถูกต้อง