บอร์ดททท.เล็งชงเรื่องเสนอ “อุ๋ย” เดินหน้าบัตรไทยแลนด์อีลิทต่อบนเงื่อนไขใหม่ ขณะที่คณะอนุกรรมการฯจ่อคิวเชือดตัวแทนจำหน่าย แนะโละทิ้งทั้งหมดแล้วให้สถานทูตไทยในต่างประเทศขายเอง ด้าน แอคทีฟ ตัวแทนจำหน่ายรายใหญ่ เชื่อรัฐต้องคิดให้รอบคอบก่อนตัดสินใจ ชี้ยุบตัวแทนจำหน่ายทิ้งภาพลักษณ์ประเทศและรัฐบาลไทยก็เสียหาย ต่างชาติขาดความเชื่อมั่น พร้อมให้ข้อมูลเพิ่มเติมหากรัฐบาลต้องการ
ร.ท.สุวิทย์ ยอดมณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ที่ประชุม คณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(บอร์ด) เห็นชอบตามที่คณะอนุกรรมการเพื่อการศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินงานของโครงการไทยแลนด์พริวิเลจ คาร์ด หรือ ทีพีซี ว่า ให้ดำเนินโครงการต่อไปภายใต้การปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ทั้งหมด ทั้งการบริหารจัดการ วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน และ วิธีการดำเนินธุรกิจ โดยแนวทางทั้งหมด จะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีชุดที่ 1 ซึ่งมี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน พิจารณา ก่อนนำเสนอ คณะรัฐมนตรีเป็นลำดับต่อไป
โดยในรายละเอียดที่คณะอนุกรรมการฯได้เสนอต่อบอร์ด ถึงแนวทางในการแก้ไข เพื่อให้ ทีพีซีสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ จะต้องอยู่ภายใต้วัตถุประสงค์ 3 ประการหลัก คือ 1.เป็นบัตรที่จะช่วยส่งเสริมให้มีนักท่องเที่ยวระดับคุณภาพที่มีการใช้จ่ายเงินสูงเข้ามาในประเทศไทย 2. เป็นบัตรคลับของประเทศไทย คล้ายสโมสร ที่สามารถชักชวนเครือข่ายเข้ามาเที่ยวเพิ่มขึ้น และ 3. เป็นบัตรที่จะได้สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนจาก บีโอไอ เพื่อจูงใจนักลงทุนต่างชาติ โดยรัฐบาลจะไม่ใส่เงินลงทุนเพิ่มเข้าไปอีก แต่ให้ ทีพีซีใช้เงินที่มีอยู่สามารถเลี้ยงองค์กรให้อยู่รอดต่อไปได้
โละทิ้งตัวแทนจำหน่าย-ลดสิทธิประโยชน์
สำหรับวิธีการในการดำเนินงาน คณะอนุกรรมการฯเสนอให้ปรับโครงสร้างองค์กรให้มีขนาดเล็กลง และยังคงเป็นบริษัทเอกชน ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โดยโครงสร้างบอร์ดใหม่จะต้องมีตัวแทนจาก ททท.เข้าไปกำกับดูแลมากขึ้น และ ททท.จะมีหน้าที่ด้านการทำตลาด ส่วนด้านการขาย มีการเสนอให้ยกเลิกระบบตัวแทนจำหน่าย และ ค่าคอมมิชชั่น แล้วให้ กระทรวงการต่างประเทศ และ ททท. เป็นผู้จัดจำหน่ายบัตร ผ่านทาง สำนักงาน ททท.ในต่างประเทศ ,ทีมไทยแลนด์ , สถานทูตไทยในต่างประเทศ และ สถานกงสุลไทยในต่างประเทศเป็นผู้จำหน่าย ในนามรัฐบาลไทย ซึ่งข้อเสนอในส่วนนี้จะต้องมีการพิจารณาและศึกษาในรายละเอียดอีกครั้งหนึ่งก่อนเสนอให้ คณะกรรมการกลั่นกรองฯในสัปดาห์หน้า
ด้านสิทธิประโยชน์ สำหรับ สมาชิกเก่า เสนอให้พิจารณาปรับลดสิทธิประโยชน์ด้านกอล์ฟ สปา และเช็คสุขภาพ ส่วนสมาชิกใหม่ที่จะเกิดขึ้น จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ดังกล่าวทั้งหมด แต่จะได้เพียงสิทธิประโยชน์ทางด่านตรวจคนเข้าเมืองให้เป็นระบบ ฟาสต์แทรก และ ให้บีโอไอดูแลช่วยเหลือและแนะนำด้านการลงทุน โดยจะต้องเสียค่าธรรมเนียมบัตรรายปีอีกปีละ 5-6 หมื่นบาท ส่วนราคาขายยังคงไว้ที่ใบละ 1 ล้านบาทตามเดิม
“แนวทางของ ทีพีซีภายใต้โครงสร้างใหม่จะไม่เน้นว่าบริษัทจะต้องทำเป็นธุรกิจ แต่เป็นโครงการที่จะช่วยดึงนักท่องเที่ยวระดับคุณภาพเข้ามาประเทศไทย และสนับสนุนการเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ซึ่งจากผลการตรวจสอบแล้วพบว่าสมาชิกผู้ถือบัตรอีลิท ที่เข้ามาเที่ยวประเทศไทย จะมีการใช้จ่ายประมาณ 20,000 บาท ต่อวัน ซึ่งจัดเป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพ ส่วนเรื่องพนักงานเราจะไม่ปรับลดรายได้เขา แต่ จะให้ทุกคนเน้นหนักเรื่องงานบริการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของพนักงานต้อนรับที่สนามบิน ส่วนต่างชาติที่ทำงานอยู่ในประเทศไทย หรือกลุ่มเอ็กซ์แพท จะแผนใหม่จะไม่รับเข้ามาเป็นสมาชิก”
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของแผนการดำเนินงาน 5 ปี ของ ทีพีซี ที่เคยยื่นเสนอต่อที่ประชุมบอร์ดททท.นั้น คงต้องชะลอการพิจารณาออกไปก่อน เพื่อให้การปรับโครงสร้างทีพีซีครั้งนี้แล้วเสร็จ พร้อมกำหนดทิศทางวัตถุประสงค์ของบริษัทให้แน่นอน ก่อนเริ่มดำเนินการในส่วนอื่นๆต่อไป ปัจจุบันทีพีซีมีตัวแทนจำหน่ายระดับภูมิภาค 4 ราย และ มีตัวแทนจำหน่ายระดับประเทศอีกราว 20 ราย โดยมียอดสมาชิกแล้วประมาณ 1,700 ราย
เชื่อรัฐบาลมีเหตุผลทบทวนให้ดีก่อนยุบ
ทางด้านนางสุนทรี จันทร์ประสิทธิ์ ประธานบริษัทแอคทีฟ จำกัด ในฐานะตัวแทนจำหน่ายบัตรไทยแลนด์อีลิท รายใหญ่ ที่มียอดขายสูงสุด กล่าวว่า ยังมั่นใจว่า รัฐบาลและผู้ที่เกี่ยวข้อง ต้องทบทวนแนวคิดที่จะยุบตัวแทนจำหน่ายบัตรอีลิท เพราะจะส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทยและรัฐบาลไทยเช่นเดียวกัน เพราะ แต่ละตัวแทนระดับประเทศ ที่กระจายอยู่ในต่างประเทศ ส่วนใหญ่ ก็เป็นนักธุรกิจชั้นแนวหน้าเช่นเดียวกัน ซึ่งหากยกเลิกก็เท่ากับผิดข้อสัญญาที่ทำไว้ และ ยังภาพลักษณ์ชื่อเสียงของบริษัทเขาเอง ตลอดจนเงินลงทุนตั้งออฟฟิศที่จะต้องใช้ประมาณ 5-10 ล้านบาทต่อหนึ่งแห่ง ยังไม่นับรวมค่าใช้จ่ายเรื่องการบริหารจัดการอื่นๆอีก
ทั้งนี้ ทีพีซี มีการเซ็นสัญญากับตัวแทนจำหน่ายครั้งละ 3 ปี ซึ่งขณะนี้ก็เพิ่งต่อสัญญาครั้งที่ 2 ไปไม่นาน ซึ่งหากรัฐบาลตัดสินยุบตัวแทนจำหน่ายจริง บริษัทก็มีสิทธิที่จะฟ้องร้องได้ แต่เบื้องต้นคงต้องขอดูท่าทีของรัฐบาลก่อน เพราะเชื่อว่าหากรัฐบาลได้รู้ข้อมูลที่ถูกต้องทั้งหมดจะเข้าใจทีพีซีมากกว่านี้ เพราะโครงการนี้มีประโยชน์ต่อประเทศชาติจริงๆ สามารถดึงเม็ดเงินลงทุนเข้ามาได้จริง ซึ่งที่ผ่านมา คณะอนุกรรมการเพื่อการศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินงานของโครงการไทยแลนด์พริวิเลจ คาร์ด ได้เชิญตนเองเข้าไปให้ข้อมูลเพิ่มเติมทั้งหมด ซึ่งทำให้มีความเข้าใจทีพีซีมากขึ้น และ เชื่อว่า หาก ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีได้ทราบข้อมูลที่แท้จริง ก็เชื่อว่าจะเข้าใจทีพีซีได้มากกว่านี้ ส่วนแอคทีฟเองก็พร้องที่จะเข้าไปให้ข้อมูลหากรัฐบาลต้องการ
อย่างไรก็ตาม แนวคิดที่รัฐบาลจะทำตลาดเอง โดยให้ ททท. และสถานทูตไทยในต่างประเทศ เป็นผู้จัดจำหน่ายบัตร เชื่อว่าคงเป็นไปได้ยาก เพราะ บัตรอีลิท ไม่ใช่แค่การขาย แต่ต้องมีเรื่องของการลงทุนวางระบบเพื่อการขาย ขณะเดียวกันบุคลากรภาครัฐไม่ใช่นักขายหรือนักธุรกิจ จึงไม่ถนัดเรื่องงานขาย และมองว่า หากรัฐต้องการดึงนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพเข้าประเทศ ดึงเม็ดเงินลงทุนต่างชาติเข้าประเทศ การเพิ่มยอดขายบัตรอีลิทการ์ดก็ยังมีความจำเป็น ส่วนเรื่องการปรับโครงสร้างทีพีซีตรงนี้เห็นด้วย และเป็นแนวทางที่ ทีพีซีเองก็บรรจุไว้ในแผนธุรกิจอยู่แล้ว และเรื่องการปรับสิทธิประโยชน์ก็เห็นด้วย เพราะในฐานะคนไทยก็ไม่ต้องการเอื้อสิทธิประโยชน์ให้แก่ต่างชาติมากเกินไป
ร.ท.สุวิทย์ ยอดมณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ที่ประชุม คณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(บอร์ด) เห็นชอบตามที่คณะอนุกรรมการเพื่อการศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินงานของโครงการไทยแลนด์พริวิเลจ คาร์ด หรือ ทีพีซี ว่า ให้ดำเนินโครงการต่อไปภายใต้การปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ทั้งหมด ทั้งการบริหารจัดการ วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน และ วิธีการดำเนินธุรกิจ โดยแนวทางทั้งหมด จะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีชุดที่ 1 ซึ่งมี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน พิจารณา ก่อนนำเสนอ คณะรัฐมนตรีเป็นลำดับต่อไป
โดยในรายละเอียดที่คณะอนุกรรมการฯได้เสนอต่อบอร์ด ถึงแนวทางในการแก้ไข เพื่อให้ ทีพีซีสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ จะต้องอยู่ภายใต้วัตถุประสงค์ 3 ประการหลัก คือ 1.เป็นบัตรที่จะช่วยส่งเสริมให้มีนักท่องเที่ยวระดับคุณภาพที่มีการใช้จ่ายเงินสูงเข้ามาในประเทศไทย 2. เป็นบัตรคลับของประเทศไทย คล้ายสโมสร ที่สามารถชักชวนเครือข่ายเข้ามาเที่ยวเพิ่มขึ้น และ 3. เป็นบัตรที่จะได้สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนจาก บีโอไอ เพื่อจูงใจนักลงทุนต่างชาติ โดยรัฐบาลจะไม่ใส่เงินลงทุนเพิ่มเข้าไปอีก แต่ให้ ทีพีซีใช้เงินที่มีอยู่สามารถเลี้ยงองค์กรให้อยู่รอดต่อไปได้
โละทิ้งตัวแทนจำหน่าย-ลดสิทธิประโยชน์
สำหรับวิธีการในการดำเนินงาน คณะอนุกรรมการฯเสนอให้ปรับโครงสร้างองค์กรให้มีขนาดเล็กลง และยังคงเป็นบริษัทเอกชน ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โดยโครงสร้างบอร์ดใหม่จะต้องมีตัวแทนจาก ททท.เข้าไปกำกับดูแลมากขึ้น และ ททท.จะมีหน้าที่ด้านการทำตลาด ส่วนด้านการขาย มีการเสนอให้ยกเลิกระบบตัวแทนจำหน่าย และ ค่าคอมมิชชั่น แล้วให้ กระทรวงการต่างประเทศ และ ททท. เป็นผู้จัดจำหน่ายบัตร ผ่านทาง สำนักงาน ททท.ในต่างประเทศ ,ทีมไทยแลนด์ , สถานทูตไทยในต่างประเทศ และ สถานกงสุลไทยในต่างประเทศเป็นผู้จำหน่าย ในนามรัฐบาลไทย ซึ่งข้อเสนอในส่วนนี้จะต้องมีการพิจารณาและศึกษาในรายละเอียดอีกครั้งหนึ่งก่อนเสนอให้ คณะกรรมการกลั่นกรองฯในสัปดาห์หน้า
ด้านสิทธิประโยชน์ สำหรับ สมาชิกเก่า เสนอให้พิจารณาปรับลดสิทธิประโยชน์ด้านกอล์ฟ สปา และเช็คสุขภาพ ส่วนสมาชิกใหม่ที่จะเกิดขึ้น จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ดังกล่าวทั้งหมด แต่จะได้เพียงสิทธิประโยชน์ทางด่านตรวจคนเข้าเมืองให้เป็นระบบ ฟาสต์แทรก และ ให้บีโอไอดูแลช่วยเหลือและแนะนำด้านการลงทุน โดยจะต้องเสียค่าธรรมเนียมบัตรรายปีอีกปีละ 5-6 หมื่นบาท ส่วนราคาขายยังคงไว้ที่ใบละ 1 ล้านบาทตามเดิม
“แนวทางของ ทีพีซีภายใต้โครงสร้างใหม่จะไม่เน้นว่าบริษัทจะต้องทำเป็นธุรกิจ แต่เป็นโครงการที่จะช่วยดึงนักท่องเที่ยวระดับคุณภาพเข้ามาประเทศไทย และสนับสนุนการเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ซึ่งจากผลการตรวจสอบแล้วพบว่าสมาชิกผู้ถือบัตรอีลิท ที่เข้ามาเที่ยวประเทศไทย จะมีการใช้จ่ายประมาณ 20,000 บาท ต่อวัน ซึ่งจัดเป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพ ส่วนเรื่องพนักงานเราจะไม่ปรับลดรายได้เขา แต่ จะให้ทุกคนเน้นหนักเรื่องงานบริการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของพนักงานต้อนรับที่สนามบิน ส่วนต่างชาติที่ทำงานอยู่ในประเทศไทย หรือกลุ่มเอ็กซ์แพท จะแผนใหม่จะไม่รับเข้ามาเป็นสมาชิก”
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของแผนการดำเนินงาน 5 ปี ของ ทีพีซี ที่เคยยื่นเสนอต่อที่ประชุมบอร์ดททท.นั้น คงต้องชะลอการพิจารณาออกไปก่อน เพื่อให้การปรับโครงสร้างทีพีซีครั้งนี้แล้วเสร็จ พร้อมกำหนดทิศทางวัตถุประสงค์ของบริษัทให้แน่นอน ก่อนเริ่มดำเนินการในส่วนอื่นๆต่อไป ปัจจุบันทีพีซีมีตัวแทนจำหน่ายระดับภูมิภาค 4 ราย และ มีตัวแทนจำหน่ายระดับประเทศอีกราว 20 ราย โดยมียอดสมาชิกแล้วประมาณ 1,700 ราย
เชื่อรัฐบาลมีเหตุผลทบทวนให้ดีก่อนยุบ
ทางด้านนางสุนทรี จันทร์ประสิทธิ์ ประธานบริษัทแอคทีฟ จำกัด ในฐานะตัวแทนจำหน่ายบัตรไทยแลนด์อีลิท รายใหญ่ ที่มียอดขายสูงสุด กล่าวว่า ยังมั่นใจว่า รัฐบาลและผู้ที่เกี่ยวข้อง ต้องทบทวนแนวคิดที่จะยุบตัวแทนจำหน่ายบัตรอีลิท เพราะจะส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทยและรัฐบาลไทยเช่นเดียวกัน เพราะ แต่ละตัวแทนระดับประเทศ ที่กระจายอยู่ในต่างประเทศ ส่วนใหญ่ ก็เป็นนักธุรกิจชั้นแนวหน้าเช่นเดียวกัน ซึ่งหากยกเลิกก็เท่ากับผิดข้อสัญญาที่ทำไว้ และ ยังภาพลักษณ์ชื่อเสียงของบริษัทเขาเอง ตลอดจนเงินลงทุนตั้งออฟฟิศที่จะต้องใช้ประมาณ 5-10 ล้านบาทต่อหนึ่งแห่ง ยังไม่นับรวมค่าใช้จ่ายเรื่องการบริหารจัดการอื่นๆอีก
ทั้งนี้ ทีพีซี มีการเซ็นสัญญากับตัวแทนจำหน่ายครั้งละ 3 ปี ซึ่งขณะนี้ก็เพิ่งต่อสัญญาครั้งที่ 2 ไปไม่นาน ซึ่งหากรัฐบาลตัดสินยุบตัวแทนจำหน่ายจริง บริษัทก็มีสิทธิที่จะฟ้องร้องได้ แต่เบื้องต้นคงต้องขอดูท่าทีของรัฐบาลก่อน เพราะเชื่อว่าหากรัฐบาลได้รู้ข้อมูลที่ถูกต้องทั้งหมดจะเข้าใจทีพีซีมากกว่านี้ เพราะโครงการนี้มีประโยชน์ต่อประเทศชาติจริงๆ สามารถดึงเม็ดเงินลงทุนเข้ามาได้จริง ซึ่งที่ผ่านมา คณะอนุกรรมการเพื่อการศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินงานของโครงการไทยแลนด์พริวิเลจ คาร์ด ได้เชิญตนเองเข้าไปให้ข้อมูลเพิ่มเติมทั้งหมด ซึ่งทำให้มีความเข้าใจทีพีซีมากขึ้น และ เชื่อว่า หาก ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีได้ทราบข้อมูลที่แท้จริง ก็เชื่อว่าจะเข้าใจทีพีซีได้มากกว่านี้ ส่วนแอคทีฟเองก็พร้องที่จะเข้าไปให้ข้อมูลหากรัฐบาลต้องการ
อย่างไรก็ตาม แนวคิดที่รัฐบาลจะทำตลาดเอง โดยให้ ททท. และสถานทูตไทยในต่างประเทศ เป็นผู้จัดจำหน่ายบัตร เชื่อว่าคงเป็นไปได้ยาก เพราะ บัตรอีลิท ไม่ใช่แค่การขาย แต่ต้องมีเรื่องของการลงทุนวางระบบเพื่อการขาย ขณะเดียวกันบุคลากรภาครัฐไม่ใช่นักขายหรือนักธุรกิจ จึงไม่ถนัดเรื่องงานขาย และมองว่า หากรัฐต้องการดึงนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพเข้าประเทศ ดึงเม็ดเงินลงทุนต่างชาติเข้าประเทศ การเพิ่มยอดขายบัตรอีลิทการ์ดก็ยังมีความจำเป็น ส่วนเรื่องการปรับโครงสร้างทีพีซีตรงนี้เห็นด้วย และเป็นแนวทางที่ ทีพีซีเองก็บรรจุไว้ในแผนธุรกิจอยู่แล้ว และเรื่องการปรับสิทธิประโยชน์ก็เห็นด้วย เพราะในฐานะคนไทยก็ไม่ต้องการเอื้อสิทธิประโยชน์ให้แก่ต่างชาติมากเกินไป