สิงห์ฯ ช้ำใจชาเขียวได้ไม่คุ้มเสีย ลงทุนค่าเครื่องจักร 200 ล้านบาท แต่ตลาดหดตัว 20-30% 2 ปีซ้อน เล็งโละชาเขียวออกจากพอร์ตโฟลิโออีก 1 ปี พร้อมปั้นโมชิแบรนด์เครื่องดื่มใหม่แทน อัด 70 ล้านบาท ส่งบีอิ้งสร้างตลาดเครื่องดื่มเสริมสุขภาพ ทะลวงวัยทำงาน ดึงนาตาลี เกลโบวา แอมบาสเดอร์ระเบิดแคมเปญ"ภารกิจตะลุยรัสเซียกับนาตาลี" สิ้นปีกวาดยอด 4 ล้านลิตร
นายสันต์ ภิรมย์ภักดี ผู้จัดการฝ่ายการตลาดกลุ่มเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์ บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายชาเขียวโมชิ และเครื่องดื่มเสริมสุขภาพบีอิ้ง เปิดเผยว่า หลังจากที่เปิดตัวชาเขียวพร้อมดื่มโมชิลงสู่ตลาดเมื่อประมาณปี 2548 ภายใต้การใช้งบลงทุน 200 ล้านบาท แต่ปรากฎว่าสภาพตลาดในช่วง 2 ปีที่ผ่านมานี้หดตัวลง 20-30% ต่อปี และปีนี้คาดว่าตลาดจะหดตัวลงอีก
ดังนั้นบริษัทกำลังพิจารณาว่าหากปีนี้ไม่ได้รับการตอบรับที่ดี ในปี 2550 บริษัทจะหยุดทำตลาดชาเขียวโมชิ พร้อมกันนี้ยังได้วางแนวทางนำแบรนด์"โมชิ"มาทำสินค้าตัวอื่นๆแทน เนื่องจากโมชิเป็นแบรนด์ที่มีความแข็งแกร่งและเป็นที่รู้จักในวงกว้าง อีกทั้งยังสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายวัยรุ่นได้เป็นอย่างดี จากปัจจุบันในกลุ่มเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์บริษัทมีสินค้ากว่า 20 ตัวที่อยู่ในระหว่างการพัฒนาภายใต้การใช้ 25 ล้านบาท
ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาตลาดน้ำผลไม้หรือกระทั่งนมถั่วเหลือง เนื่องจากเป็นตลาดที่มีศักยภาพและมีอัตราการเติบโตสูง โดยปีนี้บริษัทจะเปิดตัวสินค้าใหม่อย่าง 2ตัว สำหรับกลุ่มบุญรอดฯ ปัจจุบันเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์มีสัดส่วนรายได้คิดเป็น 30% ได้แก่ น้ำดื่มและโซดาสิงห์ ชาเขียวโมชิ และเครื่องดื่มเสริมสุขภาพโบอิ้ง และเป็นกลุ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สัดส่วนรายได้ 70% ได้แก่ เบียร์สิงห์ ลีโอ ไทเบียร์ เป็นต้น
นายสันต์ กล่าวว่า สภาพตลาดชาเขียวที่ตกลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับโมชิมีส่วนแบ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งเป้าไว้ตั้งแต่ปีแรก คือ 10% ปัจจุบันมีเพียง 5% เท่านั้น ซึ่งการทำกลุ่มธุรกิจดังกล่าวยังขาดทุนอีกมาก บริษัทจึงได้ลดงบการตลาดลงกว่า 50% จากเดิมที่ใช้ปีแรก 100 ล้านบาท เหลือเป็น 20-40 ล้านบาท และคงต้องหาลูกเล่นใหม่มาให้กับโมชิ โดยคาดว่าปีนี้ชาเขียวโมชิยอดขายจะไม่โตหรือโตขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
"การเปิดตัวชาเขียวโมชิเหมือนเป็นครูสอนให้รู้เกี่ยวกับการทำธุรกิจ เพราะตลาดไปเร็วกว่าที่วิเคราะห์ ไม่เหมือนประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน สิงคโปร์ ตลาดมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้จากนี้ต้องมองใหม่ โดยยึดผู้บริโภคเป็นหลัก เช่น การออกเปิดตัวสินค้าใหม่ ต้องพิจารณาถึงรสชาติเป็นหลัก และประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ"
ทุ่ม 70ล.ปั้นบีอิ้งแจ้งเกิด
นายสันต์ กล่าวว่า ได้เปิดตัวเครื่องดื่มภายใต้แบรนด์"บี-อิ้ง" ลงสู่ตลาด 3 รสชาติ ได้แก่ บีอิ้ง บูส,บีอิ้ง ไฟน์ และบีอิ้ง คอมฟอร์ท เจาะกลุ่มเป้าหมายอายุ 25 ปีขึ้นไป โดยวางตำแหน่งการตลาดเป็นเครื่องดื่มสุขภาพ หรือเรียกว่า ไลฟ์สไตล์ฟังก์ชันนอล ดริงก์ เนื่องจากพบว่าแนวโน้มกระแสสุขภาพมาแรงอย่างต่อเนื่อง คนรุ่นใหม่หันมาใส่ใจในเรื่องของสุขภาพมากขึ้น
โดยแนวทางการทำตลาดจะแยกผลิตภัณฑ์แต่ละตัวไปในแต่ละช่องทาง สำหรับบีอิ้ง บูส เจาะกลุ่มผู้ที่ออกกำลังกาย เน้นการสนับสนุนกีฬาต่างๆ ส่วนบีอิ้ง ไฟน์ เครื่องดื่มผสมวิตามินรวม เจาะกลุ่มเป้าหมายวัยรุ่น บีอิ้ง คอมฟอร์ท เครื่องดื่มผสมใยอาหารอินนูลินเข้าช่องทางฟาสต์ฟูดส์
ด้านช่องทางจำหน่ายขณะนี้วางในร้านค้าสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่นตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม ที่ผ่านมานี้ ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีมียอดขาย 2ล้านลิตร เกินความคาดหมาย และในเดือนมีนาคมนี้ บริษัทจะเริ่มกระจายสินค้าให้ครอบคลุมทุกช่องทาง แบ่งเป็นโมเดิร์นเทรด 70% และเทรดิชันนัลเทรด 30% โดยตั้งเป้าปีแรกมียอดขาย 4 ล้านลิตร โดยปัจจุบันบีอิ้งมีกำลังการผลิต 7,000 ลังต่อวัน ดังนั้นหากมีแผนจะทำตลาดต่างประเทศต้องเพิ่มกำลังการผลิต
ล่าสุดบริษัทได้ทุ่มงบการตลาด 70ล้านบาท ผ่านการทำสื่อโฆษณาสิ่งพิมพ์ วิทยุ และจัดกิจกรรมการตลาดอย่างครบวงจร เนื่องจากเป็นตลาดใหม่ต้องทุ่มงบในการสร้างความรู้ผ่านการให้ข้อมูล ล่าสุดเปิดตัวแคมเปญ"ภารกิจตะลุยรัสเซียกับนาตาลี" ค้นหา 7 บอดี้การ์ดผู้โชคดี ไปร่วมตะลุยทะเลดำกับนาตาลี เกลโบวา แบรนด์แอมบาสเดอร์ของสิงห์ คอร์เปอเรชั่น หมดเขตรับชิ้นส่วน 15 พ.ค.2550 คาดว่าแคมเปญดังกล่าวจะกระตุ้นยอดขายเพิ่มขึ้น
"เครื่องดื่มเสริมสุขภาพเป็นตลาดใหม่สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันบีอิ้งยังไม่มีคู่แข่งทางตรง โดยมีคู่แข่งทางอ้อม อาทิ น้ำผลไม้ ชาเขียว น้ำเกลือแร่ เป็นต้น ในขณะที่พฤติกรรมของผู้บริโภคโอกาสจะที่จะหันไปดื่มเครื่องดื่มตัวอื่นๆ มีความหลากหลาย" นายสันต์ กล่าว
นายสันต์ ภิรมย์ภักดี ผู้จัดการฝ่ายการตลาดกลุ่มเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์ บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายชาเขียวโมชิ และเครื่องดื่มเสริมสุขภาพบีอิ้ง เปิดเผยว่า หลังจากที่เปิดตัวชาเขียวพร้อมดื่มโมชิลงสู่ตลาดเมื่อประมาณปี 2548 ภายใต้การใช้งบลงทุน 200 ล้านบาท แต่ปรากฎว่าสภาพตลาดในช่วง 2 ปีที่ผ่านมานี้หดตัวลง 20-30% ต่อปี และปีนี้คาดว่าตลาดจะหดตัวลงอีก
ดังนั้นบริษัทกำลังพิจารณาว่าหากปีนี้ไม่ได้รับการตอบรับที่ดี ในปี 2550 บริษัทจะหยุดทำตลาดชาเขียวโมชิ พร้อมกันนี้ยังได้วางแนวทางนำแบรนด์"โมชิ"มาทำสินค้าตัวอื่นๆแทน เนื่องจากโมชิเป็นแบรนด์ที่มีความแข็งแกร่งและเป็นที่รู้จักในวงกว้าง อีกทั้งยังสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายวัยรุ่นได้เป็นอย่างดี จากปัจจุบันในกลุ่มเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์บริษัทมีสินค้ากว่า 20 ตัวที่อยู่ในระหว่างการพัฒนาภายใต้การใช้ 25 ล้านบาท
ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาตลาดน้ำผลไม้หรือกระทั่งนมถั่วเหลือง เนื่องจากเป็นตลาดที่มีศักยภาพและมีอัตราการเติบโตสูง โดยปีนี้บริษัทจะเปิดตัวสินค้าใหม่อย่าง 2ตัว สำหรับกลุ่มบุญรอดฯ ปัจจุบันเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์มีสัดส่วนรายได้คิดเป็น 30% ได้แก่ น้ำดื่มและโซดาสิงห์ ชาเขียวโมชิ และเครื่องดื่มเสริมสุขภาพโบอิ้ง และเป็นกลุ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สัดส่วนรายได้ 70% ได้แก่ เบียร์สิงห์ ลีโอ ไทเบียร์ เป็นต้น
นายสันต์ กล่าวว่า สภาพตลาดชาเขียวที่ตกลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับโมชิมีส่วนแบ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งเป้าไว้ตั้งแต่ปีแรก คือ 10% ปัจจุบันมีเพียง 5% เท่านั้น ซึ่งการทำกลุ่มธุรกิจดังกล่าวยังขาดทุนอีกมาก บริษัทจึงได้ลดงบการตลาดลงกว่า 50% จากเดิมที่ใช้ปีแรก 100 ล้านบาท เหลือเป็น 20-40 ล้านบาท และคงต้องหาลูกเล่นใหม่มาให้กับโมชิ โดยคาดว่าปีนี้ชาเขียวโมชิยอดขายจะไม่โตหรือโตขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
"การเปิดตัวชาเขียวโมชิเหมือนเป็นครูสอนให้รู้เกี่ยวกับการทำธุรกิจ เพราะตลาดไปเร็วกว่าที่วิเคราะห์ ไม่เหมือนประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน สิงคโปร์ ตลาดมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้จากนี้ต้องมองใหม่ โดยยึดผู้บริโภคเป็นหลัก เช่น การออกเปิดตัวสินค้าใหม่ ต้องพิจารณาถึงรสชาติเป็นหลัก และประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ"
ทุ่ม 70ล.ปั้นบีอิ้งแจ้งเกิด
นายสันต์ กล่าวว่า ได้เปิดตัวเครื่องดื่มภายใต้แบรนด์"บี-อิ้ง" ลงสู่ตลาด 3 รสชาติ ได้แก่ บีอิ้ง บูส,บีอิ้ง ไฟน์ และบีอิ้ง คอมฟอร์ท เจาะกลุ่มเป้าหมายอายุ 25 ปีขึ้นไป โดยวางตำแหน่งการตลาดเป็นเครื่องดื่มสุขภาพ หรือเรียกว่า ไลฟ์สไตล์ฟังก์ชันนอล ดริงก์ เนื่องจากพบว่าแนวโน้มกระแสสุขภาพมาแรงอย่างต่อเนื่อง คนรุ่นใหม่หันมาใส่ใจในเรื่องของสุขภาพมากขึ้น
โดยแนวทางการทำตลาดจะแยกผลิตภัณฑ์แต่ละตัวไปในแต่ละช่องทาง สำหรับบีอิ้ง บูส เจาะกลุ่มผู้ที่ออกกำลังกาย เน้นการสนับสนุนกีฬาต่างๆ ส่วนบีอิ้ง ไฟน์ เครื่องดื่มผสมวิตามินรวม เจาะกลุ่มเป้าหมายวัยรุ่น บีอิ้ง คอมฟอร์ท เครื่องดื่มผสมใยอาหารอินนูลินเข้าช่องทางฟาสต์ฟูดส์
ด้านช่องทางจำหน่ายขณะนี้วางในร้านค้าสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่นตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม ที่ผ่านมานี้ ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีมียอดขาย 2ล้านลิตร เกินความคาดหมาย และในเดือนมีนาคมนี้ บริษัทจะเริ่มกระจายสินค้าให้ครอบคลุมทุกช่องทาง แบ่งเป็นโมเดิร์นเทรด 70% และเทรดิชันนัลเทรด 30% โดยตั้งเป้าปีแรกมียอดขาย 4 ล้านลิตร โดยปัจจุบันบีอิ้งมีกำลังการผลิต 7,000 ลังต่อวัน ดังนั้นหากมีแผนจะทำตลาดต่างประเทศต้องเพิ่มกำลังการผลิต
ล่าสุดบริษัทได้ทุ่มงบการตลาด 70ล้านบาท ผ่านการทำสื่อโฆษณาสิ่งพิมพ์ วิทยุ และจัดกิจกรรมการตลาดอย่างครบวงจร เนื่องจากเป็นตลาดใหม่ต้องทุ่มงบในการสร้างความรู้ผ่านการให้ข้อมูล ล่าสุดเปิดตัวแคมเปญ"ภารกิจตะลุยรัสเซียกับนาตาลี" ค้นหา 7 บอดี้การ์ดผู้โชคดี ไปร่วมตะลุยทะเลดำกับนาตาลี เกลโบวา แบรนด์แอมบาสเดอร์ของสิงห์ คอร์เปอเรชั่น หมดเขตรับชิ้นส่วน 15 พ.ค.2550 คาดว่าแคมเปญดังกล่าวจะกระตุ้นยอดขายเพิ่มขึ้น
"เครื่องดื่มเสริมสุขภาพเป็นตลาดใหม่สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันบีอิ้งยังไม่มีคู่แข่งทางตรง โดยมีคู่แข่งทางอ้อม อาทิ น้ำผลไม้ ชาเขียว น้ำเกลือแร่ เป็นต้น ในขณะที่พฤติกรรมของผู้บริโภคโอกาสจะที่จะหันไปดื่มเครื่องดื่มตัวอื่นๆ มีความหลากหลาย" นายสันต์ กล่าว