อธิบดีกรมสรรพากร สั่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบหลักฐานการเสียภาษีจากการขายหลักทรัพย์ ของ ปรส.หลังจากดีเอสไอออกหมายเรียกผู้บริหาร ปรส.ให้รับทราบข้อกล่าวหา เนื่องจากพบหลักฐานชัดเจนในการตั้งกองทุนรวมโกลบอลฯ เพื่อหลีกเลี่ยงภาษี ด้านเลห์แมน บราเธอร์ส ยืนยันปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับ ปรส.
นายศานิต ร่างน้อย อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า หลังจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ออกหมายเรียกอดีตผู้บริหารองค์การเพื่อการปฏิรูปเพื่อการพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ในการทุจริตการขายหลักทรัพย์ในกลุ่มสินเชื่อที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะการหลีกเลี่ยงภาษี ดังนั้น จึงได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่สรรพากรเข้าไปตรวจสอบดูหลักฐานเอกสารต่างๆ ในช่วงที่มีการประมูลขายทรัพย์สินในปี 2541 เพื่อตรวจสอบในทุกขั้นตอน ว่า มีการเสียภาษีถูกต้องหรือไม่ กองทุนที่ตั้งขึ้นมาและได้เข้าไปรับซื้อทรัพย์สินดังกล่าวต้องเสียภาษีหรือไม่ เพื่อไม่ให้ภาครัฐเสียประโยชน์จากการดำเนินการดังกล่าว
ทั้งนี้ ดีเอสไอ ได้ออกหมายเรียกให้ นายวิชรัตน์ วิจิตรวาทการ อดีตเลขาธิการ ปรส.ชุดที่ 2 มารับทราบข้อกล่าวหา ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ส่วนกองทุนรวมโกลบอลไทย พร็อพเพอร์ตี้ และบริษัท เลห์แมน บราเธอร์ส โฮลดิ้ง อิงค์ มารับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ดีเอสไอ มีความเห็นชัดเจนว่า มีการจงใจช่วยเหลือให้บริษัท เลห์แมน บราเธอร์ส โดยให้เลื่อนกำหนดการทำสัญญาภายใน 7 วัน หลังจากได้ทำการประมูลออกไปก่อน เพื่อให้เลห์แมนฯ ทำการจดทะเบียนตั้งกองทุนเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งเป็นการขัดระเบียบของ ปรส.อย่างชัดเจน โดยในช่วงที่มีการประมูลขายทรัพย์สินดังกล่าวในกลุ่มสินเชื่อที่อยู่อาศัย 53 แห่ง มูลค่าทางบัญชี 24,616 ล้านบาท ในวันที่ 13 สิงหาคม 2541 และเลห์แมน บราเธอร์ส ชนะการประมูล ด้วยราคา 11,520 ล้านบาท และเลห์แมนฯยังได้โอนสิทธิไปยังกองทุนโกลบอลฯ เพื่อหลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งขัดกับหลักกฎหมายทำให้รัฐเสียประโยชน์
ด้าน เลห์แมน บราเธอร์ส บริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนระดับโลก ชี้แจงว่า บริษัทได้ยึดถือและปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการประมูลเข้าซื้อสินทรัพย์ที่อยู่อาศัยที่องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) จัดขึ้นในปี 2541 อย่างเคร่งครัด และไม่ได้ดำเนินการใดๆ ฝ่าฝืนกฎหมายและหลักจริยธรรม ซึ่งที่ผ่านมา กรมสรรพากร ยังยืนยันว่า ไม่พบหลักฐานใดๆ ที่ระบุว่า ผู้ชนะการประมูลดังกล่าว รวมทั้งเลห์แมนฯ ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการยกเว้นภาษี สำหรับการโอนสินทรัพย์ที่บริษัทชนะการประมูลจัดซื้อมาได้เมื่อเดือนสิงหาคม 2541 ให้แก่กองทุนรวมโกลบอลไทย พร็อพเพอร์ตี้ นั้น เป็นการดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และสอดคล้องกับระเบียบข้อบังคับที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จัดทำขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2541
นายศานิต ร่างน้อย อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า หลังจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ออกหมายเรียกอดีตผู้บริหารองค์การเพื่อการปฏิรูปเพื่อการพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ในการทุจริตการขายหลักทรัพย์ในกลุ่มสินเชื่อที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะการหลีกเลี่ยงภาษี ดังนั้น จึงได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่สรรพากรเข้าไปตรวจสอบดูหลักฐานเอกสารต่างๆ ในช่วงที่มีการประมูลขายทรัพย์สินในปี 2541 เพื่อตรวจสอบในทุกขั้นตอน ว่า มีการเสียภาษีถูกต้องหรือไม่ กองทุนที่ตั้งขึ้นมาและได้เข้าไปรับซื้อทรัพย์สินดังกล่าวต้องเสียภาษีหรือไม่ เพื่อไม่ให้ภาครัฐเสียประโยชน์จากการดำเนินการดังกล่าว
ทั้งนี้ ดีเอสไอ ได้ออกหมายเรียกให้ นายวิชรัตน์ วิจิตรวาทการ อดีตเลขาธิการ ปรส.ชุดที่ 2 มารับทราบข้อกล่าวหา ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ส่วนกองทุนรวมโกลบอลไทย พร็อพเพอร์ตี้ และบริษัท เลห์แมน บราเธอร์ส โฮลดิ้ง อิงค์ มารับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ดีเอสไอ มีความเห็นชัดเจนว่า มีการจงใจช่วยเหลือให้บริษัท เลห์แมน บราเธอร์ส โดยให้เลื่อนกำหนดการทำสัญญาภายใน 7 วัน หลังจากได้ทำการประมูลออกไปก่อน เพื่อให้เลห์แมนฯ ทำการจดทะเบียนตั้งกองทุนเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งเป็นการขัดระเบียบของ ปรส.อย่างชัดเจน โดยในช่วงที่มีการประมูลขายทรัพย์สินดังกล่าวในกลุ่มสินเชื่อที่อยู่อาศัย 53 แห่ง มูลค่าทางบัญชี 24,616 ล้านบาท ในวันที่ 13 สิงหาคม 2541 และเลห์แมน บราเธอร์ส ชนะการประมูล ด้วยราคา 11,520 ล้านบาท และเลห์แมนฯยังได้โอนสิทธิไปยังกองทุนโกลบอลฯ เพื่อหลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งขัดกับหลักกฎหมายทำให้รัฐเสียประโยชน์
ด้าน เลห์แมน บราเธอร์ส บริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนระดับโลก ชี้แจงว่า บริษัทได้ยึดถือและปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการประมูลเข้าซื้อสินทรัพย์ที่อยู่อาศัยที่องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) จัดขึ้นในปี 2541 อย่างเคร่งครัด และไม่ได้ดำเนินการใดๆ ฝ่าฝืนกฎหมายและหลักจริยธรรม ซึ่งที่ผ่านมา กรมสรรพากร ยังยืนยันว่า ไม่พบหลักฐานใดๆ ที่ระบุว่า ผู้ชนะการประมูลดังกล่าว รวมทั้งเลห์แมนฯ ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการยกเว้นภาษี สำหรับการโอนสินทรัพย์ที่บริษัทชนะการประมูลจัดซื้อมาได้เมื่อเดือนสิงหาคม 2541 ให้แก่กองทุนรวมโกลบอลไทย พร็อพเพอร์ตี้ นั้น เป็นการดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และสอดคล้องกับระเบียบข้อบังคับที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จัดทำขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2541