ไทยและปากีสถานตั้งคณะศึกษาการจัดทำข้อตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ร่วมกัน คาดผลการศึกษาจะสรุปได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ ขณะที่ รมว.พาณิชย์เตรียมนำคณะผู้แทนไทยเยือนตูนิเซียปลายเดือนนี้ เพื่อเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างกัน และผลักดันการจัดทำอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน
น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ไทยและปากีสถานได้ร่วมกันจัดตั้งคณะศึกษาร่วมเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำเอฟทีเอไทย-ปากีสถาน โดยการศึกษาจะคำนึงถึงผลประโยชน์ของทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งการประชุมร่วมกันครั้งล่าสุดปากีสถานได้เสนอเรื่องการค้าบริการ การอำนวยความสะดวกทางการค้า 2 ประเทศ โดยชี้ให้เห็นว่าปากีสถานมีนโยบายเปิดเสรีการค้าบริการที่เปิดกว้างกว่าไทย เนื่องจากปากีสถานต้องการดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ โดยสาขาที่มีศักยภาพในการแข่งขันคือโทรคมนาคม การเงินการธนาคาร และการท่องเที่ยว นอกจากนี้ ยังได้แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกทางการค้า โดยเฉพาะด้านศุลกากรที่เป็นมาตรฐานสากล อันจะเอื้อประโยชน์ต่อการค้าของสองประเทศ สำหรับรายงานของคณะศึกษาร่วมจะเสร็จสมบูรณ์พร้อมเสนอกรมได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้
น.ส.ชุติมา กล่าวว่า นายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเดินทางไปเยือนตูนิเซีย ระหว่างวันที่ 22–26 กุมภาพันธ์นี้ และเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย-ตูนิเซีย ครั้งที่ 2 ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ณ เมืองตูนิส ประเทศตูนิเซีย เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและตูนิเซีย พร้อมกับกำหนดเป้าหมายขยายมูลค่าการค้าของทั้ง 2 ประเทศ ให้เพิ่มขึ้นเป็น 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2553 โดยภาครัฐจะสนับสนุนการบุกตลาดตูนิเซีย สำหรับสินค้าอาหาร ชิ้นส่วนยานยนต์ สิ่งทอ ยางและผลิตภัณฑ์ยาง ของใช้ในครัวเรือน อัญมณีและเครื่องประดับ เฟอร์นิเจอร์ และการค้าบริการ เช่น ธุรกิจด้านสุขภาพ เพื่อส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านสุขภาพ และให้ชาวตูนิเซียมารับบริการด้านสุขภาพ ณ ประเทศไทย ซึ่งมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรับบริการในทวีปยุโรป และทั้งสองฝ่ายจะจัดให้มีการหารือและจับคู่ทางธุรกิจ รวมทั้งลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกัน ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างเครือข่ายทางการค้าและการลงทุนและช่วยให้การค้าขยายตัวอย่างเป็นรูปธรรมและสอดคล้องกับเป้าหมายการค้าดังกล่าว
สำหรับการค้าข้าวจะสนับสนุนให้ภาคเอกชนของทั้ง 2 ประเทศ ติดต่อซื้อขายข้าวระหว่างกันโดยตรง เพื่อเพิ่มมูลค่าการนำเข้าข้าวจากไทยให้มากขึ้น ส่วนด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจขอให้ตูนิเซียรับรองมาตรฐานอาหารฮาลาลของไทยให้มีการยอมรับมาตรฐานอาหารฮาลาลของไทยในระดับสากลมากขึ้น นอกจากนี้ ฝ่ายไทยจะผลักดันให้ทั้งสองฝ่ายเร่งสรุปผลการจัดทำอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน และความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนเพื่อผลประโยชน์การร่วมลงทุนระหว่างไทยและตูนิเซีย
น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ไทยและปากีสถานได้ร่วมกันจัดตั้งคณะศึกษาร่วมเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำเอฟทีเอไทย-ปากีสถาน โดยการศึกษาจะคำนึงถึงผลประโยชน์ของทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งการประชุมร่วมกันครั้งล่าสุดปากีสถานได้เสนอเรื่องการค้าบริการ การอำนวยความสะดวกทางการค้า 2 ประเทศ โดยชี้ให้เห็นว่าปากีสถานมีนโยบายเปิดเสรีการค้าบริการที่เปิดกว้างกว่าไทย เนื่องจากปากีสถานต้องการดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ โดยสาขาที่มีศักยภาพในการแข่งขันคือโทรคมนาคม การเงินการธนาคาร และการท่องเที่ยว นอกจากนี้ ยังได้แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกทางการค้า โดยเฉพาะด้านศุลกากรที่เป็นมาตรฐานสากล อันจะเอื้อประโยชน์ต่อการค้าของสองประเทศ สำหรับรายงานของคณะศึกษาร่วมจะเสร็จสมบูรณ์พร้อมเสนอกรมได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้
น.ส.ชุติมา กล่าวว่า นายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเดินทางไปเยือนตูนิเซีย ระหว่างวันที่ 22–26 กุมภาพันธ์นี้ และเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย-ตูนิเซีย ครั้งที่ 2 ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ณ เมืองตูนิส ประเทศตูนิเซีย เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและตูนิเซีย พร้อมกับกำหนดเป้าหมายขยายมูลค่าการค้าของทั้ง 2 ประเทศ ให้เพิ่มขึ้นเป็น 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2553 โดยภาครัฐจะสนับสนุนการบุกตลาดตูนิเซีย สำหรับสินค้าอาหาร ชิ้นส่วนยานยนต์ สิ่งทอ ยางและผลิตภัณฑ์ยาง ของใช้ในครัวเรือน อัญมณีและเครื่องประดับ เฟอร์นิเจอร์ และการค้าบริการ เช่น ธุรกิจด้านสุขภาพ เพื่อส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านสุขภาพ และให้ชาวตูนิเซียมารับบริการด้านสุขภาพ ณ ประเทศไทย ซึ่งมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรับบริการในทวีปยุโรป และทั้งสองฝ่ายจะจัดให้มีการหารือและจับคู่ทางธุรกิจ รวมทั้งลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกัน ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างเครือข่ายทางการค้าและการลงทุนและช่วยให้การค้าขยายตัวอย่างเป็นรูปธรรมและสอดคล้องกับเป้าหมายการค้าดังกล่าว
สำหรับการค้าข้าวจะสนับสนุนให้ภาคเอกชนของทั้ง 2 ประเทศ ติดต่อซื้อขายข้าวระหว่างกันโดยตรง เพื่อเพิ่มมูลค่าการนำเข้าข้าวจากไทยให้มากขึ้น ส่วนด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจขอให้ตูนิเซียรับรองมาตรฐานอาหารฮาลาลของไทยให้มีการยอมรับมาตรฐานอาหารฮาลาลของไทยในระดับสากลมากขึ้น นอกจากนี้ ฝ่ายไทยจะผลักดันให้ทั้งสองฝ่ายเร่งสรุปผลการจัดทำอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน และความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนเพื่อผลประโยชน์การร่วมลงทุนระหว่างไทยและตูนิเซีย