ศูนย์วิจัยกสิกรไทยชี้ความนิยมในการสะสมพระเครื่องปีนี้ยังเฟื่องฟูต่อเนื่อง โดยจะมีเม็ดเงินสะพัดสูงกว่า 22,000 ล้านบาท และมีอัตราขยายตัวเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ10-20 ต่อปี แต่ประเมินว่าแผงพระและศูนย์พระเครื่องในอนาคตจะลดลง เนื่องจากจะมีการหันไปให้เช่าพระผ่านระบบอินเทอร์เน็ตมากขึ้น
บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า ความนิยมในการสะสมพระเครื่องปี 2550 ยังเฟื่องฟูต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2546 แต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้อย่างชัดเจนตั้งแต่ปี 2549 คือ พระเก่าหายากมากขึ้น โดยกระแสความนิยมในพระเครื่องที่สร้างใหม่เปลี่ยนไปจากเดิม โดยผู้สร้างและแผงพระต่าง ๆ พุ่งไปที่พระชุด “จตุคาม-รามเทพ” เป็นส่วนใหญ่ ทำให้แผงพระต่าง ๆ ปรับกลยุทธ์หันมาวางโชว์พระชุด “จตุคาม-รามเทพ” ส่วนพระสร้างใหม่อื่น ๆ ก็แผ่วลงไป ทำให้ธุรกิจพระเครื่องและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องมีเม็ดเงินสะพัดเพิ่มขึ้นประมาณเกือบ 1,000 ล้านบาท ในปี 2549 ต่อเนื่องถึงปี 2550
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าเม็ดเงินในธุรกิจพระเครื่องและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องในปี 2550 จะสูงกว่า 22,000 ล้านบาท และธุรกิจเหล่านี้ยังมีโอกาสเติบโตอย่างต่อเนื่องสวนทางกับภาวะเศรษฐกิจ ต่างจากที่อัตราขยายตัวของธุรกิจนี้จะเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับภาวะเศรษฐกิจ โดยคาดว่าธุรกิจพระเครื่องจะยังมีอัตราขยายตัวเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ10-20 ต่อปี ขณะที่ผู้ที่อยู่ในวงการพระเครื่องไม่ว่าจะเป็นกลุ่มนิยมพระเก่าหรือพระใหม่มีอยู่ประมาณ 5 ล้านคน รวมทั้งมีธุรกิจที่เกี่ยวข้องมากมาย ทั้งธุรกิจสร้างพระ ธุรกิจแผงพระ หรือศูนย์พระเครื่อง ธุรกิจโฆษณา ธุรกิจรับจำนำพระเครื่อง และธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ธุรกิจหนังสือพระ ธุรกิจรับจ้างอัดกรอบพระหรือเลี่ยมพระ
ทั้งนี้ ธุรกิจแผงพระปัจจุบันแผงพระและศูนย์พระเครื่องในประเทศมีอยู่ถึงกว่า 5,000 แผงทั่วประเทศ โดยอยู่ในกรุงเทพฯ กว่า 3,000 แผง ทั้งนี้ เป็นแหล่งที่เป็นที่รู้จัก ได้แก่ ศูนย์พระเครื่องที่ท่าพระจันทร์ วัดราชนัดดา สวนจตุจักร ศูนย์พระเครื่องที่เดอะมอลล์ ท่าพระ เดอะมอลล์ บางกะปิ ห้างน้อมจิตต์ สาขาบางกะปิ ห้างบางลำภูสรรพสินค้า สาขางามวงศ์วาน แต่ในอนาคตคาดว่าแผงพระจะมีแนวโน้มลดลง โดยจะมีการเข้าไปให้เช่าพระเครื่องกันในอินเทอร์เน็ตมากขึ้น เนื่องจากการพัฒนากล้องดิจิตอลให้มีความคมชัดได้เกือบเท่ากับกล้องฟิล์ม วงการพระเครื่องก็คงจะพัฒนากันมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
สำหรับประเด็นที่น่าสนใจคือการสร้างพระเครื่องชุด “จตุคาม-รามเทพ” อย่างต่อเนื่องอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของวงการพระเครื่องในประเทศไทย โดยเฉพาะแนวคิดการจำกัดจำนวนการสร้างพระเครื่อง จากการควบคุมการอนุญาตจัดพิธีบวงสรวง และจำกัดจำนวนการสร้างพระเครื่องในแต่ละครั้ง ซึ่งถ้าปฏิบัติจริงก็จะเกิดผลกระทบในวงกว้าง ทำให้ต้นทุนของผู้ผลิตพระเครื่องมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อเนื่องให้ราคาเช่าบูชาในตลาดพระเครื่องปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย
บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า ความนิยมในการสะสมพระเครื่องปี 2550 ยังเฟื่องฟูต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2546 แต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้อย่างชัดเจนตั้งแต่ปี 2549 คือ พระเก่าหายากมากขึ้น โดยกระแสความนิยมในพระเครื่องที่สร้างใหม่เปลี่ยนไปจากเดิม โดยผู้สร้างและแผงพระต่าง ๆ พุ่งไปที่พระชุด “จตุคาม-รามเทพ” เป็นส่วนใหญ่ ทำให้แผงพระต่าง ๆ ปรับกลยุทธ์หันมาวางโชว์พระชุด “จตุคาม-รามเทพ” ส่วนพระสร้างใหม่อื่น ๆ ก็แผ่วลงไป ทำให้ธุรกิจพระเครื่องและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องมีเม็ดเงินสะพัดเพิ่มขึ้นประมาณเกือบ 1,000 ล้านบาท ในปี 2549 ต่อเนื่องถึงปี 2550
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าเม็ดเงินในธุรกิจพระเครื่องและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องในปี 2550 จะสูงกว่า 22,000 ล้านบาท และธุรกิจเหล่านี้ยังมีโอกาสเติบโตอย่างต่อเนื่องสวนทางกับภาวะเศรษฐกิจ ต่างจากที่อัตราขยายตัวของธุรกิจนี้จะเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับภาวะเศรษฐกิจ โดยคาดว่าธุรกิจพระเครื่องจะยังมีอัตราขยายตัวเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ10-20 ต่อปี ขณะที่ผู้ที่อยู่ในวงการพระเครื่องไม่ว่าจะเป็นกลุ่มนิยมพระเก่าหรือพระใหม่มีอยู่ประมาณ 5 ล้านคน รวมทั้งมีธุรกิจที่เกี่ยวข้องมากมาย ทั้งธุรกิจสร้างพระ ธุรกิจแผงพระ หรือศูนย์พระเครื่อง ธุรกิจโฆษณา ธุรกิจรับจำนำพระเครื่อง และธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ธุรกิจหนังสือพระ ธุรกิจรับจ้างอัดกรอบพระหรือเลี่ยมพระ
ทั้งนี้ ธุรกิจแผงพระปัจจุบันแผงพระและศูนย์พระเครื่องในประเทศมีอยู่ถึงกว่า 5,000 แผงทั่วประเทศ โดยอยู่ในกรุงเทพฯ กว่า 3,000 แผง ทั้งนี้ เป็นแหล่งที่เป็นที่รู้จัก ได้แก่ ศูนย์พระเครื่องที่ท่าพระจันทร์ วัดราชนัดดา สวนจตุจักร ศูนย์พระเครื่องที่เดอะมอลล์ ท่าพระ เดอะมอลล์ บางกะปิ ห้างน้อมจิตต์ สาขาบางกะปิ ห้างบางลำภูสรรพสินค้า สาขางามวงศ์วาน แต่ในอนาคตคาดว่าแผงพระจะมีแนวโน้มลดลง โดยจะมีการเข้าไปให้เช่าพระเครื่องกันในอินเทอร์เน็ตมากขึ้น เนื่องจากการพัฒนากล้องดิจิตอลให้มีความคมชัดได้เกือบเท่ากับกล้องฟิล์ม วงการพระเครื่องก็คงจะพัฒนากันมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
สำหรับประเด็นที่น่าสนใจคือการสร้างพระเครื่องชุด “จตุคาม-รามเทพ” อย่างต่อเนื่องอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของวงการพระเครื่องในประเทศไทย โดยเฉพาะแนวคิดการจำกัดจำนวนการสร้างพระเครื่อง จากการควบคุมการอนุญาตจัดพิธีบวงสรวง และจำกัดจำนวนการสร้างพระเครื่องในแต่ละครั้ง ซึ่งถ้าปฏิบัติจริงก็จะเกิดผลกระทบในวงกว้าง ทำให้ต้นทุนของผู้ผลิตพระเครื่องมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อเนื่องให้ราคาเช่าบูชาในตลาดพระเครื่องปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย