รัฐบาลเตรียมหาพื้นที่รองรับการก่อสร้างอุตสาหกรรมใหม่ คาด นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดจะสร้างโรงงานใหม่ได้เพียง 5-10 ปีเท่านั้น เล็งพื้นที่เซาเทิร์นซีบอร์ดเหมาะสม ด้าน รมว.พลังงาน ย้ำ ไทยควรต้องมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในอนาคต เพื่อรับมือปัญหาภาวะโลกร้อน ด้านนักวิชาการเร่งรัฐประกาศให้มาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษ
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง ENERGY ENVIRONMENT AND ECONOMICS เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยกล่าวถึงเรื่องมลพิษในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ว่า ได้หารือเบื้องต้นกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ว่า ควรจะต้องพิจารณาให้ชัดเจนว่ามลพิษคืออะไร และโรงงานใดก่อมลพิษก็ควรจะแก้ไขที่ปัญหาที่จุดนั้น และจะต้องกำหนดมาตรฐานให้ชัดเจนว่าจะใช้มาตรฐานใดเป็นตัวกำหนด โดยควรกำหนดให้เสร็จสิ้นภายใน 1-2 เดือนนี้ เพื่อที่จะได้นำมาเป็นแผนกำหนดนโยบายด้านการก่อสร้างโรงงานด้านปิโตรเคมีระยะที่ 3 ในเครือบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในพื้นที่ดังกล่าว
“สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ต้องประกาศให้ชัดเจนว่าสารอินทรีย์ระเหยก่อมะเร็ง (วีโอซี) ในมาบตาพุดคือตัวใด โรงงานใดปล่อยเกินค่ามาตรฐานก็ควรให้โรงงานนั้นแก้ไขโดยเร็ว และเร่งกำหนดมาตรฐานใหม่ออกมา” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าว
นายปิยสวัสดิ์ กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม แม้จะกำหนดมาตรฐานใหม่ออกมา ก็คาดว่า นิคมฯ มาบตาพุดจะรองรับการก่อสร้างโรงงานใหม่ๆ ได้เพียง 5-10 ปีเท่านั้น ดังนั้น รัฐบาลจะต้องเร่งหาพื้นที่ใหม่สำหรับการรองรับการก่อสร้างโรงงานใหม่ในอนาคต ซึ่งอาจจะเป็นพื้นที่ในโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลในภาคใต้ (เซาเทิร์นซีบอร์ด) ในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยในวันพรุ่งนี้ (23 ม.ค.) รัฐบาลจะหารือเรื่องนี้ในการประชุมที่มี นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน เพราะการเตรียมพื้นที่ใหม่จะต้องศึกษาเรื่องความพร้อมทั้งด้านสาธารณูปโภค สิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการจัดหาโรงไฟฟ้าใหม่เพื่อป้อนแก่พื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
นายปิยสวัสดิ์ กล่าวด้วยว่า ในด้านนโยบายพลังงานได้พยายามวางแนวทางในการควบคุมการก่อมลพิษจากโรงไฟฟ้ามาเป็นเวลานานแล้ว เช่น มาตรฐานการปล่อยมลพิษของโรงไฟฟ้าต่างๆ โดยพิจารณาควบคู่ไประหว่างการใช้พลังงานสิ่งแวดล้อม และความคุ้มค่าเชิงเศรษฐกิจ และทุกฝ่ายต้องใช้สติมากกว่าการใช้อารมณ์ในการร่วมกันวางแผนพัฒนาประเทศ ซึ่งเห็นว่าเพื่อกระจายเชื้อเพลิงด้านการสร้างโรงไฟฟ้าก็ควรจะมีโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มขึ้นในไทย เพราะปัจจุบันเทคโนโลยีก็สามารถป้องกันการก่อมลพิษได้ ในขณะเดียวกัน หากคำนึงถึงเรื่องการป้องกันปัญหาโลกร้อนการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้ ซึ่งเมืองไทยก็ควรจะเตรียมคนเตรียมพื้นที่ในการก่อสร้างในอนาคต
ด้าน นายเดชรัตน์ สุขกำเนิด อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า จากการสำรวจของกรมควบคุมมลพิษ พบว่า มีสารระเหยก่อมะเร็งเกินมาตรฐานในมาบตาพุดถึง 19 ตัว เช่น เบนซีน โทลูอีน ดังนั้น จึงเห็นว่า รัฐบาลควรประกาศให้มาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษแล้วกำหนดมาตรฐานของสารแต่ละประเภทให้ชัดเจน ซึ่งไม่ได้หมายความว่า ไม่สามารถก่อสร้างโรงงานใหม่ได้ เพียงแต่ต้องเจรจาให้โรงงานเก่าแก้เรื่องการปล่อยมลพิษเกินมาตรฐานให้ได้ และให้โรงงานใหม่ปล่อยมลพิษตามมาตรฐานที่กำหนด ในขณะเดียวกัน หากรัฐบาลจะหาพื้นที่ใหม่สร้างโรงงานในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นเซาเทิร์นซีบอร์ด หรือพื้นที่ใดก็ตามก็ต้องศึกษาศักยภาพและกำหนดมาตรฐานมลพิษให้เหมาะสม เพื่อป้องกันปัญหาซ้ำรอยเหมือนที่มาบตาพุด รวมทั้งต้องกำหนดเขตแนวกันชน (บัฟเฟอร์โซน) ระหว่างโรงงานและชุมชนให้ชัดเจน เพราะต้องยอมรับว่าปัญหามาบตาพุดที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากการขยายโรงงานในพื้นที่แนวกันชน จนทำให้โรงงานติดกับชุมชนและทำให้ชาวบ้านได้รับสารมลพิษในที่สุด
ด้าน นายพรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในวันพรุ่งนี้กระทรวงได้นัด ปตท.และตัวแทนกระทรวงทรัพยากรฯ หารือถึงเรื่องมาตรฐานสิ่งแวดล้อมในมาบตาพุด เพราะเรื่องนี้เกี่ยวพันไปถึงโครงการลงทุนใหม่ของ ปตท.
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง ENERGY ENVIRONMENT AND ECONOMICS เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยกล่าวถึงเรื่องมลพิษในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ว่า ได้หารือเบื้องต้นกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ว่า ควรจะต้องพิจารณาให้ชัดเจนว่ามลพิษคืออะไร และโรงงานใดก่อมลพิษก็ควรจะแก้ไขที่ปัญหาที่จุดนั้น และจะต้องกำหนดมาตรฐานให้ชัดเจนว่าจะใช้มาตรฐานใดเป็นตัวกำหนด โดยควรกำหนดให้เสร็จสิ้นภายใน 1-2 เดือนนี้ เพื่อที่จะได้นำมาเป็นแผนกำหนดนโยบายด้านการก่อสร้างโรงงานด้านปิโตรเคมีระยะที่ 3 ในเครือบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในพื้นที่ดังกล่าว
“สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ต้องประกาศให้ชัดเจนว่าสารอินทรีย์ระเหยก่อมะเร็ง (วีโอซี) ในมาบตาพุดคือตัวใด โรงงานใดปล่อยเกินค่ามาตรฐานก็ควรให้โรงงานนั้นแก้ไขโดยเร็ว และเร่งกำหนดมาตรฐานใหม่ออกมา” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าว
นายปิยสวัสดิ์ กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม แม้จะกำหนดมาตรฐานใหม่ออกมา ก็คาดว่า นิคมฯ มาบตาพุดจะรองรับการก่อสร้างโรงงานใหม่ๆ ได้เพียง 5-10 ปีเท่านั้น ดังนั้น รัฐบาลจะต้องเร่งหาพื้นที่ใหม่สำหรับการรองรับการก่อสร้างโรงงานใหม่ในอนาคต ซึ่งอาจจะเป็นพื้นที่ในโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลในภาคใต้ (เซาเทิร์นซีบอร์ด) ในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยในวันพรุ่งนี้ (23 ม.ค.) รัฐบาลจะหารือเรื่องนี้ในการประชุมที่มี นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน เพราะการเตรียมพื้นที่ใหม่จะต้องศึกษาเรื่องความพร้อมทั้งด้านสาธารณูปโภค สิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการจัดหาโรงไฟฟ้าใหม่เพื่อป้อนแก่พื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
นายปิยสวัสดิ์ กล่าวด้วยว่า ในด้านนโยบายพลังงานได้พยายามวางแนวทางในการควบคุมการก่อมลพิษจากโรงไฟฟ้ามาเป็นเวลานานแล้ว เช่น มาตรฐานการปล่อยมลพิษของโรงไฟฟ้าต่างๆ โดยพิจารณาควบคู่ไประหว่างการใช้พลังงานสิ่งแวดล้อม และความคุ้มค่าเชิงเศรษฐกิจ และทุกฝ่ายต้องใช้สติมากกว่าการใช้อารมณ์ในการร่วมกันวางแผนพัฒนาประเทศ ซึ่งเห็นว่าเพื่อกระจายเชื้อเพลิงด้านการสร้างโรงไฟฟ้าก็ควรจะมีโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มขึ้นในไทย เพราะปัจจุบันเทคโนโลยีก็สามารถป้องกันการก่อมลพิษได้ ในขณะเดียวกัน หากคำนึงถึงเรื่องการป้องกันปัญหาโลกร้อนการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้ ซึ่งเมืองไทยก็ควรจะเตรียมคนเตรียมพื้นที่ในการก่อสร้างในอนาคต
ด้าน นายเดชรัตน์ สุขกำเนิด อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า จากการสำรวจของกรมควบคุมมลพิษ พบว่า มีสารระเหยก่อมะเร็งเกินมาตรฐานในมาบตาพุดถึง 19 ตัว เช่น เบนซีน โทลูอีน ดังนั้น จึงเห็นว่า รัฐบาลควรประกาศให้มาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษแล้วกำหนดมาตรฐานของสารแต่ละประเภทให้ชัดเจน ซึ่งไม่ได้หมายความว่า ไม่สามารถก่อสร้างโรงงานใหม่ได้ เพียงแต่ต้องเจรจาให้โรงงานเก่าแก้เรื่องการปล่อยมลพิษเกินมาตรฐานให้ได้ และให้โรงงานใหม่ปล่อยมลพิษตามมาตรฐานที่กำหนด ในขณะเดียวกัน หากรัฐบาลจะหาพื้นที่ใหม่สร้างโรงงานในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นเซาเทิร์นซีบอร์ด หรือพื้นที่ใดก็ตามก็ต้องศึกษาศักยภาพและกำหนดมาตรฐานมลพิษให้เหมาะสม เพื่อป้องกันปัญหาซ้ำรอยเหมือนที่มาบตาพุด รวมทั้งต้องกำหนดเขตแนวกันชน (บัฟเฟอร์โซน) ระหว่างโรงงานและชุมชนให้ชัดเจน เพราะต้องยอมรับว่าปัญหามาบตาพุดที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากการขยายโรงงานในพื้นที่แนวกันชน จนทำให้โรงงานติดกับชุมชนและทำให้ชาวบ้านได้รับสารมลพิษในที่สุด
ด้าน นายพรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในวันพรุ่งนี้กระทรวงได้นัด ปตท.และตัวแทนกระทรวงทรัพยากรฯ หารือถึงเรื่องมาตรฐานสิ่งแวดล้อมในมาบตาพุด เพราะเรื่องนี้เกี่ยวพันไปถึงโครงการลงทุนใหม่ของ ปตท.