ผู้ว่าททท.คนใหม่ประกาศตอกฝาโลงสโลแกน “ไทยแลนด์ อันฟอร์เก็ตเทเบิ้ล” พร้อมโลโก้ หันงัด “อะเมซิ่งไทยแลนด์” กลับมาใช้ต่อ ประเดิมเปิดตัวในเวทีATF ต่อด้วยงาน ITB พร้อมปรับงบและขนาดงานบางกอกฟิล์ม ระบุฟุ่มเฟื่อยเกินเหตุ ส่วนภาระหน้าที่หลังรับตำแหน่ง เล็งดันไทยขึ้น 1 ใน 3 ประเทศผู้นำด้านการท่องเที่ยวในปี 2553
นางพรศิริ มโนหาญ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) เปิดเผยภายหลังการเซ็นสัญญาว่าจ้างดำรงตำแหน่งผู้ว่าการททท. ว่า แผนงานเร่งด่วนสำหรับตลาดต่างประเทศที่จะดำเนินการนับจากนี้ไป คือการสร้างแบรนด์ประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ดังนั้นจึงจะนำสโลแกน “อะเมซิ่ง ไทยแลนด์” กลับมาใช้อีกครั้ง ในช่วง 9 เดือนที่เหลือของปีงบประมาณ2550(ม.ค.-ก.ย.50) โดยจะเร่งจัดทำโลโก้ใหม่ เพื่อจะให้ทันนำสโลแกนและโลโก้ใหม่ไปประกาศให้ผู้นำอาเซียได้รับรู้ในงาน “ อาเซียนทัวริสซึ่ม ฟอร์รัม”(ATF) ประเทศสิงค์โปร์ ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 28 ม.ค.-2 ก.พ.50 จากนั้นจะเดินสายโปรโมตต่อที่งาน ITB กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน ในเดือนมีนาคมศกนี้
ทั้งนี้ในส่วนของสโลแกน “ไทยแลนด์ อันฟอร์เก็ตเทเบิ้ล” และโลโก้ใหม่ที่ได้จัดทำขึ้นมาแล้วนั้น จะไม่เอ่ยถึง ซึ่งในที่สุดก็จะถูกลืมไปเอง ส่วนโบว์ชัวร์ หรือสิ่งพิมพ์โฆษณาใดของ ททท.ที่ได้พิมพ์โลโก้และสโลแกน ไทยแลนด์ อันฟอร์เก็ตเทเบิ้ลไปแล้ว ก็ขอให้หยุดไว้แค่นั้น ไม่พิมพ์เพิ่ม
“ เราต้องเร่งสร้างแบรนด์ และเห็นว่าการใช้อะเมซิ่งไทยแลนด์ เป็นการตอกย้ำแบรนด์ประเทศไทยได้ดีที่สุดในภาวะที่งบประมาณเรามีจำกัด และ เหลือเวลาอีกเพียง 9 เดือนก็จะจบปีงบประมาณแล้ว ซึ่งเมื่อใช้ไปได้ 8 เดือน จะทำรีเสิร์ตกับบริษัททัวร์ในต่างประเทศและสื่อ เพื่อสอบถามความพึงพอใจ ก่อนตัดสินใจว่าในปีงบประมาณ 25551 จะใช้สโลแกนนี้ต่อหรือไม่ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้สำรวจจากสื่อต่างประเทศและบริษัททัวร์ ในต่างประเทศแล้วพบว่าเขายอมรับสโลแกนอะเมซิ่งไทยแลนด์ มากกว่าสโลแกนอื่นๆของ ททท. เราจึงตัดสินใจนำกลับมาใช้อีกครั้งหนึ่ง”
นอกจากนั้นในส่วนของการจัดงานบางกอกฟิล์มปีนี้ จะลดขนาดลงตามความเหมาะสม และตัดลดงบจัดงานเหลือ ประมาณ 130 ล้านบาท จากเดิมที่ใช้ประมาณ 220 ล้านบาท ใช้งบจัดงานประมาณ โดยปีนี้จะไม่เชิญดารานักแสดงและบุคคลชั้นนำระดับโลกเข้ามาร่วมงาน เพราะถือเป็นการสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ และจะช่วยประหยัดงบจัดงานได้ แต่หากนักแสดงชั้นนำและบุคคลมีชื่อเสียงระดับโลกท่านใดสนใจจะมาร่วมงานก็ยินดีต้อนรับ และปีนี้ยังดึงสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว(สพท.)เข้ามาเพิ่มบทบาทในการจัดงานมากขึ้น เพราะ สพท.มีความชำนาญด้านธุรกิจภาพยนตร์ และฟิล์มโลเกชั่น ส่วน ททท.จะทำงานด้านการตลาด เพียงอย่างเดียว โดยปีนี้กำหนดจัดงาน 19-29 ก.ค. จากทุกปีที่จะจัดงานในปลายเดือนม.ค.หรือ ก.พ.
นางพรศิริ กล่าวอีกว่า แผนการทำงานในช่วงรับตำแหน่งนับจากนี้ไปนั้น จะเร่งพัฒนาองค์กรให้ก้าวสู่ความเป็นผู้นำด้านการท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้ประเทศไทยติดอันดับ 1 ใน 3 ผู้นำด้านการท่องเที่ยวในเอเชียภายในปี 2553 และมีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศในปีดังกล่าวที่ 7.3 แสนล้านบาท หรือเมื่อรวมกับตลาดนักท่องเที่ยวไทยแล้วจะมีเงินหมุนเวียนจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวถึง 1.1 ล้านล้านบาท
อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์ที่จะให้ถึงเป้าหมายดังกล่าวข้างต้น จะใช้โอกาสจากการที่เป็นกรรมการในสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค(PATA) ซึ่งมีสมาชิกกว่า 4,000 ราย เปิดตัวประเทศไทยและเชิญชวนให้เขานำนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวประเทศไทย
นางพรศิริ มโนหาญ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) เปิดเผยภายหลังการเซ็นสัญญาว่าจ้างดำรงตำแหน่งผู้ว่าการททท. ว่า แผนงานเร่งด่วนสำหรับตลาดต่างประเทศที่จะดำเนินการนับจากนี้ไป คือการสร้างแบรนด์ประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ดังนั้นจึงจะนำสโลแกน “อะเมซิ่ง ไทยแลนด์” กลับมาใช้อีกครั้ง ในช่วง 9 เดือนที่เหลือของปีงบประมาณ2550(ม.ค.-ก.ย.50) โดยจะเร่งจัดทำโลโก้ใหม่ เพื่อจะให้ทันนำสโลแกนและโลโก้ใหม่ไปประกาศให้ผู้นำอาเซียได้รับรู้ในงาน “ อาเซียนทัวริสซึ่ม ฟอร์รัม”(ATF) ประเทศสิงค์โปร์ ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 28 ม.ค.-2 ก.พ.50 จากนั้นจะเดินสายโปรโมตต่อที่งาน ITB กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน ในเดือนมีนาคมศกนี้
ทั้งนี้ในส่วนของสโลแกน “ไทยแลนด์ อันฟอร์เก็ตเทเบิ้ล” และโลโก้ใหม่ที่ได้จัดทำขึ้นมาแล้วนั้น จะไม่เอ่ยถึง ซึ่งในที่สุดก็จะถูกลืมไปเอง ส่วนโบว์ชัวร์ หรือสิ่งพิมพ์โฆษณาใดของ ททท.ที่ได้พิมพ์โลโก้และสโลแกน ไทยแลนด์ อันฟอร์เก็ตเทเบิ้ลไปแล้ว ก็ขอให้หยุดไว้แค่นั้น ไม่พิมพ์เพิ่ม
“ เราต้องเร่งสร้างแบรนด์ และเห็นว่าการใช้อะเมซิ่งไทยแลนด์ เป็นการตอกย้ำแบรนด์ประเทศไทยได้ดีที่สุดในภาวะที่งบประมาณเรามีจำกัด และ เหลือเวลาอีกเพียง 9 เดือนก็จะจบปีงบประมาณแล้ว ซึ่งเมื่อใช้ไปได้ 8 เดือน จะทำรีเสิร์ตกับบริษัททัวร์ในต่างประเทศและสื่อ เพื่อสอบถามความพึงพอใจ ก่อนตัดสินใจว่าในปีงบประมาณ 25551 จะใช้สโลแกนนี้ต่อหรือไม่ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้สำรวจจากสื่อต่างประเทศและบริษัททัวร์ ในต่างประเทศแล้วพบว่าเขายอมรับสโลแกนอะเมซิ่งไทยแลนด์ มากกว่าสโลแกนอื่นๆของ ททท. เราจึงตัดสินใจนำกลับมาใช้อีกครั้งหนึ่ง”
นอกจากนั้นในส่วนของการจัดงานบางกอกฟิล์มปีนี้ จะลดขนาดลงตามความเหมาะสม และตัดลดงบจัดงานเหลือ ประมาณ 130 ล้านบาท จากเดิมที่ใช้ประมาณ 220 ล้านบาท ใช้งบจัดงานประมาณ โดยปีนี้จะไม่เชิญดารานักแสดงและบุคคลชั้นนำระดับโลกเข้ามาร่วมงาน เพราะถือเป็นการสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ และจะช่วยประหยัดงบจัดงานได้ แต่หากนักแสดงชั้นนำและบุคคลมีชื่อเสียงระดับโลกท่านใดสนใจจะมาร่วมงานก็ยินดีต้อนรับ และปีนี้ยังดึงสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว(สพท.)เข้ามาเพิ่มบทบาทในการจัดงานมากขึ้น เพราะ สพท.มีความชำนาญด้านธุรกิจภาพยนตร์ และฟิล์มโลเกชั่น ส่วน ททท.จะทำงานด้านการตลาด เพียงอย่างเดียว โดยปีนี้กำหนดจัดงาน 19-29 ก.ค. จากทุกปีที่จะจัดงานในปลายเดือนม.ค.หรือ ก.พ.
นางพรศิริ กล่าวอีกว่า แผนการทำงานในช่วงรับตำแหน่งนับจากนี้ไปนั้น จะเร่งพัฒนาองค์กรให้ก้าวสู่ความเป็นผู้นำด้านการท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้ประเทศไทยติดอันดับ 1 ใน 3 ผู้นำด้านการท่องเที่ยวในเอเชียภายในปี 2553 และมีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศในปีดังกล่าวที่ 7.3 แสนล้านบาท หรือเมื่อรวมกับตลาดนักท่องเที่ยวไทยแล้วจะมีเงินหมุนเวียนจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวถึง 1.1 ล้านล้านบาท
อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์ที่จะให้ถึงเป้าหมายดังกล่าวข้างต้น จะใช้โอกาสจากการที่เป็นกรรมการในสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค(PATA) ซึ่งมีสมาชิกกว่า 4,000 ราย เปิดตัวประเทศไทยและเชิญชวนให้เขานำนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวประเทศไทย