xs
xsm
sm
md
lg

โชห่วยไทยเผชิญศึกไม่สิ้นซาก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

การศึกษาในหัวข้อ “ผลกระทบจากการเติบโตของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ที่มีต่อร้านค้าปลีกดั้งเดิมในเขตกรุงเทพมหานคร” ครั้งนี้จัดทำขึ้นโดย ศูนย์วิจัยพัฒนาธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์สากลและศูนย์วิจัยพฤติกรรมผู้บริโภค คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. เพื่อศึกษาผลกระทบของร้านค้าปลีกสมัยใหม่โดยเฉพาะห้างไฮเปอร์มาร์เก็ตและร้านสะดวกซื้อต่อการปิดตัวของร้านค้าปลีกดั้งเดิม

2. ศึกษาถึงผลกระทบสำหรับร้านค้าปลีกดั้งเดิมที่ยังดำเนินกิจการอยู่และได้รับผลกระทบต่อยอดขายหรือลูกค้ามาก-น้อยเพียงใด รวมถึงร้านค้าปลีกสมัยใหม่ประเภทใดที่ส่งผลกระทบต่อร้านค้าปลีกดั้งเดิมมากที่สุด

3. เพื่อศึกษาว่าร้านค้าปลีกดั้งเดิมที่ได้รับผลกระทบมีการปรับตัวหรือไม่ อย่างไร ผลจากการปรับตัวเป็นอย่างไร รวมทั้งนโยบายเพื่อช่วยเหลือร้านค้าปลีกดั้งเดิมของรัฐบาลควรมีหรือไม่ อย่างไร

โดยรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม รวมทั้งสิ้น 400 ร้านค้า โดยใช้แบบสอบถามจำนวน 400 ชุด ผู้ตอบแบบสอบถามเป็น เพศหญิง 59.50% และเพศชาย 40.50% ระดับการศึกษาของผู้ตอบแบบสอบถาม มีระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 26.25% ระดับปริญญาตรี 25.25% และระดับปวช./ปวส. 23.5%

มีจำนวนผู้ที่ทำหน้าที่ขายสินค้าในร้าน 2 คน 37.00% มากกว่า 3 คน 32.25% และจำนวน 3 คน 24.75% ตามลำดับ ช่วงเวลาให้บริการของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม เปิดหลัง 06.00 น. เปิดหลัง 20.00 น. 29.50%ช่วงเวลาเปิดก่อน 06.00 น. ปิดหลัง 20.00 น. 28.75% และเปิดหลัง 06.00 น. ปิดก่อนเวลา 20.00 น. 22.5%

ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ คิดว่าร้านค้าปลีกสมัยใหม่ประเภทซูเปอร์เซ็นเตอร์ หรือดิสเคานท์สโตร์ส่งผลกระทบต่อร้านค้าปลีกดั้งเดิมมากที่สุด 34.25% รองลงมาคือ ร้านสะดวกซื้อ 26.00% และซูเปอร์มาร์เก็ต 14%

การเติบโตของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ มีผลต่อการปรับปรุงการดำเนินงานของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม หลัก ๆ 4 ด้านคือ 1. ทางด้านแผนการดำเนินงานในอนาคต 2. ทางด้านแผนกลยุทธ์ 3. ทางด้านการการตลาด 4. ความต้องการความช่วยเหลือของภาครัฐ

โดยจำแนกผลกระทบในแต่ละด้าน ดังนี้
1. ทางด้านแผนการดำเนินงานในอนาคต
การเติบโตของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ มีผลต่อการปรับปรุงการดำเนินงานของร้านค้าปลีกทางด้านแผนการดำเนินงานในอนาคต โดยส่วนใหญ่ยังคงดำเนินกิจการต่อไปมากที่สุดคิดเป็น 60.25% แต่บางส่วน 19.25% ต้องการเลิกกิจการ และ 15.5% มีการเปลี่ยนแปลงกิจการไปทำอย่างอื่น

2. ทางด้านแผนกลยุทธ์
การเติบโตของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ที่มีต่อร้านค้าปลีกดั้งเดิม ทางด้านการใช้แผนกลยุทธ์ ในภาพรวมพบว่ามีผลต่อการดำเนินงานของร้านค้าปลีกดั้งเดิม และมีการนำใช้กลยุทธ์ ถึง 63.0% และ ไม่นำกลยุทธ์มาใช้ 37.0% และหากจำแนกแผนการปรับกลยุทธ์ของร้านค้าปลีกดั้งเดิม ทางด้านราคา สินค้า การจัดการร้าน การให้บริการลูกค้า การจัดการสินค้าคงคลัง การจัดซื้อสินค้าเข้าร้าน

ประเด็นสุดท้ายคือการบริหารพนักงาน พบว่า การเติบโตของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ มีผลต่อการปรับปรุงการดำเนินงานทางด้านแผนกลยุทธ์ ด้านตัวสินค้าคิดเป็น 53.5% ด้านการบริหารพนักงาน 29.5% และด้านสินค้าคงคลัง 25.8%

การเติบโตของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ ไม่มีผลต่อการปรับปรุงการดำเนินงานทางด้านแผนกลยุทธ์ ของร้านค้าปลีกดังนี้
1. การปรับกลยุทธ์ด้านราคา ผู้ค้าปลีกทำการปรับปรุงกลยุทธ์ด้านราคาคิดเป็น 47.5% และไม่ปรับ 52.5%

2. การปรับกลยุทธ์ด้านการจัดการร้าน ผู้ค้าปลีกทำการปรับปรุงกลยุทธ์ด้านการจัดการร้านคิดเป็น 43.8% และไม่ปรับ 56.2%

3. การปรับกลยุทธ์ด้านการให้บริการลูกค้า ผู้ค้าปลีกทำการปรับปรุงกลยุทธ์ด้านการให้บริการลูกค้า คิดเป็นร้อยละ 29.8 และไม่ปรับร้อยละ 70.2

4. การปรับกลยุทธ์ด้านการจัดซื้อสินค้าเข้าร้าน ผู้ค้าปลีกทำการปรับปรุงกลยุทธ์ด้านการจัดซื้อสินค้าเข้าร้าน คิดเป็น 48.2% และไม่ปรับ 51.8%

3. ทางด้านการตลาด
การเติบโตของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ มีผลต่อการปรับปรุงการดำเนินงานของร้านค้าปลีกทางด้านการตลาด โดยจำแนกผลกระทบที่ทำให้เกิดการปรับปรุงกิจกรรมทางการตลาด ได้แก่ ด้านตัวสินค้า ด้านการกำหนดราคา ด้านองค์ประกอบร้านค้า และ ทางด้านการส่งเสริมการตลาด และจากการสำรวจพบว่า

การเติบโตของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ มีผลต่อการปรับปรุงการดำเนินงานทางด้านแผนกิจกรรมทางการตลาดของร้านค้าปลีก ทางด้านการปรับด้านตัวสินค้าเท่านั้น โดยผู้ค้าปลีกทำการปรับปรุงตัวสินค้า โดยให้ความสำคัญกับการเลือกสินค้าให้ตรงกับความต้องการของผู้ซื้อ เช่น ประเภทสินค้า ยี่ห้อ และขนาด มากที่สุด รองลงมา เป็นการจัดหาสินค้าให้เลือกมากขึ้น และน้อยที่สุดคือ หมุนเวียนสินค้าใหม่ให้เลือกอยู่สม่ำเสมอ

ส่วนการเติบโตของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ ไม่มีผลต่อการปรับปรุงการดำเนินงานทางด้านกิจกรรมทางการตลาด ของร้านค้าปลีกดังนี้
1. การปรับปรุงด้านการกำหนดราคาผู้ค้าปลีกทำการปรับปรุงการกำหนดราคา โดยให้ความสำคัญ ทางด้านการขายเชื่อมากที่สุด รองลงมาได้แก่ การตั้งราคาให้ต่ำกว่าร้านค้าทั่วไป และสุดท้ายคือการตั้งราคาเท่ากับร้านค้าทั่วไป

2. การปรับปรุงด้านองค์ประกอบของร้านค้า ผู้ค้าปลีกทำการปรับปรุงองค์ประกอบของร้านค้า โดยให้ความสำคัญ การตกแต่งภายในร้านใหม่ มากที่สุด รองลงมาได้แก่ การขยายขนาดพื้นที่ร้าน และสุดท้ายคือการย้ายที่ตั้งร้าน

3. การปรับปรุงด้านการส่งเสริมการตลาด ผู้ค้าปลีกทำการการส่งเสริมการตลาด โดยให้ความสำคัญได้แก่ การให้ส่วนลดแก่ลูกค้ามากขึ้น มากที่สุด รองลงมาได้แก่ การลดราคาสินค้า และสุดท้ายคือการประชาสัมพันธ์ให้ร้านค้าเป็นที่รู้จักมากขึ้น

4. ความต้องการความช่วยเหลือของภาครัฐ
การเติบโตของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ มีผลต่อความต้องการความช่วยเหลือของภาครัฐ ทั้ง 2 ประเด็น คือ ความต้องการความช่วยเหลือของภาครัฐทางด้านจำกัดการขยายสาขาของห้างขนาดใหญ่ และจำกัดทำเลที่ตั้งของห้างขนาดใหญ่

หากผู้ประกอบการร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมต้องการประสบความสำเร็จควรดำเนินการดังนี้คือ
1. ปรับปรุงการให้บริการในด้านต่างๆ คือ ด้านสินค้า ราคา สถานที่ การจัดวางสินค้า การบริการ การมีมนุษย์สัมพันธ์กับลูกค้า และด้านการโฆษณา

2. ร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม ควรปรับปรุงร้านให้มีความทันสมัย

3. ลดค่าใช้จ่ายในด้านสำนักงานให้มากที่สุด

4. นำกลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสมกับสถานการณ์มาใช้ ให้เหมาะกับสภาพที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เช่น ไม่ควรเก็บสินค้าไว้นานซึ่งอาจทำให้เกิดค่าใช้จ่ายมากดังนั้นควรมีระบบ Just-In-Time ที่ดี 5. สำหรับร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม อาจจะรวมตัวกันเพื่อ หาพันธมิตรในรูปของ Voluntary Chain Store

สำหรับภาครัฐในการให้ความช่วยเหลือร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม ดังนี้
1. การส่งเสริมและสนับสนุนร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม โดยร่วมมือกับผู้ผลิต ตัวแทนค้าส่ง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการค้าปลีกทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการลดต้นทุนสินค้า สนับสนุนแหล่งเงินทุน

2. มาตรการในการให้ความช่วยเหลือทางด้านภาษี

3. หาวิธีการในการควบคุมร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ เพื่อให้ร้านค้าปลีกขนาดเล็กสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้
กำลังโหลดความคิดเห็น