xs
xsm
sm
md
lg

ศึกอุลตร้าแมน“โพร-ลิงค์”-“ไชโย” ยังวุ่น

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ในช่วงต้นเดือนมกราคมนี้ปรากฏว่า ข่าวความเคลื่อนไหวด้านลิขสิทธิ์อุลตร้าแมนได้ปะทุขึ้นมาอีกครั้งจากคู่กรณีทั้งสองฝ่ายในไทยคือ บริษัท โพร-ลิงค์ จำกัด ของนายสัมโพธิ เทียนทอง กับ กลุ่มบริษัทไชโย ของนายสมโพธิ แสงเดือนฉาย

ไชโยยึดหุ่นอุลตร้าแมน
ตามที่นายสัมโพธิ เทียนทอง กรรมการผู้จัดการบริษัท โพร-ลิงค์ จำกัด ออกแถลงข่าวประชาสัมพันธ์ทางสื่อต่างๆ อ้างว่าเป็นตัวแทนอนุญาตให้ใช้สิทธิของบริษัท ซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ จำกัด ในประเทศญี่ปุ่น ได้ร่วมกับศูนย์การค้าซีคอนสแควร์และศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ จัดงานแสดงเหล่าอุลตร้าแมนพันธ์แท้รุ่นใหม่ๆในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าและต้อนรับปีใหม่ตลอดจนถึงวันเด็กแห่งชาติ โดยได้นำตัวหุ่นอุลตร้าแมนทิก้า (ULTRAMAN TIGA ) อุลตร้าแมนไดน่า (ULTRAMAN DYNA ) , อุลตร้าแมนไกญ่า (ULTRAMAN GAIA ) , อุลตร้าแมนคอสมอส (ULTRAMAN COSMOS ) , อุลตร้าแมนเน็กซัส (ULTRAMAN NEXUS ) , อุลตร้าแมนเมบิอุส (ULTRAMAN MEBIUS ) และสัตว์ประหลาดออกแสดงโชว์บนเวทีศูนย์การค้าดังกล่าว

ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2550 ตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจากนายสมโพธิ แสงเดือนฉาย ในฐานะเจ้าหนี้ของบริษัท ซึบูราญ่า โปรดัคชั่นส์ จำกัด ตามคำพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีของศาลจังหวัดมีนบุรี พร้อมหมายบังคับคดีของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไปดำเนินการยึดตัวหุ่นอุลตร้าแมนต่างๆในงานแสดงโชว์ดังกล่าวและได้ปิดประกาศแจ้งให้ทราบทั่วกัน ณ บริเวณงานดังกล่าวแล้ว เป็นเหตุให้งานแสดงโชว์ต้องถูกระงับยกเลิกไปในที่สุด

โพร-ลิงค์แจงลิขสิทธิ์
เว้นแต่9เรื่องเก่าที่ยังมีปัญหาคาศาล

ภายหลังจากที่มีการเผยแพร่ข่าวในหนังสือพิมพ์บางฉบับระบุว่า บริษัท ซึบูราญ่า ไชโย จำกัด เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์อุลตร้าแมนและหนุมาน 7 ยอดมนุษย์ โดยศาลฯญี่ปุ่น รวม 6 ศาลตัดสินให้บริษัทดังกล่าวชนะคดีและมีสิทธิ์ในลิขสิทธิ์อุลตร้าแมนทั่วโลก ยกเว้นประเทศญี่ปุ่นนั้น นายสัมโพธิ เทียนทอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท โพร-ลิงค์ จำกัดในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากบริษัท ซึบูราญ่า โปรดักชั่นส์ จำกัด(แห่งประเทศญี่ปุ่น) ในการชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีอุลตร้าแมนเปิดเผยว่าการฟ้องร้องในประเทศสญี่ปุ่นเป็นผลมาจากเอกสารพิพาทซึ่งถูกนำมากล่าวอ้างว่าระบุว่าจัดทำระหว่างอดีตประธานบริษัท ซึบูราญ่า โปรดักชั่นส์ จำกัด กับนายสมโพธิ แสงเดือนฉาย โดยระบุวันที่จัดทำคือ วันที่ 4 มีนาคม 2519 โดยอ้างว่าลายเซ็นในเอกสารดังกล่าวเป็นของอดีตประธานบริษัท ซึบูราญ่า โปรดักชั่นส์ จำกัดซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว ทั้งนี้ได้มีการระบุถึงผลงานภาพยนตร์อุลตร้าแมน รวม 9 เรื่อง ได้แก่ ยักษ์วัดแจ้งพบจัมโบ้เอ,หนุมานพบ 7 ยอดมนุษย์ ,อุลตร้าแมน 1 “อุลตร้าคิว”,อุลตร้าแมน 2,อุลตร้าแมนเซเว่น,รีเทิร์นอุลตร้าแมน,อุลตร้าแมนเอช,อุลตร้าแมน ทาโร่ และจัมบอร์ก เอซ ทั้งนี้เอกสารดังกล่าวมิได้มีชื่อของบริษัท ซึบูราญ่า ไชโย จำกัดเข้าไปเกี่ยวข้องแต่อย่างใด ประกอบกับศาลญี่ปุ่นไการต่อสุ้ในชั้นสาลที่ประเทศญี่ปุ่นนั้นคงมีการพิจารณาจากสาลแขวงโตเกียวและศาลสูง รวม 2 ศาลเท่านั้น ซึ่งได้พิพากษาให้นายสมโพธิ แสงเดือนฉายมีสิทธิธิ์ใในผลงานภาพยนตร์อุลตร้าแมน 9 เรื่อง โดยมีสิทธิทั่วโลก ยกเว้นประเทสญี่ปุ่น เท่าที่มีปรากฎในเอกสารพิพาท นอกประเทศญี่ปุ่น แต่อย่างไรก็ตามศสาลฯยังได้วินิจฉัยอีกด้วยว่าไม่เห็นด้วยกับการที่นายสมโพธิแสงเดือนฉายจะกล่าวอ้างว่าการทำธุรกิจของบริษัท ซึบูราญ่า โปรดักชั่นส์ จำกัดกับลูกค้าใดๆเป็นการละเมิดสิทธิ์ของนายสมโพธิ แสงเดือนฉาย

ด้วยเหตุนี้กรณีที่รายงานข่าวระบุว่ามีการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายเรื่องการละเมิดสิทธิ์ในคดีแพ่งกับศาลประเทศญี่ปุ่นจึงเป็้นเรื่องที่บริษัท ซึบูราญ่า โปรดักชั่นส์ จำกัด ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์อุล-ตร้าแมนมิได้มีความหวั่นเกรงแต่อย่างใด

สำหรับกรณีที่รายงานข่าวระบุว่าข้อพิพาทเรื่องการบริหารลิขสิทธิ์อุลตร้าแมนระหว่างบริษัท ซึบูราญ่า ไชโย จำกัดกับบริษัท ซึบูราญ่า โปรดักชั่นส์ จำกัดซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นเจ้าของลิขสิทธิ์ฟ้องร้องนายสมโพธิ แสงเดือนฉายกับพวกต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศไทยได้ผ่านการตัดสินในชั้นฏีกาแล้วนั้น ตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าของลิขสิทธิ์อุลตร้าแมนได้กล่าวด้วยความประหลาดใจว่า ”ทราบได้อย่างไรว่าศาลฏีกาได้มีการตัดสินแล้ว เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลความคืบหน้าใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้” ซึ่งตนเองไม่แน่ใจว่าการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวจะเป็นการละเมิดอำนาจศาลหรือไม่ แต่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีนี้คือ ศาลชั้นต้นได้ตัดสินให้นายสมโพธิ แสงเดือนฉาย ได้สิทธิเฉพาะในผลงานภาพยนตร์อุลตร้าแมนรวม 9 เรื่องตามที่ระบุไว้ในเอกสารพิพาทเท่านั้น ทั้งยังวินิจฉัยรับรองสิทธิของบริษัท ซึบูราญ่า โปรดักชั่น จำกัด ในการสร้างสรรค์ผลงานอุลตร้าแมนขึ้นมาใหม่ ซึ่งนายสมโพธิ แสงเดือนฉายก็ไม่มีสิทธิใดๆ ในผลงานใหม่ทั้งหลายดังกล่าว ทั้งนี้ตราบใดที่ศาลฎีกายังมิได้เปลี่ยนแปลงคำพิพากษาไปเป็นอื่น คู่กรณีทั้งสองฝ่ายก็ยังคงต้องผูกพันกับคำพิพากษาชั้นต้นดังที่กล่าวมานี้

สำหรับนายสัมโพธิ เทียนทอง ผู้รับมอบอำนาจกระทำการแทนฝ่ายเจ้าของลิขสิทธิ์กล่าวในที่สุด

ในส่วนของการประกอบธุรกิจอุลตร้าแมนในประเทศไทยที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2545 บริษัท ซึบูราญ่า โปรดักชั่นส์ จำกัด ได้แต่งตั้งบริษัท โพร-ลิงค์จำกัดเป็นตัวแทนอนุญาตให้ใช้สิทธิ์อุลตร้าแมนรุ่นใหม่ๆในปแระเทศไทย ประกอบด้วย อุลตร้าแมนทิก้าเมบิอุส, อุลตร้าแมนไดน่า อุลตร้าแมนไกญ่าเน้กซัส,อุลตร้าแมนคอสมอส,อุลตร้าแมนไกญ่า,อุลตร้าแมนไดน่า,อุลตร้าแมนทิก้า และอุลตร้าแมนคิดส์ ซึ่งปรากฎต่อมาว่านายสมโพธิ แสงเดือนฉายได้ยื่นคำร้องต่อศาล ฉบับวันที่ 19 เมษายน 2547 โดยขอให้ศาลไต่สวนและออกหมายเรียกบุคคลต่างๆมาให้ถ้อยคำเพื่อประกอบพิจารณาคดีออกหมายบังคับคดีสั่งอายัดทรัพย์สินและสิทธิเรียกร้องในความครอบครองของบริษัท โพร-ลิงค์ จำกัดนั้น เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2549 ศาลฯได้ยกคำร้องดังกล่าว โดยวินิจฉัยว่าไม่มีเหตุเพียงพอและไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ใดๆ

นอกจากนี้ศาลยังได้ยกคำร้องที่นายสมโพธิ แสงเดือนฉายได้ขอให้ศาลมีคำสั่งห้าม บริษัทโพร-ลิงค์ จำกัดเป็นตัวแทนการค้าของบริษัท ซึบูราญ่า โปรดักชั่นส์ จำกัดเกี่ยวกับผลงานอุลตร้าแมนในประเทศไทย โดยศาลวินิจฉัยว่า นายสมโพธิ แสงเดือนฉาย ย่อมมีสิทธิ์เพียงขอให้บังคับคดีได้เฉพาะลูกหนี้ ตามคำพิพากษาคือ บริษัท ซึบูราญ่า โปรดักชั่นส์ จำกัดเพียงผู้เดียวแต่มิใช่ให้ศาลบังคับบุคคลอื่นซึ่งมิใช่คู่ความ

ส่วนกรณีที่มีการร้องขอให้ศาลมีคำสั่งห้าม บริษัท โพร-ลิงค์ จำกัดกระทำการเป็นตัวแทนของบริษัท ซึบูราญ่า โปรดักชั่นส์ จำกัดเกี่ยวกับผลงานอุลตร้าแมนและขอให้ผู้คัดค้านเกี่ยวกับผลงานอุลตร้าแมนในประเทศไทยก็ดี รวมทั้งลูกค้าผู้มีสิทธิธิ์ให้หยุดประกอบการค้าก็ดี ศาลย่อมไม่มีอำนาจออกคำสั่งใดๆตามคำขอทั้ง 2 ข้อดังกล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น