ร.ฟ.ท.กระอัก เสียค่าโง่แอร์พอร์ตลิงก์ 1,660 ล้านบาท เผยค่าธรรมเนียมการเงิน ถูกโอนเข้าบัญชีร.ฟ.ท.เป็นหนี้ตั้งแต่วันแรกที่ทำสัญญาทั้งที่ความจริงต้องโอนหลังก่อสร้างเสร็จ “ศิวะ”ยอมขยายเวลาก่อสร้างให้ชิโน-ไทยฯ โดยผู้รับเหมาไม่ต้องจ่ายค่าปรับ ชี้เหตุหลักเพราะส่งมอบพื้นที่ล่าช้า สั่งที่ปรึกษาเจรจาสรุปภายในก.พ. 50 นี้ ก่อนเสนอรมว.คมนาคมและรัฐบาลปรับสัญญาใหม่ คาดต้องขยายเวลาก่อสร้างไม่ต่ำกว่า 1 ปี พร้อมเสนอขอลงทุนโครงการเองในส่วนที่เหลือแทนเอกชน
นายศิวะ แสงมณี ประธานคณะกรรมการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยภายหลังตรวจเยี่ยมความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง หรือ Airport Rail Link) มูลค่า 25,907 ล้านบาท วานนี้ (5 ม.ค.) ว่า ผลงานการก่อสร้างรวมสิ้นสุด ณ เดือนธ.ค. 2549 48.01% ล่าช้ากว่าแผนประมาณ 40.92% จ่ายเงินค่างานไปแล้วประมาณ 8,300 ล้านบาท ซึ่งความล่าช้าที่เกิดขึ้นกลุ่มบีกริมฯ ที่มีบริษัท ซิโน-ไทยเอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้รับหมาก่อสร้างได้ทำหนังสือขอขยายเวลาการก่อสร้างออกไปจากกำหนดแล้วเสร็จวันที่ 5 พ.ย. 2550 อีกกว่า 500 วันซึ่งได้มอบหมายให้บริษัทที่ปรึกษาควบคุมงาน (CSC) และกรรมการตรวจการจ้างของร.ฟ.ท.หารือกับผู้รับเหมาเพื่อสรุปรายละเอียดการขยายเวลาก่อสร้างต่อไปโดยให้ได้ข้อยุติภายในเดือนก.พ.2550 นี้ โดยถือว่า ชิโน-ไทยไม่ต้องจ่ายค่าปรับใดๆ
ทั้งนี้ยอมรับว่า ค่าธรรมเนียมทางการเงิน 1,660 ล้านบาท ที่ร.ฟ.ท.จ่ายไปแล้วนั้น อาจเป็นตัวแปรที่ทำให้ร.ฟ.ท.ต้องเสนอขอลงทุนโครงการเองแทนการให้ผู้รับเหมากู้เงินมาลงทุนให้ก่อน เพื่อประหยัดในส่วนนี้หลังจากการขยายเวลาก่อสร้างออกไป ซึ่งบริษัทที่ปรึกษาและกรรมการตรวจการจ้างจะพิจารณาเปรียบเทียบกับกรณีที่ให้ผู้รับเหมาไปเจรจากับแหล่งเงินเพื่อขอขยายเวลาการกู้เงินออกไปตามเวลากา รก่อสร้างที่ขยายเพิ่ม โดยค่าธรรมเนียมทางการเงิน 1,660 ล้านบาทหรือคิดจาก 6.5% ของมูลค่ารวมโครงการเกือบ 30,000 ล้านบาท
นายศิวะกล่าวว่า ตามสัญญากำหนดให้ผู้รับเหมาก่อสร้างภายใน 990 วันและกำหนดค่าปรับ 12 ล้านบาทต่อวันกรณีล่าช้า ซึ่งจากการประเมินเนื้องานที่เหลือคาดว่าจะต้องใช้เวลาก่อสร้างอีกไม่น้อยกว่า 1 ปีหลังครบกำหนด ดังนั้นหากไม่เร่งหาข้อยุติความล่าช้าที่เกิดขึ้นทำให้เกิดผลกระทบหลายทอด คือ ผู้รับเหมาจะได้รับค่างานเท่ากับความคืบหน้าของเนื้องานที่เสร็จจริงขณะที่แหล่งเงินของผู้รับเหมาจะหยุดจ่ายเงินเมื่อครบ 990 วันเช่นกัน จึงต้องเร่งพิจารณาการขยายเวลาการก่อสร้างตามความเป็นจริงเท่าที่พิสูจน์ได้ว่าร.ฟ.ท.เป็นผู้ทำให้เกิดความล่าช้า ซึ่งอาจไม่เท่ากับเวลาที่ผู้รับเหมาเสนอมา
“หน้าที่ของบอร์ดคือเร่งรัดงานก่อสร้างให้เร็วที่สุด แต่จะไม่เร่งจนงานไม่มีคุณภาพและรัฐบาลนี้ไม่จำเป็นต้องเร่งงานเพื่อหาเสียงใด ๆ ส่วนการขยายเวลาก่อสร้างจะรวบรวมปัญหาทั้งหมดรายงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐบาลต่อไปพร้อมแนวทางการแก้ไขซึ่งวิศวกรส่วนใหญ่ระบุว่าเวลาก่อสร้าง 990 วันที่กำหนดนั้นน้อยเกินไปกับการก่อสร้างโครงการนี้ และไม่ควรทำสัญญาลักษณะนี้ อย่างไรก็ตาม การยอมขยายเวลาให้ผู้รับเหมานั้นไม่ได้หมายความว่า ร.ฟ.ท.ผิดทั้งหมดแต่จะต้องมีการพิสูจน์กันทั้งสามฝ่ายก่อนเพราะมีสาเหตุจากการรื้อย้ายสาธารณูปโภคที่เป็นของหน่วยงานอื่นด้วย ”นายศิวะกล่าว
แหล่งข่าวจากร.ฟ.ท.กล่าวว่า ร.ฟ.ท.ไม่สามารถเจรจาเพื่อลดค่าธรรมเนียมทางการเงิน 1,660 ล้านบาทได้แม้ว่าหลังสัญญาก่อสร้างครบ 990 วัน จะใช้เงินไม่ครบตามกำหนด เนื่องจากค่าธรรมเนียมทางการเงินดังกล่าวคิดจากยอดมูลค่าโครงการทั้งหมด และโอนเข้าในบัญชีเป็นหนี้สินของร.ฟ.ท.ตั้งแต่วันเริ่มสัญญาก่อสร้างแล้ว ซึ่งในหลักการหนี้ดังกล่าวจะต้องโอนเข้าบัญชีร.ฟ.ท.หลังจากครบกำหนดงานก่อสร้างแล้วเสร็จ ซึ่งถือเป็นความไม่ถูกต้อง และเท่ากับร.ฟ.ท.ต้องเป็นหนี้ 1,660 ล้านบาทโดยงานไม่เป็นไปตามเป้าหมาย โดยเรื่องนี้ค.ต.ส.กำลังตรวจสอบอยู่
นายถวิล สามนคร รักษาการ ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.กล่าวว่า การขยายเวลาก่อสร้างออกไปจะไม่ทำให้ค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้น เพราะสัญญากำหนดไว้แน่นอน แต่จะกระทบกับเงินต้นและอัตราดอกเบี้ยที่ร.ฟ.ท.ต้องจ่ายตามเนื้องานจริงที่เกิดขึ้น ส่วนค่าธรรมเนียมทางการเงิน 1,660 ล้านบาทนั้นคิดจากยอดรวมโครงการในคราวเดียวไม่เกี่ยวกับการขยายเวลาก่อสร้าง โดยหลังตกลงการขยายระยะเวลาก่อสร้างเรียบร้อยแล้วจะมีการทำสัญญาแนบท้ายร่วมกันอีกครั้ง
นายมนัส ชื่นเกิดลาภ ผู้จัดการโครงการแอร์พอร์ตลิงก์กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาโครงการกล่าวว่า ณ เดือนธ.ค. 2549 ภาพรวมงานโยธาแผนกำหนด 89.80% ผลงานจริง 38.88% งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล แผนกำหนด 88.14% ผลงานจริง 56.25% ภาพรวมทั้งโครงการแผนกำหนด 88.93% ผลงานจริง 48.01%
นายศิวะ แสงมณี ประธานคณะกรรมการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยภายหลังตรวจเยี่ยมความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง หรือ Airport Rail Link) มูลค่า 25,907 ล้านบาท วานนี้ (5 ม.ค.) ว่า ผลงานการก่อสร้างรวมสิ้นสุด ณ เดือนธ.ค. 2549 48.01% ล่าช้ากว่าแผนประมาณ 40.92% จ่ายเงินค่างานไปแล้วประมาณ 8,300 ล้านบาท ซึ่งความล่าช้าที่เกิดขึ้นกลุ่มบีกริมฯ ที่มีบริษัท ซิโน-ไทยเอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้รับหมาก่อสร้างได้ทำหนังสือขอขยายเวลาการก่อสร้างออกไปจากกำหนดแล้วเสร็จวันที่ 5 พ.ย. 2550 อีกกว่า 500 วันซึ่งได้มอบหมายให้บริษัทที่ปรึกษาควบคุมงาน (CSC) และกรรมการตรวจการจ้างของร.ฟ.ท.หารือกับผู้รับเหมาเพื่อสรุปรายละเอียดการขยายเวลาก่อสร้างต่อไปโดยให้ได้ข้อยุติภายในเดือนก.พ.2550 นี้ โดยถือว่า ชิโน-ไทยไม่ต้องจ่ายค่าปรับใดๆ
ทั้งนี้ยอมรับว่า ค่าธรรมเนียมทางการเงิน 1,660 ล้านบาท ที่ร.ฟ.ท.จ่ายไปแล้วนั้น อาจเป็นตัวแปรที่ทำให้ร.ฟ.ท.ต้องเสนอขอลงทุนโครงการเองแทนการให้ผู้รับเหมากู้เงินมาลงทุนให้ก่อน เพื่อประหยัดในส่วนนี้หลังจากการขยายเวลาก่อสร้างออกไป ซึ่งบริษัทที่ปรึกษาและกรรมการตรวจการจ้างจะพิจารณาเปรียบเทียบกับกรณีที่ให้ผู้รับเหมาไปเจรจากับแหล่งเงินเพื่อขอขยายเวลาการกู้เงินออกไปตามเวลากา รก่อสร้างที่ขยายเพิ่ม โดยค่าธรรมเนียมทางการเงิน 1,660 ล้านบาทหรือคิดจาก 6.5% ของมูลค่ารวมโครงการเกือบ 30,000 ล้านบาท
นายศิวะกล่าวว่า ตามสัญญากำหนดให้ผู้รับเหมาก่อสร้างภายใน 990 วันและกำหนดค่าปรับ 12 ล้านบาทต่อวันกรณีล่าช้า ซึ่งจากการประเมินเนื้องานที่เหลือคาดว่าจะต้องใช้เวลาก่อสร้างอีกไม่น้อยกว่า 1 ปีหลังครบกำหนด ดังนั้นหากไม่เร่งหาข้อยุติความล่าช้าที่เกิดขึ้นทำให้เกิดผลกระทบหลายทอด คือ ผู้รับเหมาจะได้รับค่างานเท่ากับความคืบหน้าของเนื้องานที่เสร็จจริงขณะที่แหล่งเงินของผู้รับเหมาจะหยุดจ่ายเงินเมื่อครบ 990 วันเช่นกัน จึงต้องเร่งพิจารณาการขยายเวลาการก่อสร้างตามความเป็นจริงเท่าที่พิสูจน์ได้ว่าร.ฟ.ท.เป็นผู้ทำให้เกิดความล่าช้า ซึ่งอาจไม่เท่ากับเวลาที่ผู้รับเหมาเสนอมา
“หน้าที่ของบอร์ดคือเร่งรัดงานก่อสร้างให้เร็วที่สุด แต่จะไม่เร่งจนงานไม่มีคุณภาพและรัฐบาลนี้ไม่จำเป็นต้องเร่งงานเพื่อหาเสียงใด ๆ ส่วนการขยายเวลาก่อสร้างจะรวบรวมปัญหาทั้งหมดรายงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐบาลต่อไปพร้อมแนวทางการแก้ไขซึ่งวิศวกรส่วนใหญ่ระบุว่าเวลาก่อสร้าง 990 วันที่กำหนดนั้นน้อยเกินไปกับการก่อสร้างโครงการนี้ และไม่ควรทำสัญญาลักษณะนี้ อย่างไรก็ตาม การยอมขยายเวลาให้ผู้รับเหมานั้นไม่ได้หมายความว่า ร.ฟ.ท.ผิดทั้งหมดแต่จะต้องมีการพิสูจน์กันทั้งสามฝ่ายก่อนเพราะมีสาเหตุจากการรื้อย้ายสาธารณูปโภคที่เป็นของหน่วยงานอื่นด้วย ”นายศิวะกล่าว
แหล่งข่าวจากร.ฟ.ท.กล่าวว่า ร.ฟ.ท.ไม่สามารถเจรจาเพื่อลดค่าธรรมเนียมทางการเงิน 1,660 ล้านบาทได้แม้ว่าหลังสัญญาก่อสร้างครบ 990 วัน จะใช้เงินไม่ครบตามกำหนด เนื่องจากค่าธรรมเนียมทางการเงินดังกล่าวคิดจากยอดมูลค่าโครงการทั้งหมด และโอนเข้าในบัญชีเป็นหนี้สินของร.ฟ.ท.ตั้งแต่วันเริ่มสัญญาก่อสร้างแล้ว ซึ่งในหลักการหนี้ดังกล่าวจะต้องโอนเข้าบัญชีร.ฟ.ท.หลังจากครบกำหนดงานก่อสร้างแล้วเสร็จ ซึ่งถือเป็นความไม่ถูกต้อง และเท่ากับร.ฟ.ท.ต้องเป็นหนี้ 1,660 ล้านบาทโดยงานไม่เป็นไปตามเป้าหมาย โดยเรื่องนี้ค.ต.ส.กำลังตรวจสอบอยู่
นายถวิล สามนคร รักษาการ ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.กล่าวว่า การขยายเวลาก่อสร้างออกไปจะไม่ทำให้ค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้น เพราะสัญญากำหนดไว้แน่นอน แต่จะกระทบกับเงินต้นและอัตราดอกเบี้ยที่ร.ฟ.ท.ต้องจ่ายตามเนื้องานจริงที่เกิดขึ้น ส่วนค่าธรรมเนียมทางการเงิน 1,660 ล้านบาทนั้นคิดจากยอดรวมโครงการในคราวเดียวไม่เกี่ยวกับการขยายเวลาก่อสร้าง โดยหลังตกลงการขยายระยะเวลาก่อสร้างเรียบร้อยแล้วจะมีการทำสัญญาแนบท้ายร่วมกันอีกครั้ง
นายมนัส ชื่นเกิดลาภ ผู้จัดการโครงการแอร์พอร์ตลิงก์กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาโครงการกล่าวว่า ณ เดือนธ.ค. 2549 ภาพรวมงานโยธาแผนกำหนด 89.80% ผลงานจริง 38.88% งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล แผนกำหนด 88.14% ผลงานจริง 56.25% ภาพรวมทั้งโครงการแผนกำหนด 88.93% ผลงานจริง 48.01%