xs
xsm
sm
md
lg

เผยอันดับแบรนด์สินค้าโฆษณาผ่านสื่อวิทยุสูงสุด

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ในช่วงปี 2549 ที่กำลังจะผ่านพ้นไปนี้ แม้ว่าตัวเลขตลาดโฆษณาทั้งอุตสาหกรรมโดยรวมจะยังไม่สรุปออกมาจากทางบริษัท เอซีนีลเส็น แต่ก็เป็นที่คาดหมายกันว่า ปี 2549 ทั้งปีนี้ จะมีเม็ดเงินโฆษณาสะพัดทั้งอุตสาหกรรมไม่ต่ำกว่า 80,000 ล้านบาท หรือเติบโตจากปีก่อนไม่ต่ำกว่า 5%

โดยในช่วง 10 เดือนแรกที่ผ่านมาของปีนี้ ตลาดโฆษณาโดยรวมมีมูลค่ารวม 74,489 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วที่มี 70,388 ล้านบาท เติบโตประมาณ 5.83% ซึ่งทีวียังคงเป็นสื่อลักมีมูลค่ารวม 44,703 ล้านบาท เติบโต 7.96% จากช่วงเดียวกันปีที่แล้วมีมูลค่า 41,406 ล้านบาท ส่วนสื่อวิทยุมีมูลค่า 5,495 ล้านบาท เติบโต 5.37% จากเดิม 5,215 ล้านบาท ส่วนสื่อหนังสือพิมพ์มูลค่า 12,666 ล้านบาท ลดลง 3.87% จากเดิม 13,176 ล้านบาท สื่อนิตยสารมูลค่า 5,051 ล้านบาท จากเดิม 5,012 ล้านบาท เติบโต 0.78%

ทั้งนี้ 5 บริษัทแรกที่ใช้งบโฆษณาสูงที่สุดในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2549 คือ 1.ยูนิลีเวอร์ ใช้งบ 4,534 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 3,343 ล้านบาท 2.พีแอนด์จี ใช้งบ 1,382 ล้านบาท ลดลงนจากเดิมที่ใช้ 1,421 ล้านบาท 3.เอไอเอส ใช้งบ 1,217 ล้านบาท ลดลงจากเดิมที่ใช้ 1,370 ล้านบาท 4.โตโยต้ามอเตอร์สใช้งบ 1,201 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ใช้ 775 ล้านบาท 5.ไบเออร์สดร๊อฟ ใช้งบ 821 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ใช้ 594 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ความน่าสนใจของตลาดโฆษณา ไม่ใช่อยู่เพียงแค่ มูลค่างบเท่านั้น แต่ยังมีประเด็นของความถี่ในการโฆษณาสินค้าด้วยว่า แบรนด์ใดที่ออกอากาศผ่านทางสื่อวิทยุมากที่สุด และธุรกิจใดที่ใช้สื่อวิทยุมากที่สุด

ตรงนี้จะเป็นประโยชน์ต่อเอเจนซี่และเจ้าของสินค้าและบริการ ที่จะนำมาวิเคราะห์ถึงแนวทางการเลือกสื่อโฆษณาหรือการลงโฆษณาได้ดี

จากการเก็บข้อมูลของบริษัท ดิจิตอล แอสโซซิเอทส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่เก็บตัวเลขและข้อมูลในการโฆษณา ระบุว่า ในช่วงปี 2549 (ตัวเลขเก็บตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน 2548 – พฤศจิกายน 2549) พบว่า อุตสาหกรรมที่มีการโฆษณาเป็นจำนวนครั้งมากที่สุดในภาพรวมทางสื่อวิทยุคือ 1.ธุรกิจมีเดียและสิ่งพิมพ์ มีโฆษณาผ่านทางสื่อวิทยุรวมทั้งหมด 402,649 ครั้ง 2. ธุรกิจเกี่ยวกับรัฐบาล มีจำนวนรวมประมาณ 318,167 ครั้ง

3.ธุรกิจบันเทิง และสันทนาการ มีโฆษณาผ่านสื่อวิทยุรวม 315,379 ครั้ง 4.ธุรกิจสื่อสาร มีจำนวนโฆษณาผ่านสื่อวิทยุรวมทั้งหมด 234,209 ครั้ง 5. ธุรกิจยานยนต์ มีจำนวนโฆษณาผ่านสื่อวิทยุจำนวน 173,783 ครั้ง 6.ธุรกิจการเงินและธนาคาร มีโฆษณาผ่านสื่อวิทยุรวม 163,836 ครั้ง 7.ธุรกิจเครื่องดื่ม มีโฆษณาผ่านสื่อวิทยุจำนวนรวม 156,308 ครั้ง 8.ธุรกิจสุขภาพและความงาม ประเภทฟาร์มาซูติคอล จำนวน 125,216 ครั้ง 9.ธุรกิจค้าปลีก มีจำนวนรวม 121,655 ครั้ง และ 10. ธุรกิจสุขภาพและความงาม ประเภท ทอยล์เลตตอรี่ จำนวน 114,918 ครั้ง

หากพิจารณาในแง่ของ สินค้า 20 อันดับสูงสุดที่โฆษณาผ่านสื่อวิทยุเป็นจำนวนครั้งมากที่สุด ประกอบด้วย 1.เอไอเอส จำนวน 46,204 ครั้ง 2. ดีแทค จำนวน 39,863 ครั้ง ซึ่งทั้งสองรายนี้ถือว่าเป็นคู่แข่งกันโดยตรง และเป็นคู่ที่โฆษณาไล่บี้กันมากที่สุด ขณะที่ แบรนด์ ทรูมูฟ นั้น อยู่ในอันดับที่ 5 ด้วยจำนวน 27,914 ครั้ง
 

อันดับที่สามคือ ปตท. มีโฆษณาผ่านสื่อวิทยุจำนวน 33,922 ครั้ง ติดอันดับเพียงรายเดียวในวงการน้ำมัน อันดับที่สี่คือ โมเดิร์นเรดิโอ จำนวน 29,722 ครั้ง ส่วนอันดับที่ 6. คือ โตโยต้า จำนวน 26,508 ครั้ง ทิ้งคู่แข่งตลอดกาลอย่าง ฮอนด้าที่อยู่อันดับที่ 10 ด้วยจำนวน 14,994 ครั้ง ขณะที่รถยนต์อีกแบรนด์คือ เชฟโรเล็ต อยู่ในอันดับที่ 15 ด้วยจำนวน 13,790 ครั้ง

อันดับที่ 7. คือ ซิสเท็มม่า ด้วยจำนวนโฆษณาผ่านสื่อวิทยุ 16,294 ครั้ง อันดับที่ 8. คือ ทรู อันดับ 9. ทีโอที จำนวน 15,111 ครั้ง อันดับที่ 10 คือฮอนด้า อันดับที่ 11. แบรนด์ จำนวน 14,921 ครั้ง

อันดับที่ 12. แคทเทเลคอม มีโฆษณาผ่านสื่อวิทยุจำนวน 14,516 ครั้ง 13. เวลลอย มีจำนวน 14,026 ครั้ง 14. ดอกบัวคู่ จำนวน 13,993 ครั้ง 15.เชฟโรเล็ต จำนวน 13,790 ครั้ง

16. โออิชิ จำนวน 13,518 ครั้ง 17.ดร.ชิน จำนวน 13,294 ครั้ง 18. วุฒิศักดิ์ คลินิก จำนวน 13,173 ครั้ง 19.เดนทิสเต้ จำนวน 13,160 ครั้ง และ 2.ธนาคารธนชาต จำนวน 13,033 ครั้ง
ถ้าสังเกตุให้ดี จะพบว่า มีหลายแบรนด์ที่ไม่น่าเชื่อว่าจะติด 20 อันดับได้ อย่างเช่น กรณีของเดนทิสเต้ ดร.ชิน และวุฒิศักดิ์คลินิก เพราะเมื่อเทียบกับสินค้าและบริการอื่นน่าจะมีโฆษณามากกว่าด้วยซ้ำไป ไม่ว่าจะเป็นสินค้าคอนซูเมอร์ในกลุ่มพีแอนด์จีหรือยูนิลีเวอร์ก็ตาม กลับไม่ติดอันดับเลย ทั้งๆที่สินค้ากลุ่มคอนซูเมอร์นี้แข่งขันกันรุนแรงเหมือนกัน ซึ่งตรงนี้บ่งบอกได้ว่า ธุรกิจทุกตัวก็มีการแข่งขันที่รุนแรงและสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้

นั่นย่อมหมายความว่า สื่อวิทยุถือเป็นอีกสื่อหนึ่งที่มีบทบาทและมีความนิยมไม่น้อยต่อตัวสินค้าและบริการในทุกกลุ่มสินค้าทั้งที่เป็นตลาดที่แข่งขันกันรุนแรงในตลาดวงกว้างและที่แข่งกันแบบนิชมาร์เก็ต
กำลังโหลดความคิดเห็น