กรมสรรพากรออกประกาศให้ลูกกตัญญูที่ทำประกันสุขภาพให้บิดามารดาตนเองหรือคู่สมรสนำเบี้ยประกันมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้แล้ว ไม่เกิน 15,000 บาท เริ่มตั้งแต่เบี้ยประกันที่จ่ายในปี 2549 เป็นต้นไป นอกจากนี้ ยังยกเว้นภาษีเงินได้ของลูกจ้างที่นายจ้างจ่ายประกันสุขภาพหมู่ให้ในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี
นายสาธิต รังคศิริ รองอธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า กรมสรรพากรได้ประกาศให้ลูกกตัญญูสามารถนำเบี้ยประกันสำหรับกรมธรรม์ประกันสุขภาพบิดามารดาตนเองหรือบิดามารดาของคู่สมรสมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่เกิน 15,000 บาท โดยเริ่มประกาศใช้สำหรับการจ่ายเบี้ยประกันตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นไป โดยบิดามารดาที่เอาประกันต้องมีเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี ส่วนบุตรที่นำเบี้ยประกันมาหักภาษีต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดามารดาหรือบุตรบุญธรรม หากบุตรหลายคนร่วมทำประกันให้ได้รับค่าลดหย่อนโดยเฉลี่ยเบี้ยประกันที่บุตรร่วมกันจ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
ส่วนสามีหรือภรรยาที่มีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้ผู้มีเงินได้ได้รับการยกเว้นภาษีตามจำนวนเบี้ยประกันที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยการประกันสุขภาพดังกล่าวจะให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอันเกิดจากการเจ็บป่วย การบาดเจ็บ ทุพพลภาพ และการสูญเสียอวัยวะ รวมถึงการประกันภัยอุบัติเหตุ การประกันภัยโรคร้ายแรง เป็นต้น ซึ่งได้รับการอนุมัติจากกรมการประกันภัย ซึ่งบุตรผู้หักลดหย่อนต้องมีใบเสร็จรับเงินหรือหนังสือรับรองจากบริษัทประกันภัย สำหรับผลกระทบต่อรายได้รัฐบาล เชื่อว่ามีไม่มากนัก แต่จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดภาระจัดสรรงบประมาณของภาครัฐในด้านสุขภาพ
นายสาธิต กล่าวอีกว่า กรมสรรพากรยังได้ออกมาตรการให้ลูกจ้างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในจำนวนเงินได้เท่าที่นายจ้างจ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับกรมธรรม์กลุ่มที่มีกำหนดระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี เฉพาะการประกันภัยในส่วนที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลให้แก่ลูกจ้าง สามี ภรรยา บุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้างและครอบคลุมการรักษาพยาบาลภายในประเทศ ส่วนกรณีจำเป็นต้องรักษาในต่างประเทศให้ครอบคลุมเฉพาะลุกจ้างในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่เท่านั้น เพื่อมุ่งเน้นการประกันสุขภาพแก่ลูกจ้างและส่งเสริมให้จัดสวัสดิการแก่ลูกจ้างและครอบครัวให้มั่นคงเป็นอยู่ดีขึ้น รวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายปัจจุบันที่กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้แก่ลูกจ้างที่ได้รับค่ารักษาพยาบาล
นายสาธิต รังคศิริ รองอธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า กรมสรรพากรได้ประกาศให้ลูกกตัญญูสามารถนำเบี้ยประกันสำหรับกรมธรรม์ประกันสุขภาพบิดามารดาตนเองหรือบิดามารดาของคู่สมรสมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่เกิน 15,000 บาท โดยเริ่มประกาศใช้สำหรับการจ่ายเบี้ยประกันตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นไป โดยบิดามารดาที่เอาประกันต้องมีเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี ส่วนบุตรที่นำเบี้ยประกันมาหักภาษีต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดามารดาหรือบุตรบุญธรรม หากบุตรหลายคนร่วมทำประกันให้ได้รับค่าลดหย่อนโดยเฉลี่ยเบี้ยประกันที่บุตรร่วมกันจ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
ส่วนสามีหรือภรรยาที่มีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้ผู้มีเงินได้ได้รับการยกเว้นภาษีตามจำนวนเบี้ยประกันที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยการประกันสุขภาพดังกล่าวจะให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอันเกิดจากการเจ็บป่วย การบาดเจ็บ ทุพพลภาพ และการสูญเสียอวัยวะ รวมถึงการประกันภัยอุบัติเหตุ การประกันภัยโรคร้ายแรง เป็นต้น ซึ่งได้รับการอนุมัติจากกรมการประกันภัย ซึ่งบุตรผู้หักลดหย่อนต้องมีใบเสร็จรับเงินหรือหนังสือรับรองจากบริษัทประกันภัย สำหรับผลกระทบต่อรายได้รัฐบาล เชื่อว่ามีไม่มากนัก แต่จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดภาระจัดสรรงบประมาณของภาครัฐในด้านสุขภาพ
นายสาธิต กล่าวอีกว่า กรมสรรพากรยังได้ออกมาตรการให้ลูกจ้างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในจำนวนเงินได้เท่าที่นายจ้างจ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับกรมธรรม์กลุ่มที่มีกำหนดระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี เฉพาะการประกันภัยในส่วนที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลให้แก่ลูกจ้าง สามี ภรรยา บุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้างและครอบคลุมการรักษาพยาบาลภายในประเทศ ส่วนกรณีจำเป็นต้องรักษาในต่างประเทศให้ครอบคลุมเฉพาะลุกจ้างในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่เท่านั้น เพื่อมุ่งเน้นการประกันสุขภาพแก่ลูกจ้างและส่งเสริมให้จัดสวัสดิการแก่ลูกจ้างและครอบครัวให้มั่นคงเป็นอยู่ดีขึ้น รวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายปัจจุบันที่กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้แก่ลูกจ้างที่ได้รับค่ารักษาพยาบาล