สยามฟิวเจอร์ฯ เปิดยุทธศาสตร์แผน 4 ปี เตรียมทุ่มเม็ดเงินกว่า 1,500 ล้านบาท รุกขยาย 4-5โครงการ ชู 3คอนเซ็ปต์พัฒนาที่ดี ไลฟ์สไตล์เซ็นเตอร์ ซูเปอร์มาร์เก็ต เพาเวอร์เซ็นเตอร์ หวังผลระยะยาวกระทุ้งยอดกำไรโตได้กว่า 30%
นายนพพร วิฑูรชาติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ผู้พัฒนาและบริหารโครงการศูนย์การค้าแบบเปิด เปิดเผยว่า แผนการดำเนินธุรกิจในช่วงปี 2550-2554 นับจากนี้ไปบริษัทฯ เตรียมใช้งบประมาณไว้ 1,500 ล้านบาทขยายธุรกิจ 4-5 โครงการ ในปีหน้า ประกอบด้วย พัทยา ลาดพร้าว เอกมัย-รามอินทรา และรัชโยธิน
ทั้งนี้โครงการดังกล่าวนับได้ว่าเป็นโครงการใหม่ทั้งสิ้น ซึ่งจุดนี้บริษัทฯ จะต้องระมัดระวังในแง่ของการลงทุนมากขึ้น โดยจะมีการวางแผนลงทุนเป็นระยะ 4 ปี จะพัฒนาขยายพื้นที่ค้าปลีกเพิ่มไม่ต่ำกว่าปีละ 50,000 ตร.ม. จากการดำเนินโครงการทั้ง 4 แห่ง จะทำให้บริษัทฯ มีที่ดินเพิ่มขึ้นเป็น 270,000 ตารางเมตร จากปัจจุบันมีที่ดินอยู่ประมาณ 200,000 ตารางเมตร การพัฒนาที่ดินดังกล่าวจะทำให้ทราบว่าตรงจุดไหนที่สามารถสร้างกำไรได้ ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทฯ น่าจะมีกำไรเฉลี่ย 25-30%
สำหรับโครงการ ที่ รัชโยธิน จะสร้างเป็นไลฟ์สไตล์เซ็นเตอร์ บนเนื้อที่ประมาณ 20,000 ตารางเมตร ภายในโครงการประไปด้วย ออฟฟิต 6 ชั้น ศูนย์การค้า 4 ชั้น จำนวน 2 อาคาร อาคารจอดรถ 10 ชั้น โดยคาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 1,000 ล้านบาท แบ่งเป็น ราคาที่ดิน 400 ล้านบาท และโครงการ 600 ล้านบาท ส่วนโครงการที่ลาดพร้าว (บริเวณตอนกลางของลาดพร้าว) เป็นโครงการลักษณะคล้ายกับเจ อเวนิว แจ้งวัฒนะ(ซึ่งจะไม่มีโรงภาพยนตร์) มีพื้นที่ของโครงการประมาณ 20,000ตารางเมตร โดยคาดว่าจะเริ่มดำเนินโครงการได้ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 และที่รามอินทรา กม. 8 นั้น ก็จะเป็นโครงการคล้ายกับ เจ อเวนิวฯ เช่นกัน โดยมีพื้นที่มากกว่า 10,000ตารางเมตร
พร้อมกันนี้แนวทางพัฒนาธุรกิจของบริษัทฯ จะเน้น 3รูปแบบประกอบด้วย ไลฟ์สไตล์เซ็นเตอร์ ที่ใช้ชื่อแบรนด์ว่า"ดิ อเวนิว"เป็นเรือธงในการพัฒนารองรับวิถีชีวิตของคนในเมือง ซึ่งประกอบด้วย โครงการพัทยา และรัชโยธิน นอกจากนี้ยังมีรูปแบบเนเบอร์ฮู้ดมอลล์ คือ ซูเปอร์มาร์เก็ต นับเป็นรูปแบบที่จะเข้ามาแทนที่ตลาดสดในอนาคต ใช้ที่ดินตั้งแต่ 4 ไร่ ขึ้นไป แผนพัฒนาภายในรูปแบบดังกล่าวในปีหน้า คือ โครงการลาดพร้าว สำหรับรูปแบบเพาเวอร์เซ็นเตอร์ เป็นโครงการขนาดใหญ่ มีแผนพัฒนาโครงการเอกมัย-รามอินทรา
" ปัจจุบันไลฟ์ สไตล์ ของผู้บริโภคชาวไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ศูนย์การค้าที่เกิดขึ้นใหม่ ในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา ล้วนปรับตัวให้เข้ากับรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้บริโภคในยุคใหม่ ไลฟ์สไตล์ ชอปปิ้ง เซ็นเตอร์ ใหม่นี้ก็เช่นเดียวกัน จะฉีกรูปแบบเดิมจากที่เราเคยทำมา เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันและในอนาคต"
นายสมคิด ตันทัดวาณิชย์กุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โครงการเอสพลานาด ในเครือสยามฟิวเจอร์ฯ กล่าวถึงแนวทางพัฒนาโครงการรัชโยธินว่า จะเป็นไลฟ์สไตล์เซ็นเตอร์ภายใต้แบรนด์ "ดิ อเวนิว" บนพื้นที่ 7-8 ไร่ เป็นพื้นที่ค้าปลีกประมาณ 45,000 ตร.ม.
"ไลฟ์สไตล์เซ็นเตอร์ของโครงการเจ อเวนิว ทองหล่อ และปรับรูปแบบบางส่วน อาทิ การเปิดท้ายของที่เป็นเสน่ห์ของพื้นที่เดิมให้มีความน่าสนใจมากขึ้นยิ่งขึ้น การจัดทำครั้งนี้เพื่อรองรับฐานค้าระดับกลางขณะที่คอนเซ็ปต์ของดิ อเวนิว จับตลาดกลาง-สูง เป็นการครอบคลุมลูกค้าทุกกลุ่ม"
ทั้งนี้จะไม่มีส่วนของเอนเตอร์เทนท์เมนท์เพิ่มขึ้น เพราะเปิดให้บริการสมบูรณ์แบบอยู่แล้วในเมเจอร์ฯ แต่จะเน้นวางส่วนผสมของร้านค้าจากในและต่างประเทศ มีผู้ประกอบการร้านค้าใหม่จากโครงการดิ เอสพลานาด รวมทั้งทองหล่อตามมาเปิดให้บริการที่สาขารัชโยธินด้วย คาดการลูกค้าเข้าใช้บริการหมุนเวียนไม่ต่ำกว่า 1 แสนคนต่อวัน กำหนดเปิดบริการปลายปี 2550
นายนพพร วิฑูรชาติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ผู้พัฒนาและบริหารโครงการศูนย์การค้าแบบเปิด เปิดเผยว่า แผนการดำเนินธุรกิจในช่วงปี 2550-2554 นับจากนี้ไปบริษัทฯ เตรียมใช้งบประมาณไว้ 1,500 ล้านบาทขยายธุรกิจ 4-5 โครงการ ในปีหน้า ประกอบด้วย พัทยา ลาดพร้าว เอกมัย-รามอินทรา และรัชโยธิน
ทั้งนี้โครงการดังกล่าวนับได้ว่าเป็นโครงการใหม่ทั้งสิ้น ซึ่งจุดนี้บริษัทฯ จะต้องระมัดระวังในแง่ของการลงทุนมากขึ้น โดยจะมีการวางแผนลงทุนเป็นระยะ 4 ปี จะพัฒนาขยายพื้นที่ค้าปลีกเพิ่มไม่ต่ำกว่าปีละ 50,000 ตร.ม. จากการดำเนินโครงการทั้ง 4 แห่ง จะทำให้บริษัทฯ มีที่ดินเพิ่มขึ้นเป็น 270,000 ตารางเมตร จากปัจจุบันมีที่ดินอยู่ประมาณ 200,000 ตารางเมตร การพัฒนาที่ดินดังกล่าวจะทำให้ทราบว่าตรงจุดไหนที่สามารถสร้างกำไรได้ ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทฯ น่าจะมีกำไรเฉลี่ย 25-30%
สำหรับโครงการ ที่ รัชโยธิน จะสร้างเป็นไลฟ์สไตล์เซ็นเตอร์ บนเนื้อที่ประมาณ 20,000 ตารางเมตร ภายในโครงการประไปด้วย ออฟฟิต 6 ชั้น ศูนย์การค้า 4 ชั้น จำนวน 2 อาคาร อาคารจอดรถ 10 ชั้น โดยคาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 1,000 ล้านบาท แบ่งเป็น ราคาที่ดิน 400 ล้านบาท และโครงการ 600 ล้านบาท ส่วนโครงการที่ลาดพร้าว (บริเวณตอนกลางของลาดพร้าว) เป็นโครงการลักษณะคล้ายกับเจ อเวนิว แจ้งวัฒนะ(ซึ่งจะไม่มีโรงภาพยนตร์) มีพื้นที่ของโครงการประมาณ 20,000ตารางเมตร โดยคาดว่าจะเริ่มดำเนินโครงการได้ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 และที่รามอินทรา กม. 8 นั้น ก็จะเป็นโครงการคล้ายกับ เจ อเวนิวฯ เช่นกัน โดยมีพื้นที่มากกว่า 10,000ตารางเมตร
พร้อมกันนี้แนวทางพัฒนาธุรกิจของบริษัทฯ จะเน้น 3รูปแบบประกอบด้วย ไลฟ์สไตล์เซ็นเตอร์ ที่ใช้ชื่อแบรนด์ว่า"ดิ อเวนิว"เป็นเรือธงในการพัฒนารองรับวิถีชีวิตของคนในเมือง ซึ่งประกอบด้วย โครงการพัทยา และรัชโยธิน นอกจากนี้ยังมีรูปแบบเนเบอร์ฮู้ดมอลล์ คือ ซูเปอร์มาร์เก็ต นับเป็นรูปแบบที่จะเข้ามาแทนที่ตลาดสดในอนาคต ใช้ที่ดินตั้งแต่ 4 ไร่ ขึ้นไป แผนพัฒนาภายในรูปแบบดังกล่าวในปีหน้า คือ โครงการลาดพร้าว สำหรับรูปแบบเพาเวอร์เซ็นเตอร์ เป็นโครงการขนาดใหญ่ มีแผนพัฒนาโครงการเอกมัย-รามอินทรา
" ปัจจุบันไลฟ์ สไตล์ ของผู้บริโภคชาวไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ศูนย์การค้าที่เกิดขึ้นใหม่ ในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา ล้วนปรับตัวให้เข้ากับรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้บริโภคในยุคใหม่ ไลฟ์สไตล์ ชอปปิ้ง เซ็นเตอร์ ใหม่นี้ก็เช่นเดียวกัน จะฉีกรูปแบบเดิมจากที่เราเคยทำมา เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันและในอนาคต"
นายสมคิด ตันทัดวาณิชย์กุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โครงการเอสพลานาด ในเครือสยามฟิวเจอร์ฯ กล่าวถึงแนวทางพัฒนาโครงการรัชโยธินว่า จะเป็นไลฟ์สไตล์เซ็นเตอร์ภายใต้แบรนด์ "ดิ อเวนิว" บนพื้นที่ 7-8 ไร่ เป็นพื้นที่ค้าปลีกประมาณ 45,000 ตร.ม.
"ไลฟ์สไตล์เซ็นเตอร์ของโครงการเจ อเวนิว ทองหล่อ และปรับรูปแบบบางส่วน อาทิ การเปิดท้ายของที่เป็นเสน่ห์ของพื้นที่เดิมให้มีความน่าสนใจมากขึ้นยิ่งขึ้น การจัดทำครั้งนี้เพื่อรองรับฐานค้าระดับกลางขณะที่คอนเซ็ปต์ของดิ อเวนิว จับตลาดกลาง-สูง เป็นการครอบคลุมลูกค้าทุกกลุ่ม"
ทั้งนี้จะไม่มีส่วนของเอนเตอร์เทนท์เมนท์เพิ่มขึ้น เพราะเปิดให้บริการสมบูรณ์แบบอยู่แล้วในเมเจอร์ฯ แต่จะเน้นวางส่วนผสมของร้านค้าจากในและต่างประเทศ มีผู้ประกอบการร้านค้าใหม่จากโครงการดิ เอสพลานาด รวมทั้งทองหล่อตามมาเปิดให้บริการที่สาขารัชโยธินด้วย คาดการลูกค้าเข้าใช้บริการหมุนเวียนไม่ต่ำกว่า 1 แสนคนต่อวัน กำหนดเปิดบริการปลายปี 2550