ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดมูลค่าการส่งออกสบู่ไทยปีหน้าจะเติบโตไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 ตามความต้องการตลาดโลกที่ยังมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้น แนะผู้ประกอบการไทยสร้างจุดแข็งสบู่ของไทยที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติให้มีความหลากหลาย รวมทั้งพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่สามารถดึงดูดใจผู้บริโภคได้มากขึ้น
บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัดระบุว่า ในปี 2549 มูลค่าการส่งออกสบู่ของไทยในตลาดต่างประเทศ น่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นด้วยอัตราการเติบโตประมาณร้อยละ 23-25 ส่วนในปี 2550 สบู่ของไทยในตลาดโลกน่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่อง ด้วยอัตราการเติบโตไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 ตามความต้องการในตลาดโลกที่ยังมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจุบันสินค้าผลิตภัณฑ์ธรรมชาติของไทยเป็นที่นิยมและได้รับการยอมรับในระดับสากลค่อนข้างสูงมาก ดังนั้น ผู้ผลิตสบู่ไทยจึงควรอาศัยส่วนผสมธรรมชาติเป็นจุดแข็งในการแข่งขันต่อไป
อย่างไรก็ตาม สินค้าสบู่ของไทยยังต้องเผชิญกับคู่แข่งที่มีการปรับตัวและพัฒนาการผลิตอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการผลิตสบู่ภายใต้แบรนด์เนมของไทย ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่มีการใช้แรงงานคนเป็นหลัก จึงทำให้ปริมาณและคุณภาพของสินค้ายังไม่แน่นอนเท่าที่ควร การบุกตลาดต่างประเทศ ผู้ประกอบการไทยจึงควรต้องรุกตลาดด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์สบู่ที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น มีการวิจัยพัฒนาเพื่อยกระดับสินค้าให้ก้าวสู่ระดับสากลเพิ่มขึ้น ควบคู่กับการพัฒนารูปแบบของบรรจุภัณฑ์ที่สามารถดึงดูดใจผู้บริโภคได้มากขึ้น พร้อมทั้งเร่งทำแผนการตลาดเพื่อขยายตลาดสบู่ที่มีส่วนผสมสมุนไพร หรือสารสกัดธรรมชาติให้กว้างขวางยิ่งขึ้นตามกระแสการตื่นตัวเกี่ยวกับการรักษาสุขภาพ และการบำบัดร่างกายด้วยธรรมชาติที่ทวีความนิยมมากขึ้นตามลำดับ ทั้งในตลาดหลักและตลาดใหม่
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการไทยควรพยายามสร้างสรรค์ชิ้นงานสินค้าสบู่จากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติให้มีความหลากหลายมากขึ้น ด้วยจุดเด่นเฉพาะตัวทั้งทางด้านรูปลักษณ์และกลิ่น เพื่อครองใจตลาดต่างประเทศที่มีกำลังซื้อสูง โดยควรขยายกลุ่มเป้าหมายให้กว้างขวางยิ่งขึ้นจากกลุ่มผู้บริโภคตามครัวเรือนไปสู่กลุ่มโรงแรม รีสอร์ท และสปา ให้มากขึ้น และหากได้รับการสนับสนุนในส่วนของการประชาสัมพันธ์เพื่อขยายตลาดต่างประเทศอย่างต่อเนื่องจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ก็น่าจะยิ่งกระตุ้นให้สินค้าสบู่กลุ่มนี้ของไทยมีโอกาสเติบโตได้อีกมากในอนาคต
บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัดระบุว่า ในปี 2549 มูลค่าการส่งออกสบู่ของไทยในตลาดต่างประเทศ น่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นด้วยอัตราการเติบโตประมาณร้อยละ 23-25 ส่วนในปี 2550 สบู่ของไทยในตลาดโลกน่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่อง ด้วยอัตราการเติบโตไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 ตามความต้องการในตลาดโลกที่ยังมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจุบันสินค้าผลิตภัณฑ์ธรรมชาติของไทยเป็นที่นิยมและได้รับการยอมรับในระดับสากลค่อนข้างสูงมาก ดังนั้น ผู้ผลิตสบู่ไทยจึงควรอาศัยส่วนผสมธรรมชาติเป็นจุดแข็งในการแข่งขันต่อไป
อย่างไรก็ตาม สินค้าสบู่ของไทยยังต้องเผชิญกับคู่แข่งที่มีการปรับตัวและพัฒนาการผลิตอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการผลิตสบู่ภายใต้แบรนด์เนมของไทย ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่มีการใช้แรงงานคนเป็นหลัก จึงทำให้ปริมาณและคุณภาพของสินค้ายังไม่แน่นอนเท่าที่ควร การบุกตลาดต่างประเทศ ผู้ประกอบการไทยจึงควรต้องรุกตลาดด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์สบู่ที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น มีการวิจัยพัฒนาเพื่อยกระดับสินค้าให้ก้าวสู่ระดับสากลเพิ่มขึ้น ควบคู่กับการพัฒนารูปแบบของบรรจุภัณฑ์ที่สามารถดึงดูดใจผู้บริโภคได้มากขึ้น พร้อมทั้งเร่งทำแผนการตลาดเพื่อขยายตลาดสบู่ที่มีส่วนผสมสมุนไพร หรือสารสกัดธรรมชาติให้กว้างขวางยิ่งขึ้นตามกระแสการตื่นตัวเกี่ยวกับการรักษาสุขภาพ และการบำบัดร่างกายด้วยธรรมชาติที่ทวีความนิยมมากขึ้นตามลำดับ ทั้งในตลาดหลักและตลาดใหม่
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการไทยควรพยายามสร้างสรรค์ชิ้นงานสินค้าสบู่จากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติให้มีความหลากหลายมากขึ้น ด้วยจุดเด่นเฉพาะตัวทั้งทางด้านรูปลักษณ์และกลิ่น เพื่อครองใจตลาดต่างประเทศที่มีกำลังซื้อสูง โดยควรขยายกลุ่มเป้าหมายให้กว้างขวางยิ่งขึ้นจากกลุ่มผู้บริโภคตามครัวเรือนไปสู่กลุ่มโรงแรม รีสอร์ท และสปา ให้มากขึ้น และหากได้รับการสนับสนุนในส่วนของการประชาสัมพันธ์เพื่อขยายตลาดต่างประเทศอย่างต่อเนื่องจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ก็น่าจะยิ่งกระตุ้นให้สินค้าสบู่กลุ่มนี้ของไทยมีโอกาสเติบโตได้อีกมากในอนาคต