จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจับมือกระทรวงการต่างประเทศจัดทำประชาพิจารณ์ร่างความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) เพื่อความโปร่งใสและให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับการดำเนินการของรัฐบาล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมมือกับกระทรวงการต่างประเทศจัดทำประชาพิจารณ์ร่างความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economics Partnerships Agreement : JTEPA) หลังจากสามารถสรุปการเจรจาร่างความตกลงฯเสร็จสมบรูณ์แล้ว ซึ่งทาง ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเห็นควรให้มีการจัดทำประชาพิจารณ์ขึ้น ก่อนการเสนอร่างความตกลงฯ ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการของรัฐบาล
สำหรับการทำประชาพิจารณ์ JTEPA จะมีขึ้นในวันศุกร์ที่ 22 ธันวาคมนี้ 2549 ระหว่างเวลา 08.30-13.00 น. ณ ห้องประชุม 212 ตึกมหิตลาธิเบศร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยจะมีผู้ร่วมอภิปรายจากภาคนักวิชาการที่ได้ศึกษาร่างความตกลงฉบับนี้ทุกมาตรา ผู้แทนภาคเอกชนและเกษตรกรเข้าร่วมวิพากษ์ เพื่อให้เข้าถึงประชาชนอย่างกว้างขวางที่สุด และที่สำคัญจะมีคณะผู้แทนเจรจาฝ่ายไทยมาตอบข้อซักถามอย่างละเอียดจากประชาชนที่เข้าร่วมในงานและจากทางบ้านด้วย
นอกจากนี้ยังมีการถ่ายทอดสดการประชาพิจารณ์ครั้งนี้ผ่านโทรทัศน์ช่อง 11 ระหว่างเวลา 09.00-11.00 น. และทางวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย พร้อมเปิดสายโทรศัพท์รับการแสดงความคิดเห็นจากทางบ้านด้วย ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นสามารถสำรองที่นั่งได้ที่โทรศัพท์ 0-2218-6228 และโทรสาร 0-2218-6230
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมมือกับกระทรวงการต่างประเทศจัดทำประชาพิจารณ์ร่างความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economics Partnerships Agreement : JTEPA) หลังจากสามารถสรุปการเจรจาร่างความตกลงฯเสร็จสมบรูณ์แล้ว ซึ่งทาง ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเห็นควรให้มีการจัดทำประชาพิจารณ์ขึ้น ก่อนการเสนอร่างความตกลงฯ ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการของรัฐบาล
สำหรับการทำประชาพิจารณ์ JTEPA จะมีขึ้นในวันศุกร์ที่ 22 ธันวาคมนี้ 2549 ระหว่างเวลา 08.30-13.00 น. ณ ห้องประชุม 212 ตึกมหิตลาธิเบศร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยจะมีผู้ร่วมอภิปรายจากภาคนักวิชาการที่ได้ศึกษาร่างความตกลงฉบับนี้ทุกมาตรา ผู้แทนภาคเอกชนและเกษตรกรเข้าร่วมวิพากษ์ เพื่อให้เข้าถึงประชาชนอย่างกว้างขวางที่สุด และที่สำคัญจะมีคณะผู้แทนเจรจาฝ่ายไทยมาตอบข้อซักถามอย่างละเอียดจากประชาชนที่เข้าร่วมในงานและจากทางบ้านด้วย
นอกจากนี้ยังมีการถ่ายทอดสดการประชาพิจารณ์ครั้งนี้ผ่านโทรทัศน์ช่อง 11 ระหว่างเวลา 09.00-11.00 น. และทางวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย พร้อมเปิดสายโทรศัพท์รับการแสดงความคิดเห็นจากทางบ้านด้วย ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นสามารถสำรองที่นั่งได้ที่โทรศัพท์ 0-2218-6228 และโทรสาร 0-2218-6230