“พาณิชย์”ส่งกฤษฎีกาตีความบริษัทโฮลดิ้งที่เป็นต่างด้าวเข้าข่ายเป็นธุรกิจบริการหรือไม่ หลังพบมีการใช้ช่องว่างตรงนี้เข้ามาประกอบธุรกิจสงวนของไทยเพียบ
นายยรรยง พวงราช รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้การส่งเรื่องการตีความการประกอบธุรกิจในลักษณะเพื่อการลงทุนในบริษัทอื่น (บริษัทโฮลดิ้ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อให้มีความชัดเจนว่า รูปแบบ และประเภทบริษัทโฮลดิ้งในปัจจุบันเป็นธุรกิจบริการหรือไม่ หากการตีความระบุว่าโฮลดิ้งลักษณะใดเข้าข่ายเป็นธุรกิจบริการ บริษัทโฮลดิ้งที่เป็นต่างด้าวต้องมาขออนุญาตประกอบธุรกิจจากคณะกรรมการฯ ตามพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวพ.ศ.25452 ทันที
สำหรับสิ่งที่ต้องให้กฤษฎีกาตีความให้ชัดเจน คือ บริษัทโฮลดิ้งที่เป็นต่างด้าว เข้าข่ายประกอบธุรกิจบริการตามบัญชีแนบท้าย 3 (21) ของพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวหรือไม่ และคนต่างด้าวที่ลงทุนผ่านบริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด เข้าข่ายประกอบธุรกิจบริการตามบัญชี 3 หรือไม่ในกรณีที่ไทยเอ็นวีดีอาร์ลงทุนในธุรกิจต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าว
ไทยเอ็นวีดีอาร์ เป็นบริษัที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นเพื่อกระตุ้นการลงทุน และช่วยให้นักลงทุนต่างชาติลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลัดทรัพย์ได้ โดยไม่ติดข้อจำกัดเรื่องการถือครองหลักทรัพย์
“ที่ผ่านมา ได้ใช้ความหมายของกฤษฎีกาเดิมที่ว่า ธุรกิจบริการคือการทำงานให้ จัดการให้ แต่สมัยนี้มีธุรกิจต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย ที่กฤษฎีกาตีความไว้เดิมความหมายแคบไป ปัญหาเฉพาะหน้าขณะนี้ คือ การทำธุรกิจลักษณะเอาหุ้นคนอื่นมาในลักษณะบริหารหลักทรัพย์ถือเป็นธุรกิจบริการหรือไม่ เพื่อจะได้ปฏิบัติตามกฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวได้อย่างถูกต้อง ไม่ได้ตีความเพื่อไปเกี่ยวข้องกับกรณีที่กำลังเป็นข่าวอยู่ อย่างการซื้อขายหุ้นชินคอร์ป” นายยรรยงกล่าว
ก่อนหน้านี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ส่งประเด็นการตีความดังกล่าวนี้ไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว แต่ถูกตีกลับเพราะกรมฯ ไม่ให้ข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์ เช่น ลักษณะบริษัทโฮลดิ้งที่ต้องการให้ตีความอะไรบ้าง และกรมฯ ไม่ได้ให้คณะกรรมการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวเห็นชอบให้ส่งเรื่องดังกล่าวไปให้ตีความ
นายยรรยง พวงราช รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้การส่งเรื่องการตีความการประกอบธุรกิจในลักษณะเพื่อการลงทุนในบริษัทอื่น (บริษัทโฮลดิ้ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อให้มีความชัดเจนว่า รูปแบบ และประเภทบริษัทโฮลดิ้งในปัจจุบันเป็นธุรกิจบริการหรือไม่ หากการตีความระบุว่าโฮลดิ้งลักษณะใดเข้าข่ายเป็นธุรกิจบริการ บริษัทโฮลดิ้งที่เป็นต่างด้าวต้องมาขออนุญาตประกอบธุรกิจจากคณะกรรมการฯ ตามพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวพ.ศ.25452 ทันที
สำหรับสิ่งที่ต้องให้กฤษฎีกาตีความให้ชัดเจน คือ บริษัทโฮลดิ้งที่เป็นต่างด้าว เข้าข่ายประกอบธุรกิจบริการตามบัญชีแนบท้าย 3 (21) ของพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวหรือไม่ และคนต่างด้าวที่ลงทุนผ่านบริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด เข้าข่ายประกอบธุรกิจบริการตามบัญชี 3 หรือไม่ในกรณีที่ไทยเอ็นวีดีอาร์ลงทุนในธุรกิจต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าว
ไทยเอ็นวีดีอาร์ เป็นบริษัที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นเพื่อกระตุ้นการลงทุน และช่วยให้นักลงทุนต่างชาติลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลัดทรัพย์ได้ โดยไม่ติดข้อจำกัดเรื่องการถือครองหลักทรัพย์
“ที่ผ่านมา ได้ใช้ความหมายของกฤษฎีกาเดิมที่ว่า ธุรกิจบริการคือการทำงานให้ จัดการให้ แต่สมัยนี้มีธุรกิจต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย ที่กฤษฎีกาตีความไว้เดิมความหมายแคบไป ปัญหาเฉพาะหน้าขณะนี้ คือ การทำธุรกิจลักษณะเอาหุ้นคนอื่นมาในลักษณะบริหารหลักทรัพย์ถือเป็นธุรกิจบริการหรือไม่ เพื่อจะได้ปฏิบัติตามกฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวได้อย่างถูกต้อง ไม่ได้ตีความเพื่อไปเกี่ยวข้องกับกรณีที่กำลังเป็นข่าวอยู่ อย่างการซื้อขายหุ้นชินคอร์ป” นายยรรยงกล่าว
ก่อนหน้านี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ส่งประเด็นการตีความดังกล่าวนี้ไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว แต่ถูกตีกลับเพราะกรมฯ ไม่ให้ข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์ เช่น ลักษณะบริษัทโฮลดิ้งที่ต้องการให้ตีความอะไรบ้าง และกรมฯ ไม่ได้ให้คณะกรรมการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวเห็นชอบให้ส่งเรื่องดังกล่าวไปให้ตีความ