กระทรวงพลังงานยอมรับต้องปรับแผนพีดีพีใหม่ ขณะที่นักวิชาการเสนอให้เลื่อนการประมูลไอพีพีออกไปเป็นกลางปีหน้า เพื่อให้มีความพร้อมมากที่สุด และเสนอให้เปิดประมูลเท่าที่มีความจำเป็นคือ 2,000 เมกะวัตต์เท่านั้น
นายณอคุณ สิทธิพงศ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ที่ประชุมรับฟังความคิดเห็นเบื้องต้น สำหรับการจัดทำแผนพัฒนากำลังไฟฟ้าระยะยาว 15 ปี (พีดีพี) ได้มีการเชิญหน่วยงานด้านพลังงานที่เกี่ยวข้องและตัวแทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย องค์กรนอกภาครัฐ (เอ็นจีโอ) มาให้ความเห็น ซึ่งที่ประชุมเห็นร่วมกันว่า ในการจัดทำแผนพีดีพีครั้งใหม่ ถือเป็นครั้งแรกที่จะมีการจัดรับฟังความเห็นของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยจะมีการจัดรับฟังความคิดเห็นภายในเดือนธันวาคมนี้ ซึ่งก่อนการจัดการรับฟังดังกล่าว จะต้องมีการจัดทำแผนพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าฉบับใหม่ให้ใกล้เคียงความเป็นจริง เพราะปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีการพยากรณ์ที่เกินความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เป็นจริง เนื่องจากเศรษฐกิจไม่เติบโตอย่างที่คาดคิด ซึ่งการทำแผนพยากรณ์แผนพีดีพีจะมีการพิจารณาทั้งความต้องการใช้ไฟฟ้า พลังงานทางเลือก ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาชุมชน ค่าไฟฟ้า รวมทั้งสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้าที่เหมาะสมกับเชื้อเพลิงที่จะนำมาใช้ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในอนาคต
ด้านนายเดชรัตน์ สุขกำเนิด อาจารย์ประจำคณะเศรษศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า แผนการพยากรณ์ไฟฟ้าในพีดีพีฉบับปัจจุบัน โดยเฉพาะปี 2549 การพยากรณ์เกินความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีค) ไปถึงระดับ 900 เมกะวัตต์ ดังนั้นทุกฝ่ายจึงเห็นร่วมกันว่า หากยังใช้แผนพีดีพีฉบับปัจจุบันไปจนถึง 15 ปี หรือ พ.ศ. 2564 ก็คาดว่าการก่อสร้างโรงไฟฟ้าจริงที่จะอิงกับแผนพยากรณ์ จะทำให้มีโรงไฟฟ้าใหม่เกิดขึ้นเกินความจำเป็นถึง 5,000 เมกะวัตต์ หรือก่อสร้างเกินความเป็นจริง 200,000 ล้านบาท และทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้บริโภคในด้านค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น
ดังนั้น การทำแผนพีพีดีฉบับใหม่จึงควรเปิดกว้าง ดูพลังงานที่จะเข้ามาป้อนความต้องการได้ โดยเฉพาะระบบโคเจนเนอเรชั่น โรงไฟฟ้าเอสพีพีที่มาจากพลังงานทางเลือก ซึ่งขณะนี้กระทรวงพลังงานกำลังเปิดระบบซื้อไฟฟ้าแบบเอสพีพีเและวีเอสพีพี คาดว่าน่าจะมีโรงไฟฟ้าประเภทนี้เข้ามาถึง 3,000 เมกะวัตต์ และเมื่อแผนพีดีพีเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นจึงควรพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยคาดว่า การทำแผนพีดีพีที่จะดูระยะยาวไม่น่าจะเสร็จภายในธันวาคมนี้ ดังนั้นการประมูลโรงไฟฟ้าเอกชนขนาดใหญ่ (ไอพีพี) จึงควรประมูลเฉพาะที่จำเป็นในช่วง 4-5 ปีแรกนับจากนี้ และเมื่อพิจารณาภาพรวมแล้ว คาดว่าการปะมูลไอพีพีไม่น่าจะถึง 10,000 เมกะวัตต์ ตามที่กระทรวงพลังงานคาดไว้ที่ประเมินจากแผนเดิม โดยคาดว่าน่าจะประมูลเท่าที่จำเป็น คือประมาณ 2,000 เมกะวัตต์ก็เพียงพอแล้ว โดยการประมูลไม่ควรเร่งรีบทำตามเป้าหมายที่กระทรวงพลังงานประกาศไว้ว่าจะเกิดขึ้นในไตรมาส 1 ปีหน้า แต่ต้องทำอย่างรอบคอบหลังไตรมาส 2 ไปแล้ว นอกจากนี้การที่ กฟผ.เสนอการใช้เชื้อเพลิงถ่านหิน ก็ควรให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาราคาถ่านหินว่าจะเป็นเท่าใด เพราะไม่น่าเชื่อว่าราคาถ่านหินจะมีเสถียรภาพนานถึง 15 ปี
ด้าน น.ส.สายรุ้ง ทองปลอน ผู้จัดการสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค กล่าวว่า ถือเป็นเรื่องดีที่กระทรวงพลังงานจัดรับฟังความเห็นในการทำแผนพีดีพี อย่างไรก็ตาม แผนดังกล่าวไม่น่ามีการปักธงไว้ล่วงหน้าว่าจะมีการประมูลไอพีพีถึง 10,000 เมกะวัตต์ในปีหน้า โดยเมื่อแผนพีดีพีเกี่ยวกับประชาชน สิ่งแวดล้อมและอื่น ๆ จึงน่าจะฟังความเห็นจากทุกฝ่าย รวมทั้งทางเทคนิคด้วย ซึ่งจากการประชุมหน่วยงานเพื่อรับฟังความเห็นในวันนี้ กระทรวงพลังงานยอมรับว่า เมื่อเศรษฐกิจชะลอตัว การประมูลไอพีพีรอบใหม่ที่เดิมคาดว่าจะมีโรงไฟฟ้าใหม่ในปี 2554 ก็อาจจะเลื่อนออกไปก่อนได้ ดังนั้นการประมูลไอพีพีไม่น่าจะเกิดในปี 2550 แต่ควรทำหลังทำแผนพีดีพีอย่างสมบูรณ์แล้วในปี 2551 และควรประมูลเท่าที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าจริงเกิดขึ้นเท่านั้น
เปิดรับฟังความคิดเห็นแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า
นายณอคุณ สิทธิพงศ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กระทรวงพลังงานได้จัดประชุมเตรียมการรับฟังความคิดเห็นแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า หรือ พีดีพี 2006 โดยเชิญองค์กรอิสระ (เอ็นจีโอ) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมหารือ และเปิดให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะเรื่อง แผนพัฒนาการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (2006) โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ประกอบด้วย การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน นักวิชาการด้านพลังงาน สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค และองค์กรอิสระ (เอ็นจีโอ) ที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมแสดงความคิดเห็น ซึ่งการประชุมครั้งนี้เป็นไปตามนโยบายที่ได้รับจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานต้องการให้มีการรับฟังความคิดเห็นอย่างกว้างขวางจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยข้อสรุปจากที่ประชุมจะมีการปรับปรุงค่าพยากรณ์ใหม่เพื่อให้เหมาะสมยิ่งขึ้นสอดคล้องตามภาวะเศรษฐกิจ นอกจากนี้ในการจัดทำแผนพีดีพีใหม่ ทุกฝ่ายเห็นพ้องตรงกันการให้ความสำคัญโดยยึดหลักของเศรษฐกิจแบบพอเพียง ตามนโยบายของกระทรวงพลังงาน และเน้นการให้ประชาชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นมากขึ้น โดยเฉพาะให้ความสำคัญของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมในการผลิตไฟฟ้า การส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน และคำนึงถึงราคาค่าไฟฟ้าที่เป็นธรรม เป็นต้น
นายณอคุณ สิทธิพงศ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ที่ประชุมรับฟังความคิดเห็นเบื้องต้น สำหรับการจัดทำแผนพัฒนากำลังไฟฟ้าระยะยาว 15 ปี (พีดีพี) ได้มีการเชิญหน่วยงานด้านพลังงานที่เกี่ยวข้องและตัวแทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย องค์กรนอกภาครัฐ (เอ็นจีโอ) มาให้ความเห็น ซึ่งที่ประชุมเห็นร่วมกันว่า ในการจัดทำแผนพีดีพีครั้งใหม่ ถือเป็นครั้งแรกที่จะมีการจัดรับฟังความเห็นของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยจะมีการจัดรับฟังความคิดเห็นภายในเดือนธันวาคมนี้ ซึ่งก่อนการจัดการรับฟังดังกล่าว จะต้องมีการจัดทำแผนพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าฉบับใหม่ให้ใกล้เคียงความเป็นจริง เพราะปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีการพยากรณ์ที่เกินความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เป็นจริง เนื่องจากเศรษฐกิจไม่เติบโตอย่างที่คาดคิด ซึ่งการทำแผนพยากรณ์แผนพีดีพีจะมีการพิจารณาทั้งความต้องการใช้ไฟฟ้า พลังงานทางเลือก ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาชุมชน ค่าไฟฟ้า รวมทั้งสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้าที่เหมาะสมกับเชื้อเพลิงที่จะนำมาใช้ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในอนาคต
ด้านนายเดชรัตน์ สุขกำเนิด อาจารย์ประจำคณะเศรษศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า แผนการพยากรณ์ไฟฟ้าในพีดีพีฉบับปัจจุบัน โดยเฉพาะปี 2549 การพยากรณ์เกินความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีค) ไปถึงระดับ 900 เมกะวัตต์ ดังนั้นทุกฝ่ายจึงเห็นร่วมกันว่า หากยังใช้แผนพีดีพีฉบับปัจจุบันไปจนถึง 15 ปี หรือ พ.ศ. 2564 ก็คาดว่าการก่อสร้างโรงไฟฟ้าจริงที่จะอิงกับแผนพยากรณ์ จะทำให้มีโรงไฟฟ้าใหม่เกิดขึ้นเกินความจำเป็นถึง 5,000 เมกะวัตต์ หรือก่อสร้างเกินความเป็นจริง 200,000 ล้านบาท และทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้บริโภคในด้านค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น
ดังนั้น การทำแผนพีพีดีฉบับใหม่จึงควรเปิดกว้าง ดูพลังงานที่จะเข้ามาป้อนความต้องการได้ โดยเฉพาะระบบโคเจนเนอเรชั่น โรงไฟฟ้าเอสพีพีที่มาจากพลังงานทางเลือก ซึ่งขณะนี้กระทรวงพลังงานกำลังเปิดระบบซื้อไฟฟ้าแบบเอสพีพีเและวีเอสพีพี คาดว่าน่าจะมีโรงไฟฟ้าประเภทนี้เข้ามาถึง 3,000 เมกะวัตต์ และเมื่อแผนพีดีพีเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นจึงควรพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยคาดว่า การทำแผนพีดีพีที่จะดูระยะยาวไม่น่าจะเสร็จภายในธันวาคมนี้ ดังนั้นการประมูลโรงไฟฟ้าเอกชนขนาดใหญ่ (ไอพีพี) จึงควรประมูลเฉพาะที่จำเป็นในช่วง 4-5 ปีแรกนับจากนี้ และเมื่อพิจารณาภาพรวมแล้ว คาดว่าการปะมูลไอพีพีไม่น่าจะถึง 10,000 เมกะวัตต์ ตามที่กระทรวงพลังงานคาดไว้ที่ประเมินจากแผนเดิม โดยคาดว่าน่าจะประมูลเท่าที่จำเป็น คือประมาณ 2,000 เมกะวัตต์ก็เพียงพอแล้ว โดยการประมูลไม่ควรเร่งรีบทำตามเป้าหมายที่กระทรวงพลังงานประกาศไว้ว่าจะเกิดขึ้นในไตรมาส 1 ปีหน้า แต่ต้องทำอย่างรอบคอบหลังไตรมาส 2 ไปแล้ว นอกจากนี้การที่ กฟผ.เสนอการใช้เชื้อเพลิงถ่านหิน ก็ควรให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาราคาถ่านหินว่าจะเป็นเท่าใด เพราะไม่น่าเชื่อว่าราคาถ่านหินจะมีเสถียรภาพนานถึง 15 ปี
ด้าน น.ส.สายรุ้ง ทองปลอน ผู้จัดการสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค กล่าวว่า ถือเป็นเรื่องดีที่กระทรวงพลังงานจัดรับฟังความเห็นในการทำแผนพีดีพี อย่างไรก็ตาม แผนดังกล่าวไม่น่ามีการปักธงไว้ล่วงหน้าว่าจะมีการประมูลไอพีพีถึง 10,000 เมกะวัตต์ในปีหน้า โดยเมื่อแผนพีดีพีเกี่ยวกับประชาชน สิ่งแวดล้อมและอื่น ๆ จึงน่าจะฟังความเห็นจากทุกฝ่าย รวมทั้งทางเทคนิคด้วย ซึ่งจากการประชุมหน่วยงานเพื่อรับฟังความเห็นในวันนี้ กระทรวงพลังงานยอมรับว่า เมื่อเศรษฐกิจชะลอตัว การประมูลไอพีพีรอบใหม่ที่เดิมคาดว่าจะมีโรงไฟฟ้าใหม่ในปี 2554 ก็อาจจะเลื่อนออกไปก่อนได้ ดังนั้นการประมูลไอพีพีไม่น่าจะเกิดในปี 2550 แต่ควรทำหลังทำแผนพีดีพีอย่างสมบูรณ์แล้วในปี 2551 และควรประมูลเท่าที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าจริงเกิดขึ้นเท่านั้น
เปิดรับฟังความคิดเห็นแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า
นายณอคุณ สิทธิพงศ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กระทรวงพลังงานได้จัดประชุมเตรียมการรับฟังความคิดเห็นแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า หรือ พีดีพี 2006 โดยเชิญองค์กรอิสระ (เอ็นจีโอ) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมหารือ และเปิดให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะเรื่อง แผนพัฒนาการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (2006) โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ประกอบด้วย การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน นักวิชาการด้านพลังงาน สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค และองค์กรอิสระ (เอ็นจีโอ) ที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมแสดงความคิดเห็น ซึ่งการประชุมครั้งนี้เป็นไปตามนโยบายที่ได้รับจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานต้องการให้มีการรับฟังความคิดเห็นอย่างกว้างขวางจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยข้อสรุปจากที่ประชุมจะมีการปรับปรุงค่าพยากรณ์ใหม่เพื่อให้เหมาะสมยิ่งขึ้นสอดคล้องตามภาวะเศรษฐกิจ นอกจากนี้ในการจัดทำแผนพีดีพีใหม่ ทุกฝ่ายเห็นพ้องตรงกันการให้ความสำคัญโดยยึดหลักของเศรษฐกิจแบบพอเพียง ตามนโยบายของกระทรวงพลังงาน และเน้นการให้ประชาชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นมากขึ้น โดยเฉพาะให้ความสำคัญของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมในการผลิตไฟฟ้า การส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน และคำนึงถึงราคาค่าไฟฟ้าที่เป็นธรรม เป็นต้น