การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยพร้อมแข่งขันสร้างโรงไฟฟ้าใหม่สำหรับความต้องการใช้ไฟฟ้ารอบใหม่ได้ เหตุมีพื้นที่เก่าพร้อมสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมไม่ต่ำกว่า 3,500 เมกะวัตต์ และสามารถสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินได้อีก 3,000-4,000 เมกะวัตต์ มั่นใจฐานะการเงินสามารถลงทุนได้ ส่วนปี 2550 เตรียมกู้หรือออกพันธบัตรวงเงินรวม 9,000 ล้านบาท
นายไกรสีห์ กรรณสูต ผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 24 พฤศจิกายนนี้ กระทรวงพลังงานได้นัดหารือก่อนที่จะจัดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนากำลังไฟฟ้าระยะยาว (พีดีพี) รอบใหม่ โดยที่ กฟผ.เสนอว่าให้มีการใช้ถ่านหินร้อยละ 40 ก๊าซธรรมชาติร้อยละ 40 และมีการรับซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศอีกร้อยละ 20 เป็นเพียงกรอบที่ตั้งไว้เบื้องต้นเท่านั้น เพื่อกระจายความเสี่ยงของการใช้เชื้อเพลิง และตั้งเป้าหมายให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าต่ำที่สุด ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนได้โดยคงจะต้องพิจารณาด้วยจะมีเชื้อเพลิงอะไรมาแทนถ่านหิน
นายไกรสีห์ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่แน่ชัดว่า กฟผ.จะได้ก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ในสัดส่วนร้อยละ 50 ของความต้องการใหม่ที่จะเกิดขึ้นในปี 2554-2558 ประมาณ 11,000 เมกะวัตต์หรือไม่ แต่หากจะแข่งขันเรื่องอัตราค่าไฟฟ้ากับภาคเอกชน กฟผ.มั่นใจว่าแข่งขันได้อย่างแน่นอน เพราะ กฟผ.มีพื้นที่เก่าที่พร้อมจะสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ในขณะที่แต่ละแห่งมีท่อก๊าซธรรมชาติและสายส่งสร้างเชื่อมอยู่แล้ว โดยพื้นที่ที่พร้อมก่อสร้างสามารถมีโรงไฟฟ้าใหม่ไม่ต่ำกว่า 3,500 เมกะวัตต์ ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าวังน้อย 700 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ 700 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าสงขลา 700 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าบางปะกง 1,400 เมกะวัตต์ ขณะที่เตรียมพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินได้อีกไม่ต่ำกว่า 3,000-4,000 เมกะวัตต์
ผู้ว่าการ กฟผ. กล่าวอีกว่า จากการศึกษาเรื่องฐานะการเงินในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม 700 เมกะวัตต์ จำนวน 5 โรงไฟฟ้า วงเงินประมาณ 85,000 ล้านบาท กฟผ. สามารถกู้เงินก่อสร้างได้ โดยมีสัดส่วนหนี้ต่อทุนไม่เกิน 1 ต่อ 1 จากปัจจุบันอยู่ที่อัตรา 0.8 ต่อ 1 ส่วนการก่อสร้างโรงไฟฟ้า 4 โรงที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้จะใช้เม็ดเงินรวม 200,000 ล้านบาท จากปี 2548-2553 นั้น กฟผ.ได้เตรียมกู้เงินและเตรียมเงินจากการดำเนินการของ กฟผ.ไว้แล้ว สามารถเดินหน้าโครงการอย่างไม่มีปัญหา
โดยในปี 2550 มีความจำเป็นต้องใช้เงินลงทุน 14,000 ล้านบาท และต้องรีไฟแนนซ์เงินกู้เดิมอีก 2,000 ล้านบาท โดย กฟผ.จะใช้เงินทุนจากการดำเนินการ 7,000 ล้านบาท ส่วนอีก 9,000 ล้านบาท อาจเป็นการกู้หรือออกพันธบัตรในประเทศทั้งหมด ซึ่งกำลังดูช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยเฉพาะดูช่วงเวลาที่อัตราดอกเบี้ยลดลง เพราะตามที่ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์คือดอกเบี้ยอาจลดลงช่วงครึ่งหลังของปีหน้า ซึ่งอาจเป็นช่วงที่เหมาะสำหรับการกู้
นายไกรสีห์ กรรณสูต ผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 24 พฤศจิกายนนี้ กระทรวงพลังงานได้นัดหารือก่อนที่จะจัดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนากำลังไฟฟ้าระยะยาว (พีดีพี) รอบใหม่ โดยที่ กฟผ.เสนอว่าให้มีการใช้ถ่านหินร้อยละ 40 ก๊าซธรรมชาติร้อยละ 40 และมีการรับซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศอีกร้อยละ 20 เป็นเพียงกรอบที่ตั้งไว้เบื้องต้นเท่านั้น เพื่อกระจายความเสี่ยงของการใช้เชื้อเพลิง และตั้งเป้าหมายให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าต่ำที่สุด ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนได้โดยคงจะต้องพิจารณาด้วยจะมีเชื้อเพลิงอะไรมาแทนถ่านหิน
นายไกรสีห์ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่แน่ชัดว่า กฟผ.จะได้ก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ในสัดส่วนร้อยละ 50 ของความต้องการใหม่ที่จะเกิดขึ้นในปี 2554-2558 ประมาณ 11,000 เมกะวัตต์หรือไม่ แต่หากจะแข่งขันเรื่องอัตราค่าไฟฟ้ากับภาคเอกชน กฟผ.มั่นใจว่าแข่งขันได้อย่างแน่นอน เพราะ กฟผ.มีพื้นที่เก่าที่พร้อมจะสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ในขณะที่แต่ละแห่งมีท่อก๊าซธรรมชาติและสายส่งสร้างเชื่อมอยู่แล้ว โดยพื้นที่ที่พร้อมก่อสร้างสามารถมีโรงไฟฟ้าใหม่ไม่ต่ำกว่า 3,500 เมกะวัตต์ ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าวังน้อย 700 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ 700 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าสงขลา 700 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าบางปะกง 1,400 เมกะวัตต์ ขณะที่เตรียมพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินได้อีกไม่ต่ำกว่า 3,000-4,000 เมกะวัตต์
ผู้ว่าการ กฟผ. กล่าวอีกว่า จากการศึกษาเรื่องฐานะการเงินในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม 700 เมกะวัตต์ จำนวน 5 โรงไฟฟ้า วงเงินประมาณ 85,000 ล้านบาท กฟผ. สามารถกู้เงินก่อสร้างได้ โดยมีสัดส่วนหนี้ต่อทุนไม่เกิน 1 ต่อ 1 จากปัจจุบันอยู่ที่อัตรา 0.8 ต่อ 1 ส่วนการก่อสร้างโรงไฟฟ้า 4 โรงที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้จะใช้เม็ดเงินรวม 200,000 ล้านบาท จากปี 2548-2553 นั้น กฟผ.ได้เตรียมกู้เงินและเตรียมเงินจากการดำเนินการของ กฟผ.ไว้แล้ว สามารถเดินหน้าโครงการอย่างไม่มีปัญหา
โดยในปี 2550 มีความจำเป็นต้องใช้เงินลงทุน 14,000 ล้านบาท และต้องรีไฟแนนซ์เงินกู้เดิมอีก 2,000 ล้านบาท โดย กฟผ.จะใช้เงินทุนจากการดำเนินการ 7,000 ล้านบาท ส่วนอีก 9,000 ล้านบาท อาจเป็นการกู้หรือออกพันธบัตรในประเทศทั้งหมด ซึ่งกำลังดูช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยเฉพาะดูช่วงเวลาที่อัตราดอกเบี้ยลดลง เพราะตามที่ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์คือดอกเบี้ยอาจลดลงช่วงครึ่งหลังของปีหน้า ซึ่งอาจเป็นช่วงที่เหมาะสำหรับการกู้