ที่ประชุมระดับรัฐมนตรีสมาชิกกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิปิก (เอเปก) ตกลงที่จะเพิ่มความร่วมมือด้านต่างๆ ระหว่างกัน ซึ่งในส่วนของความร่วมมือการค้า จะอำนวยทางการค้า และลดต้นทุนต่างๆ มากขึ้น ซึ่งไทยพร้อมดำเนินการที่จะเพิ่มความสะดวกในเรื่องธุรกรรมการค้าของสมาชิกเอเปกมากขึ้น

การประชุมระดับรัฐมนตรีของกลุ่มเอเปก วันที่ 2 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายมีการหารือกันในเรื่องต่างๆ เพื่อรอเสนอการประชุมผู้นำเอเปกพิจารณา ซึ่งประเด็นในการหารือประกอบด้วยเรื่องบทบาทของเอเปกในการสนับสนุนองค์การการค้าโลกในการแก้ปัญหาความชะงักงันของการเจรจาการค้ารอบโดฮา การจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเปก ซึ่งที่ประชุมเห็นพ้องต้องกันว่าเป็นเรื่องระยะยาวที่ต้องศึกษาข้อมูลต่างๆ ต่อไป เรื่องของแผนปฏิบัติการฮานอยซึ่งเป็นแผนปฏิบัติการตามแนวทางปูซาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายโบกอร์ การทำงานร่วมกันระหว่างเอเปกกับเอกชนโดยเฉพาะในการสนับสนุนองค์การการค้าโลก การต่อต้านการก่อการร้ายเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการขจัดภัยคุกคาม และการปฏิรูปเอเปกเพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานและโครงสร้างสำนักเลขาธิการเอเปก
สำหรับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการค้า นายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า เรื่องการอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างสมาชิกกลุ่มเอเปก ถือเป็นงานที่ไทยให้ความสำคัญ โดยเห็นว่า จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศกำลังพัฒนาและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ เอสเอ็มอี ประกอบด้วย 4 เรื่อง คือ พิธีการศุลกากร มาตรฐานสินค้า การเดินทางของนักธุรกิจ และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ กลุ่มเอเปกยังตั้งเป้าหมายลดต้นทุนการทำธุรกรรมทางการค้าของสมาชิกในกลุ่มให้ได้อีกร้อยละ 5 ภายในปี 2553 จากเป้าหมายร้อยละ 10 ซึ่งขณะนี้ได้ลดต้นทุนต่างๆ ลงไปได้แล้วประมาณร้อยละ 5 ขณะเดียวกัน กลุ่มเอเปกยังวางแผนที่จะพัฒนาระบบเทคโนโลยีและไอซีที เพื่อนำมาใช้ในธุรกรรมการค้าให้มากขึ้นรวมทั้งการร่วมมือทางทรัพย์สินทางปัญญา โดยเกิดความโปร่งใส ไม่มีการปลอมแปลงตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงการจัดจำหน่าย
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา การดำเนินงานอำนวยความสะดวกทางการค้าของไทยตามกรอบความตกลงของเอเปก ไทยได้จัดตั้ง One-Stop Service Center เพื่อออกใบอนุญาตต่างๆ และเอกสารที่จำเป็นในคราวเดียวกัน ในด้านพิธีการศุลกากร การจัดทำ Single Window เพื่อให้ผู้นำเข้ามีความสะดวกด้านศุลกากรด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว การจัดทำ e-declaration, e-manifest, e-payment การรับขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศ การปรับมาตรฐานสินค้าในประเทศให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เช่น เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น วิทยุ ฯลฯ การออก APEC Business Travel Card ให้แก่นักธุรกิจ
ขณะที่การอำนวยความสะดวกทางการค้าในระยะต่อไปของกลุ่มเอเปกอีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งเสนอต่อที่ประชุมรัฐมนตรีกลุ่มเอเปกครั้งนี้ ได้แก่ แผนปฏิบัติงานร่วมของสมาชิก เช่น การใช้ Single Window การจัดทำข้อมูลด้านศุลกากรให้อยู่ในรูป e-format แผนปฏิบัติการเปิดเสรีการค้าการลงทุนของสมาชิกโดยสมัครใจ โครงการนำร่องสำหรับสมาชิกที่มีความพร้อม
ทั้งนี้ ก่อนการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเปก รัฐมนตรีจากสมาชิกที่เข้าร่วมประชุมจาก 21 เขตเศรษฐกิจได้ถ่ายภาพหมู่ร่วมกัน สำหรับสมาชิกเอเปก ประกอบด้วย 21 เขตเศรษฐกิจ ได้แก่ ไทย บรูไน จีน เกาหลีใต้ เม็กซิโก ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ สหรัฐ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ รัสเซีย มาเลเซีย ไต้หวัน ฮ่องกง ปาปัวนิวกินี สิงคโปร์ แคนาดา ชิลี เปรู อินโดนีเซีย และเวียดนาม
การประชุมระดับรัฐมนตรีของกลุ่มเอเปก วันที่ 2 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายมีการหารือกันในเรื่องต่างๆ เพื่อรอเสนอการประชุมผู้นำเอเปกพิจารณา ซึ่งประเด็นในการหารือประกอบด้วยเรื่องบทบาทของเอเปกในการสนับสนุนองค์การการค้าโลกในการแก้ปัญหาความชะงักงันของการเจรจาการค้ารอบโดฮา การจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเปก ซึ่งที่ประชุมเห็นพ้องต้องกันว่าเป็นเรื่องระยะยาวที่ต้องศึกษาข้อมูลต่างๆ ต่อไป เรื่องของแผนปฏิบัติการฮานอยซึ่งเป็นแผนปฏิบัติการตามแนวทางปูซาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายโบกอร์ การทำงานร่วมกันระหว่างเอเปกกับเอกชนโดยเฉพาะในการสนับสนุนองค์การการค้าโลก การต่อต้านการก่อการร้ายเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการขจัดภัยคุกคาม และการปฏิรูปเอเปกเพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานและโครงสร้างสำนักเลขาธิการเอเปก
สำหรับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการค้า นายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า เรื่องการอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างสมาชิกกลุ่มเอเปก ถือเป็นงานที่ไทยให้ความสำคัญ โดยเห็นว่า จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศกำลังพัฒนาและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ เอสเอ็มอี ประกอบด้วย 4 เรื่อง คือ พิธีการศุลกากร มาตรฐานสินค้า การเดินทางของนักธุรกิจ และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ กลุ่มเอเปกยังตั้งเป้าหมายลดต้นทุนการทำธุรกรรมทางการค้าของสมาชิกในกลุ่มให้ได้อีกร้อยละ 5 ภายในปี 2553 จากเป้าหมายร้อยละ 10 ซึ่งขณะนี้ได้ลดต้นทุนต่างๆ ลงไปได้แล้วประมาณร้อยละ 5 ขณะเดียวกัน กลุ่มเอเปกยังวางแผนที่จะพัฒนาระบบเทคโนโลยีและไอซีที เพื่อนำมาใช้ในธุรกรรมการค้าให้มากขึ้นรวมทั้งการร่วมมือทางทรัพย์สินทางปัญญา โดยเกิดความโปร่งใส ไม่มีการปลอมแปลงตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงการจัดจำหน่าย
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา การดำเนินงานอำนวยความสะดวกทางการค้าของไทยตามกรอบความตกลงของเอเปก ไทยได้จัดตั้ง One-Stop Service Center เพื่อออกใบอนุญาตต่างๆ และเอกสารที่จำเป็นในคราวเดียวกัน ในด้านพิธีการศุลกากร การจัดทำ Single Window เพื่อให้ผู้นำเข้ามีความสะดวกด้านศุลกากรด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว การจัดทำ e-declaration, e-manifest, e-payment การรับขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศ การปรับมาตรฐานสินค้าในประเทศให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เช่น เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น วิทยุ ฯลฯ การออก APEC Business Travel Card ให้แก่นักธุรกิจ
ขณะที่การอำนวยความสะดวกทางการค้าในระยะต่อไปของกลุ่มเอเปกอีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งเสนอต่อที่ประชุมรัฐมนตรีกลุ่มเอเปกครั้งนี้ ได้แก่ แผนปฏิบัติงานร่วมของสมาชิก เช่น การใช้ Single Window การจัดทำข้อมูลด้านศุลกากรให้อยู่ในรูป e-format แผนปฏิบัติการเปิดเสรีการค้าการลงทุนของสมาชิกโดยสมัครใจ โครงการนำร่องสำหรับสมาชิกที่มีความพร้อม
ทั้งนี้ ก่อนการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเปก รัฐมนตรีจากสมาชิกที่เข้าร่วมประชุมจาก 21 เขตเศรษฐกิจได้ถ่ายภาพหมู่ร่วมกัน สำหรับสมาชิกเอเปก ประกอบด้วย 21 เขตเศรษฐกิจ ได้แก่ ไทย บรูไน จีน เกาหลีใต้ เม็กซิโก ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ สหรัฐ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ รัสเซีย มาเลเซีย ไต้หวัน ฮ่องกง ปาปัวนิวกินี สิงคโปร์ แคนาดา ชิลี เปรู อินโดนีเซีย และเวียดนาม