รมว.-รมช.คมนาคม ลงพื้นที่พบปะกับชาวบ้านที่ได้ยื่นข้อร้องเรียนขอให้ช่วยเหลือแก้ไขปัญหาผลกระทบมลภาวะทางเสียงของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยชาวบ้านที่เข้าร่วมกว่า 300 คนในวันนี้ (15 พ.ย.) ได้ขอให้ภาครัฐสร้างความชัดเจนแนวทางการจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้เดือดร้อน ขณะที่ รมว.คมนาคม สั่งการให้บริษัทท่าอากาศยานไทย (ทอท.) ลงพื้นที่สำรวจระดับเสียงทุกหมู่บ้านในสัปดาห์หน้า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันนี้ (15 พ.ย.) พล.ร.อ.ธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและนายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะผู้บริหารท่าอากาศยานไทย ได้พบปะกับชาวบ้านในพื้นที่โดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิ และเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร กว่า 300 คน ที่มารวมตัวเพื่อยื่นขอเรียกร้องบริเวณศาลาของวัดบางโฉลง โดยชาวบ้านทั้งหมดเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณโดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิและได้รับผลกระทบมลภาวะทางเสียงจากการขึ้นลงของเครื่องบิน โดยประชาชนส่วนใหญ่ที่เป็นตัวแทนมาจากหมู่บ้านต่าง ๆ ได้นำข้อเสนอของความเดือนร้อนที่เกิดจากปัญหาดังกล่าว ซึ่งระดับความรุนแรงตั้งแต่ระดับเสียงที่ทำให้หลังคาบ้านและฝ้าเพดานเสียหาย จนถึงมลภาวะทางเสียงทำลายจิตใจ รวมทั้งขอให้ภาครัฐและบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (ทอท.) สร้างความชัดเจนถึงแนวทางในการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ประชาชนผู้เดือดร้อน
พล.ร.อ.ธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การลงพื้นที่วันนี้ (15 พ.ย.) เพื่อรับฟังความเดือดร้อนของประชนชนทั้งหมด เบื้องต้นยอมรับว่า มลภาวะทางเสียงนี้ ถือเป็นสิ่งสำคัญและสร้างความเดือนให้แก่ประชาชนจริง และ ทอท.จะต้องดำเนินการหาแนวทางชดเชยให้กับประชาชน โดยเบื้องต้นพื้นที่ทางด้านทิศเหนือของสนามบินนั้น ในส่วนนี้มีประชาชนเดือดร้อนประมาณ 71 ครัวเรือน และ ทอท.ได้เตรียมงบประมาณในการจ่ายชดเชยให้กับประชาชนแล้ว และรอการอนุมัติการเบิกจ่ายของคณะกรรมการ หรือบอร์ด ทอท.ชุดใหม่ เท่านั้น
ทั้งนี้ สำหรับแนวทางการพิจารณาจ่ายเงินชดเชยให้ผู้เดือดร้อนแต่ละรายนั้น จะยึดหลักความเดือดร้อนที่ได้รับผลกระทบจริง โดยใช้การตรวจสอบทางเทคนิคด้านเสียง โดยใช้เกณฑ์ความดังของเสียงระดับ 40 NOISE EXPOSURE FORECAST ( NEF) ซึ่งเท่ากับเสียงเฉลี่ยประมาณ 70-75 เดซิเบล โดยเกณฑ์ดังกล่าวหากพื้นที่ใดได้รับผลกระทบเกินกว่า 40 NEF ขึ้นไปสามารถให้ ทอท.หาแนวทางชดเชย โดยการจ่ายเงินเวนคืนที่ดิน ส่วนประชาชนที่ได้รับเสียงต่ำกว่า 40 NEF ก็จะหาแนวทางชดเชยในการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยให้ โดยในสัปดาห์หน้า ได้สั่งการให้ผู้แทนของ ทอท.ให้ลงสำรวจความเสียหายทุกหมู่บ้านที่อยู่รอบสนามบินเพื่อนำมาเป็นข้อมูลจ่ายชดเชยต่อไป
สำหรับวงเงินงบประมาณในการชดเชยเบื้องต้นได้สั่งการให้ ทอท.เป็นผู้ดูแลวงเงินในการจ่ายชดเชยทั้งหมด แต่หากผลการสำรวจทำให้วงเงินที่ต้องจ่ายสูงขึ้นเกินกว่าที่ ทอท.รับได้ก็จะกลับมาพิจารณาหาแนวทางช่วยเหลืออีกครั้ง
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมยังได้กล่าวถึงข้อร้องเรียนของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บมจ.การบินไทย ต่อปัญหาการที่มีคนงานก่อสร้างในพื้นที่สนามบินสุวรรณภูมิคุกคามทางเพศพนักงานในช่วงกลางคืนนั้น ในส่วนนี้กระทรวงคมนาคมได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาอย่างเฉียบขาด และหากพบว่ามีคนงานกระทำความผิดจริงก็จะลงโทษอย่างหนัก เนื่องจากปัญหาดังกล่าวได้กล่าวได้สร้างปัญหาและเสียชื่อเสียง ส่วนมาตรการในการป้องกันที่เกิดขึ้นนั้น นอกจากเพิ่มมาตรการควบคุมความปลอดภัยด้านอื่นแล้ว ยังขอให้ ทอท.ให้ความสำคัญกับข้อมูลด้านการข่าวในพื้นที่เกี่ยวกับปัญหาอาชญากรรมในพื้นที่อีกด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันนี้ (15 พ.ย.) พล.ร.อ.ธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและนายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะผู้บริหารท่าอากาศยานไทย ได้พบปะกับชาวบ้านในพื้นที่โดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิ และเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร กว่า 300 คน ที่มารวมตัวเพื่อยื่นขอเรียกร้องบริเวณศาลาของวัดบางโฉลง โดยชาวบ้านทั้งหมดเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณโดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิและได้รับผลกระทบมลภาวะทางเสียงจากการขึ้นลงของเครื่องบิน โดยประชาชนส่วนใหญ่ที่เป็นตัวแทนมาจากหมู่บ้านต่าง ๆ ได้นำข้อเสนอของความเดือนร้อนที่เกิดจากปัญหาดังกล่าว ซึ่งระดับความรุนแรงตั้งแต่ระดับเสียงที่ทำให้หลังคาบ้านและฝ้าเพดานเสียหาย จนถึงมลภาวะทางเสียงทำลายจิตใจ รวมทั้งขอให้ภาครัฐและบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (ทอท.) สร้างความชัดเจนถึงแนวทางในการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ประชาชนผู้เดือดร้อน
พล.ร.อ.ธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การลงพื้นที่วันนี้ (15 พ.ย.) เพื่อรับฟังความเดือดร้อนของประชนชนทั้งหมด เบื้องต้นยอมรับว่า มลภาวะทางเสียงนี้ ถือเป็นสิ่งสำคัญและสร้างความเดือนให้แก่ประชาชนจริง และ ทอท.จะต้องดำเนินการหาแนวทางชดเชยให้กับประชาชน โดยเบื้องต้นพื้นที่ทางด้านทิศเหนือของสนามบินนั้น ในส่วนนี้มีประชาชนเดือดร้อนประมาณ 71 ครัวเรือน และ ทอท.ได้เตรียมงบประมาณในการจ่ายชดเชยให้กับประชาชนแล้ว และรอการอนุมัติการเบิกจ่ายของคณะกรรมการ หรือบอร์ด ทอท.ชุดใหม่ เท่านั้น
ทั้งนี้ สำหรับแนวทางการพิจารณาจ่ายเงินชดเชยให้ผู้เดือดร้อนแต่ละรายนั้น จะยึดหลักความเดือดร้อนที่ได้รับผลกระทบจริง โดยใช้การตรวจสอบทางเทคนิคด้านเสียง โดยใช้เกณฑ์ความดังของเสียงระดับ 40 NOISE EXPOSURE FORECAST ( NEF) ซึ่งเท่ากับเสียงเฉลี่ยประมาณ 70-75 เดซิเบล โดยเกณฑ์ดังกล่าวหากพื้นที่ใดได้รับผลกระทบเกินกว่า 40 NEF ขึ้นไปสามารถให้ ทอท.หาแนวทางชดเชย โดยการจ่ายเงินเวนคืนที่ดิน ส่วนประชาชนที่ได้รับเสียงต่ำกว่า 40 NEF ก็จะหาแนวทางชดเชยในการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยให้ โดยในสัปดาห์หน้า ได้สั่งการให้ผู้แทนของ ทอท.ให้ลงสำรวจความเสียหายทุกหมู่บ้านที่อยู่รอบสนามบินเพื่อนำมาเป็นข้อมูลจ่ายชดเชยต่อไป
สำหรับวงเงินงบประมาณในการชดเชยเบื้องต้นได้สั่งการให้ ทอท.เป็นผู้ดูแลวงเงินในการจ่ายชดเชยทั้งหมด แต่หากผลการสำรวจทำให้วงเงินที่ต้องจ่ายสูงขึ้นเกินกว่าที่ ทอท.รับได้ก็จะกลับมาพิจารณาหาแนวทางช่วยเหลืออีกครั้ง
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมยังได้กล่าวถึงข้อร้องเรียนของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บมจ.การบินไทย ต่อปัญหาการที่มีคนงานก่อสร้างในพื้นที่สนามบินสุวรรณภูมิคุกคามทางเพศพนักงานในช่วงกลางคืนนั้น ในส่วนนี้กระทรวงคมนาคมได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาอย่างเฉียบขาด และหากพบว่ามีคนงานกระทำความผิดจริงก็จะลงโทษอย่างหนัก เนื่องจากปัญหาดังกล่าวได้กล่าวได้สร้างปัญหาและเสียชื่อเสียง ส่วนมาตรการในการป้องกันที่เกิดขึ้นนั้น นอกจากเพิ่มมาตรการควบคุมความปลอดภัยด้านอื่นแล้ว ยังขอให้ ทอท.ให้ความสำคัญกับข้อมูลด้านการข่าวในพื้นที่เกี่ยวกับปัญหาอาชญากรรมในพื้นที่อีกด้วย