กลุ่มองค์กรนอกภาครัฐหรือเอ็นจีโอคัดค้านการจัดทำแผนพัฒนากำลังไฟฟ้าระยะยาว 15 ปี หรือแผนพีดีพี ฉบับใหม่ของกระทรวงพลังงาน ระบุหากดำเนินการตามแผนดังกล่าวจะมีการก่อสร้างระบบไฟฟ้าเกินความต้องการจริง 400,000 ล้านบาท และกลายเป็นภาระตกมาถึงผู้บริโภคที่ต้องเสียค่าไฟฟ้ามากเกินจริง
กลุ่มกรีนพีซ และเอ็นจีโอ หลายหน่วยงาน รวมทั้งนักวิชาการด้านพลังงานได้จัดเสวนาเรื่อง “แผนพลังงานไฟฟ้าในอนาคต” และวิพากษ์วิจารณ์ถึงแผนพีดีพีฉบับใหม่ที่กระทรวงพลังงานได้ยึดตามข้อเสนอของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยระบุว่าแผนดังกล่าว กฟผ.ได้คำนวณจากสมมติฐานความต้องการใช้ไฟฟ้าที่สูงเกินจริง โดยจะเห็นได้จากแผนในปี 2549 แผนใหม่สูงกว่าความต้องการที่แท้จริงถึง 900 เมกะวัตต์
หากยังใช้แผนดังกล่าวต่อไปจนถึงปี 2564 แล้ว ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่ประมาณการจะสูงเกินจริงถึง 6,139 เมกะวัตต์ หรือจะมีการลงทุนเรื่องของโรงไฟฟ้า รวมทั้งระบบสายส่ง ระบบท่อก๊าซธรรมชาติสูงเกินจริงเป็นเม็ดเงินถึง 400,000 ล้านบาท และภาระเหล่านี้จะตกมาถึงผู้บริโภคที่จะต้องจ่ายค่าไฟฟ้าแพงเกินจริง
ดังนั้น กระทรวงพลังงานจึงควรทบทวนใหม่ และไม่ควรเน้นย้ำเฉพาะเชื้อเพลิงหลักที่จะมาจากก๊าซธรรมชาติและถ่านหินเท่านั้น ควรใช้หลักปฏิรูปกระบวนการวางแผนทรัพยากรแบบบูรณาการที่มีพลังงานทางเลือกและหมุนเวียนที่จะก่อให้เกิดภาระด้านเศรษฐกิจต่ำสุดต่อสังคม โดยควรจะมีการกระจายโรงไฟฟ้าขนาดเล็กให้ชุมชนดำเนินการได้เอง
นอกจากนี้ กลุ่มเอ็นจีโอ ยังคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน เนื่องจากเกรงจะเกิดปัญหามลภาวะ โดยควรเพิ่มเป้าหมายพลังงานหมุนเวียนให้มากขึ้น และควรจะนำระบบประกันรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เพื่อส่งเสริมการกระจายตัวของพลังงานในรูปแบบอื่น ๆ
นอกจากนี้ ในที่เสวนายังตั้งข้อสังเกตว่าการประมูลโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากเอกชนหรือไอพีพี ที่กระทรวงพลังงานจะเร่งรีบประมูลในไตรมาส 1 ปี 2550 รวมถึงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าของ กฟผ. รวมกำลังการผลิตประมาณ 11,000 เมกะวัตต์ เป็นการสะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลรีบเร่งและไม่ดำเนินตามนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงที่ได้ประกาศไว้และผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นถึงร้อยละ 77 จะตกกับ กฟผ.และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่หนีไม่พ้นกลุ่มทุนจะได้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้
กลุ่มกรีนพีซ และเอ็นจีโอ หลายหน่วยงาน รวมทั้งนักวิชาการด้านพลังงานได้จัดเสวนาเรื่อง “แผนพลังงานไฟฟ้าในอนาคต” และวิพากษ์วิจารณ์ถึงแผนพีดีพีฉบับใหม่ที่กระทรวงพลังงานได้ยึดตามข้อเสนอของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยระบุว่าแผนดังกล่าว กฟผ.ได้คำนวณจากสมมติฐานความต้องการใช้ไฟฟ้าที่สูงเกินจริง โดยจะเห็นได้จากแผนในปี 2549 แผนใหม่สูงกว่าความต้องการที่แท้จริงถึง 900 เมกะวัตต์
หากยังใช้แผนดังกล่าวต่อไปจนถึงปี 2564 แล้ว ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่ประมาณการจะสูงเกินจริงถึง 6,139 เมกะวัตต์ หรือจะมีการลงทุนเรื่องของโรงไฟฟ้า รวมทั้งระบบสายส่ง ระบบท่อก๊าซธรรมชาติสูงเกินจริงเป็นเม็ดเงินถึง 400,000 ล้านบาท และภาระเหล่านี้จะตกมาถึงผู้บริโภคที่จะต้องจ่ายค่าไฟฟ้าแพงเกินจริง
ดังนั้น กระทรวงพลังงานจึงควรทบทวนใหม่ และไม่ควรเน้นย้ำเฉพาะเชื้อเพลิงหลักที่จะมาจากก๊าซธรรมชาติและถ่านหินเท่านั้น ควรใช้หลักปฏิรูปกระบวนการวางแผนทรัพยากรแบบบูรณาการที่มีพลังงานทางเลือกและหมุนเวียนที่จะก่อให้เกิดภาระด้านเศรษฐกิจต่ำสุดต่อสังคม โดยควรจะมีการกระจายโรงไฟฟ้าขนาดเล็กให้ชุมชนดำเนินการได้เอง
นอกจากนี้ กลุ่มเอ็นจีโอ ยังคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน เนื่องจากเกรงจะเกิดปัญหามลภาวะ โดยควรเพิ่มเป้าหมายพลังงานหมุนเวียนให้มากขึ้น และควรจะนำระบบประกันรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เพื่อส่งเสริมการกระจายตัวของพลังงานในรูปแบบอื่น ๆ
นอกจากนี้ ในที่เสวนายังตั้งข้อสังเกตว่าการประมูลโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากเอกชนหรือไอพีพี ที่กระทรวงพลังงานจะเร่งรีบประมูลในไตรมาส 1 ปี 2550 รวมถึงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าของ กฟผ. รวมกำลังการผลิตประมาณ 11,000 เมกะวัตต์ เป็นการสะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลรีบเร่งและไม่ดำเนินตามนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงที่ได้ประกาศไว้และผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นถึงร้อยละ 77 จะตกกับ กฟผ.และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่หนีไม่พ้นกลุ่มทุนจะได้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้