ธุรกิจการบินแข่งขันสูง แอร์ฟรานซ์-เคแอลเอ็ม เผยแผนงานปี 50' ชูจุดแข็งมีเดสสิเนชั่นสูงสุดถึง 240 แห่ง ให้ลูกค้าเลือกบินไปหรือกลับ กับสายการบินใดก็ได้ทั้งสองสาย พร้อมชูระบบ"อินเตอร์เน็ต เช็คอิน" เพิ่มความสะดวกให้ลูกค้าในยุคไซเบอร์ หวังรักษาฐานลูกค้าเก่าสร้างลูกค้าใหม่ ตั้งเป้าเติบโต 10-15% ชี้ไทยเป็นเดสสิเนชั่นในฝันของนักท่องเที่ยวยุโรปอยู่แล้ว
นายธนวัฒน์ เด่นนภาสุรพงศ์ ผู้จัดการฝ่ายขาย สายการบิน แอร์ฟรานซ์ เคแอลเอ็ม ประจำประเทศไทย เวียดนาม กัมพูชา ลาว พม่า เปิดเผยแผนการตลาดในปี 2550 ว่า มี 2 กลยุทธ์หลักที่บริษัทจะดำเนินการ ได้แก่ การชูจุดขายเรื่องความสะดวกของลูกค้าที่สามารถเลือกใช้บริการได้ถึง 2 สายการบิน คือ แอร์ฟรานซ์ และ เคแอลเอ็ม ซึ่งมีจุดหมายปลายทางอยู่กว่า 240 แห่งทั่วโลกมากที่สุดจากทุกสายการบิน โดยผู้โดยสารจะเลือกเดินทางไปโดยแอร์ฟรานซ์ และกลับเคแอลเอ็มหรือไปกับเคแอลเอ็ม แล้วกลับโดยแอร์ฟรานซ์ก็ได้
"เราจะเพิ่มความสะดวกให้ลูกค้า ด้วยทางเลือกของการเดินทางที่ดีกว่า เช่น แอร์ฟรานส์ บินจากไทยไปปารีส ส่วนเคแอลเอ็มบินจากอัมสเตอร์ดัมมาไทย ดังนั้นผู้โดยสารที่เดินทางท่องเที่ยวทัวร์ยุโรปก็จะสะดวก ไม่ต้องเดินทางวกกลับมาขึ้นเครื่องที่เดิม และในอีกหลายๆเส้นทางที่ทั้งสองสายการบินๆอยู่ ผู้โดยสารก็สามารถเลือกที่จะเดินทางกับสายการบินใดก็ได้" นายธนวัฒน์ กล่าว
ส่วนอีกกลยุทธ์หนึ่ง เพิ่มบริการที่สะดวกสบายให้แก่ลูกค้า ล่าสุดบริษัทได้นำระบบ "อินเตอร์เน็ต เช็คอิน" เข้ามาให้บริการในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งระบบนี้จะช่วยลูกค้าประหยัดเวลาการเดินทางเข้ามาเช็คอินด้วยตัวเองได้ล่วงหน้า 30 ชั่วโมง ถึง 1 ชั่วโมงก่อนเวลาเดินทาง โดยสามารถเช็คอินได้ทุกสถานที่ที่มีอินเตอร์เน็ต เช่น ที่บ้านและที่ทำงาน เป็นต้น ซึ่งระบบนี้ประสบความสำเร็จสูงมากในแถบยุโรป ส่วนในประเทศไทยได้นำระบบนี้เข้ามาใช้ได้ 1-2 เดือน พบว่ายอดลูกค้าใช้บริการเพิ่มเป็นสัดส่วน20% ของลูกค้าที่เดินทางกับสายการบินของบริษัท โดยปีหน้าตั้งเป้าผลประกอบการเติบโต 10-15%
นอกจากนั้น จากสถานการณ์การแข่งขันในธุรกิจสายการบินในปัจจุบัน สิ่งที่บริษัทจะเน้นดำเนินการในปีหน้า คือ เรื่องของการสร้างแบรนด์รอยัลตี้รักษาฐานลูกค้าเก่า และเพิ่มลูกค้าใหม่ ด้วยเน็ตเวิร์ดที่เรามีอยู่ โดยสายการบินแอร์ฟราส์จะบินเข้าแอฟริการองรับตลาดนี้ ส่วนเคแอลเอ็มบินเข้าอเมริกาใต้ ก็จะรับลูกค้าจากจุดดังกล่าวเข้ามา ซึ่งเราเชื่อมั่นว่าในลูกค้าจากยุโรป มีความเหนียวแน่นที่จะเลือกใช้บริการของทั้งสองสายการบิน ส่วนปัจจัยบวกที่ส่งให้ทำตลาดได้ง่ายขึ้น คือ ประเทศไทยถือเป็นจุดหมายปลายทาง(เดสสิเนชั่น)ในฝันของนักท่องเที่ยวยุโปรอยู่แล้ว ประกอบกับการเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิ ทำให้ต่างชาติก็ยิ่งสนใจเข้ามามากขึ้นด้วย โดยปัจจุบันอัตราบรรทุกตลอดทั้งปี ทั้งแอร์ฟราส์และเคแอลเอ็มอยู่ประมาณ 90%
อย่างไรก็ตาม ในช่วงไฮซีซั่น แอร์ฟรานส์จะเปลี่ยนเครื่องบินเป็นลำใหญ่ขึ้น เพื่อรองรับผู้โดยสารชาวยุโรปที่จะเดินทางเข้ามาเที่ยวในประเทศไทย จากเครื่องแอร์บัส 340-300 เป็นเครื่องโบอิ้ง 747-400 ส่งผลให้มีจำนวนที่นั่งเพิ่มเป็น 433 ที่นั่ง จากเดิม 272 ที่นั่ง ล่าสุดได้ใช้งบกว่า 14 ล้านบาท เปิดเล้าน์จรับรองลูกค้าภายในสนามบินสุวรรณภูมิ บนพื้นที่ 650 ตารางเมตร สำหรับช่วงไฮซีซั่นปีนี้ มีรายงานว่าจะมีจำนวนเที่ยวบินและที่นั่งมุ่งสู่ภูมิภาคเอเชียเพิ่มขึ้น 5.6% เมื่อเทียบกับปีก่อน
นายธนวัฒน์ เด่นนภาสุรพงศ์ ผู้จัดการฝ่ายขาย สายการบิน แอร์ฟรานซ์ เคแอลเอ็ม ประจำประเทศไทย เวียดนาม กัมพูชา ลาว พม่า เปิดเผยแผนการตลาดในปี 2550 ว่า มี 2 กลยุทธ์หลักที่บริษัทจะดำเนินการ ได้แก่ การชูจุดขายเรื่องความสะดวกของลูกค้าที่สามารถเลือกใช้บริการได้ถึง 2 สายการบิน คือ แอร์ฟรานซ์ และ เคแอลเอ็ม ซึ่งมีจุดหมายปลายทางอยู่กว่า 240 แห่งทั่วโลกมากที่สุดจากทุกสายการบิน โดยผู้โดยสารจะเลือกเดินทางไปโดยแอร์ฟรานซ์ และกลับเคแอลเอ็มหรือไปกับเคแอลเอ็ม แล้วกลับโดยแอร์ฟรานซ์ก็ได้
"เราจะเพิ่มความสะดวกให้ลูกค้า ด้วยทางเลือกของการเดินทางที่ดีกว่า เช่น แอร์ฟรานส์ บินจากไทยไปปารีส ส่วนเคแอลเอ็มบินจากอัมสเตอร์ดัมมาไทย ดังนั้นผู้โดยสารที่เดินทางท่องเที่ยวทัวร์ยุโรปก็จะสะดวก ไม่ต้องเดินทางวกกลับมาขึ้นเครื่องที่เดิม และในอีกหลายๆเส้นทางที่ทั้งสองสายการบินๆอยู่ ผู้โดยสารก็สามารถเลือกที่จะเดินทางกับสายการบินใดก็ได้" นายธนวัฒน์ กล่าว
ส่วนอีกกลยุทธ์หนึ่ง เพิ่มบริการที่สะดวกสบายให้แก่ลูกค้า ล่าสุดบริษัทได้นำระบบ "อินเตอร์เน็ต เช็คอิน" เข้ามาให้บริการในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งระบบนี้จะช่วยลูกค้าประหยัดเวลาการเดินทางเข้ามาเช็คอินด้วยตัวเองได้ล่วงหน้า 30 ชั่วโมง ถึง 1 ชั่วโมงก่อนเวลาเดินทาง โดยสามารถเช็คอินได้ทุกสถานที่ที่มีอินเตอร์เน็ต เช่น ที่บ้านและที่ทำงาน เป็นต้น ซึ่งระบบนี้ประสบความสำเร็จสูงมากในแถบยุโรป ส่วนในประเทศไทยได้นำระบบนี้เข้ามาใช้ได้ 1-2 เดือน พบว่ายอดลูกค้าใช้บริการเพิ่มเป็นสัดส่วน20% ของลูกค้าที่เดินทางกับสายการบินของบริษัท โดยปีหน้าตั้งเป้าผลประกอบการเติบโต 10-15%
นอกจากนั้น จากสถานการณ์การแข่งขันในธุรกิจสายการบินในปัจจุบัน สิ่งที่บริษัทจะเน้นดำเนินการในปีหน้า คือ เรื่องของการสร้างแบรนด์รอยัลตี้รักษาฐานลูกค้าเก่า และเพิ่มลูกค้าใหม่ ด้วยเน็ตเวิร์ดที่เรามีอยู่ โดยสายการบินแอร์ฟราส์จะบินเข้าแอฟริการองรับตลาดนี้ ส่วนเคแอลเอ็มบินเข้าอเมริกาใต้ ก็จะรับลูกค้าจากจุดดังกล่าวเข้ามา ซึ่งเราเชื่อมั่นว่าในลูกค้าจากยุโรป มีความเหนียวแน่นที่จะเลือกใช้บริการของทั้งสองสายการบิน ส่วนปัจจัยบวกที่ส่งให้ทำตลาดได้ง่ายขึ้น คือ ประเทศไทยถือเป็นจุดหมายปลายทาง(เดสสิเนชั่น)ในฝันของนักท่องเที่ยวยุโปรอยู่แล้ว ประกอบกับการเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิ ทำให้ต่างชาติก็ยิ่งสนใจเข้ามามากขึ้นด้วย โดยปัจจุบันอัตราบรรทุกตลอดทั้งปี ทั้งแอร์ฟราส์และเคแอลเอ็มอยู่ประมาณ 90%
อย่างไรก็ตาม ในช่วงไฮซีซั่น แอร์ฟรานส์จะเปลี่ยนเครื่องบินเป็นลำใหญ่ขึ้น เพื่อรองรับผู้โดยสารชาวยุโรปที่จะเดินทางเข้ามาเที่ยวในประเทศไทย จากเครื่องแอร์บัส 340-300 เป็นเครื่องโบอิ้ง 747-400 ส่งผลให้มีจำนวนที่นั่งเพิ่มเป็น 433 ที่นั่ง จากเดิม 272 ที่นั่ง ล่าสุดได้ใช้งบกว่า 14 ล้านบาท เปิดเล้าน์จรับรองลูกค้าภายในสนามบินสุวรรณภูมิ บนพื้นที่ 650 ตารางเมตร สำหรับช่วงไฮซีซั่นปีนี้ มีรายงานว่าจะมีจำนวนเที่ยวบินและที่นั่งมุ่งสู่ภูมิภาคเอเชียเพิ่มขึ้น 5.6% เมื่อเทียบกับปีก่อน