สมาคมโฆษณารวมข้อสงสัยถามความชัดเจนกรณีห้ามโฆษณาเหล้า ขอผ่อนผันอีก 3 เดือน หวั่นการรื้อป้ายโฆษณาจะยุ่ง ภาครัฐเร่งป้องกันการจดทะเบียนชื่อบริษัทเลี่ยงบาลี
นายปารเมศร์ รัชไชยบุญ ประธานกิตติมศักดิ์ สมาคมโฆษณาธุรกิจแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ได้รวบรวมข้อสงสัยถามต่อหน่วยงานภาครัฐในประเด็นต่างๆ อาทิ การทำประชาสัมพันธ์,ไดเร็คเมล์และการทำตลาดแบบไอเอ็มซีสามารถทำได้หรือไม่
ในเรื่องนี้นายมานิตย์ อรุณากูร เลขาธิการของคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)ได้ให้คำตอบว่า ทำได้หากไม่มีสัญลักษณ์และโลโก้ที่บ่งบอกในเชิงการค้า หรือกรณีที่เสื้อมีโลโก้สินค้านั้น ต้องดูเจตนาว่าใครเป็นคนทำ ถ้าทำแจกโดยที่ไม่มีสัญลักษณ์ของบริษัทก็ทำได้ ขณะที่การทำโปรโมชั่นลด แลก แจก แถมและการทำโฆษณาผ่านสื่ออินเตอร์เน็ตถือว่าผิด ส่วนการวางขายสินค้าในร้านค้าทั่วไปต้องห้ามมองเห็นอย่างเด่นชัดจากภายนอก ขณะที่ลานเบียร์มีสาวเชียร์เบียร์ได้ โดยบนเสื้อต้องไม่มีโลโก้แต่สามารถใช้สีได้ เป็นต้น
"ขอให้ภาครัฐผ่อนผันเรื่องการห้ามโฆษณาสินค้าไปอีก 3 เดือน โดยเฉพาะป้ายโฆษณาหรือบิลบอร์ดที่มีกว่า 1 แสนป้าย"
นายแพทย์สมาน ฟูตระกูล ตัวแทนจากกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า ขณะนี้มีบางเรื่องที่ทางภาครัฐขอไปทบทวนในบางกรณี อาทิ เรื่องชื่อบริษัทอาจไปเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ประกอบการบางรายได้ ซึ่งแนวโน้มตรงนี้คาดว่าจะใช้ไม่ได้ เพราะชื่อบริษัทต้องไม่บ่งบอกว่าเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ หรือในส่วนเรื่องเครื่องหมายการค้าที่มีความหมายคลุมเครือหรือทำให้คนมองสับสน ตรงนี้ต้องการให้เปลี่ยน ล่าสุดขณะนี้กำลังเจรจากับกระทรวงพาณิชย์ให้ควบคุมดูแลและห้ามให้จดทะเบียนชื่อที่มีความสับสน รวมถึงผลิตภัณฑ์ส่งเสริมการขายประเภทอื่นๆ ที่มีอยู่ก่อนหน้าที่เจ้าของสินค้าทำร่วมกับร้านอาหาร หรือ ผับบาร์ อาทิ จานรองแก้ว แก้วเครื่องดื่ม จะนำกลับไปทบทวนอีกครั้ง
นางสาวศนิตา คาจิ รองประธานกรรมการบริหารด้านการตลาด บริษัท ริชมอนเด้ (บางกอก) จำกัด ผู้นำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตระกูลจอห์นนี่ วอล์กเกอร์ฯลฯ เปิดเผยว่า บริษัทฯมีแผนนำเข้าเสื้อผ้ากีฬาจอห์นนี่ วอล์กเกอร์จากอิตาลีเข้ามาทำตลาด ซึ่งขณะนี้ติดต่อบริษัทแม่ แต่กำลังดูความชัดเจน ซึ่งตรงนี้ทางภาครัฐกล่าวว่าอาจผิดกฎเพราะมาตรา 33-34 ระบุว่าห้ามมีตราโลโก้ติดอยู่ที่เสื้อ,กระเป๋า สินค้าอื่นๆ เป็นต้น
ด้านนพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การโฆษณาภาพลักษณ์นั้นสามารถทำได้ แต่ต้องไม่มีโลโก้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงข้อความที่สื่อว่าเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปรากฏอยู่ แต่สามารถใส่ชื่อบริษัทผู้ผลิตและผู้ประกอบการได้ แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ คือ 1.หากเป็นกรณีการนำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อนุญาตให้ใส่เฉพาะชื่อบริษัทผู้นำเข้าในช่วงท้ายของโฆษณาเท่านั้น โดยชื่อบริษัทจะต้องไม่ตรงกับชื่อผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
2.ชื่อบริษัทจะต้องไม่มีคำหรือข้อความที่สื่อว่าเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น บริษัท บุญรอด บริวเวอรี่ จำกัด เพราะ คำว่า “บริวเวอรี่” หมายถึง โรงกลั่น บริษัท สุราบางยี่ขัน จำกัด บริษัท โรงงานสุราพิเศษ สุวรรณภูมิ จำกัด เป็นต้น และ 3. ชื่อบริษัทต้องไม่ใช่บริษัทที่ผลิตหรือจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพียงอย่างเดียว
ในส่วนของการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนรถไฟหรือเครื่องบินนั้น ยังไม่มีการห้ามจำหน่ายเนื่องจากตามคำสั่งของทาง อย.ยังไม่คลอบคลุม ส่วนร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้มีการตัดในเรื่องการจัดตั้งกองทุนออกไปก่อน และเสนอให้จัดเก็บภาษีบาปเพิ่มเติมอีก 2% เพื่อนำไปสนับสนุนการกีฬา เยาวชน
“การออก พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่มีการระบุถึงการควบคุมโฆษณาด้วยนั้นมีความจำเป็น แม้ว่าอาจเป็นการซ้ำซ้อนการออกคำสั่งควบคุมขณะนี้ เพราะคำสั่งที่ประกาศออกมานั้นสามารถยกเลิกได้ง่าย ต่างจาก พ.ร.บ.ที่การยกเลิกทำได้ยากกว่า” นพ.มงคลกล่าว
นายปารเมศร์ รัชไชยบุญ ประธานกิตติมศักดิ์ สมาคมโฆษณาธุรกิจแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ได้รวบรวมข้อสงสัยถามต่อหน่วยงานภาครัฐในประเด็นต่างๆ อาทิ การทำประชาสัมพันธ์,ไดเร็คเมล์และการทำตลาดแบบไอเอ็มซีสามารถทำได้หรือไม่
ในเรื่องนี้นายมานิตย์ อรุณากูร เลขาธิการของคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)ได้ให้คำตอบว่า ทำได้หากไม่มีสัญลักษณ์และโลโก้ที่บ่งบอกในเชิงการค้า หรือกรณีที่เสื้อมีโลโก้สินค้านั้น ต้องดูเจตนาว่าใครเป็นคนทำ ถ้าทำแจกโดยที่ไม่มีสัญลักษณ์ของบริษัทก็ทำได้ ขณะที่การทำโปรโมชั่นลด แลก แจก แถมและการทำโฆษณาผ่านสื่ออินเตอร์เน็ตถือว่าผิด ส่วนการวางขายสินค้าในร้านค้าทั่วไปต้องห้ามมองเห็นอย่างเด่นชัดจากภายนอก ขณะที่ลานเบียร์มีสาวเชียร์เบียร์ได้ โดยบนเสื้อต้องไม่มีโลโก้แต่สามารถใช้สีได้ เป็นต้น
"ขอให้ภาครัฐผ่อนผันเรื่องการห้ามโฆษณาสินค้าไปอีก 3 เดือน โดยเฉพาะป้ายโฆษณาหรือบิลบอร์ดที่มีกว่า 1 แสนป้าย"
นายแพทย์สมาน ฟูตระกูล ตัวแทนจากกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า ขณะนี้มีบางเรื่องที่ทางภาครัฐขอไปทบทวนในบางกรณี อาทิ เรื่องชื่อบริษัทอาจไปเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ประกอบการบางรายได้ ซึ่งแนวโน้มตรงนี้คาดว่าจะใช้ไม่ได้ เพราะชื่อบริษัทต้องไม่บ่งบอกว่าเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ หรือในส่วนเรื่องเครื่องหมายการค้าที่มีความหมายคลุมเครือหรือทำให้คนมองสับสน ตรงนี้ต้องการให้เปลี่ยน ล่าสุดขณะนี้กำลังเจรจากับกระทรวงพาณิชย์ให้ควบคุมดูแลและห้ามให้จดทะเบียนชื่อที่มีความสับสน รวมถึงผลิตภัณฑ์ส่งเสริมการขายประเภทอื่นๆ ที่มีอยู่ก่อนหน้าที่เจ้าของสินค้าทำร่วมกับร้านอาหาร หรือ ผับบาร์ อาทิ จานรองแก้ว แก้วเครื่องดื่ม จะนำกลับไปทบทวนอีกครั้ง
นางสาวศนิตา คาจิ รองประธานกรรมการบริหารด้านการตลาด บริษัท ริชมอนเด้ (บางกอก) จำกัด ผู้นำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตระกูลจอห์นนี่ วอล์กเกอร์ฯลฯ เปิดเผยว่า บริษัทฯมีแผนนำเข้าเสื้อผ้ากีฬาจอห์นนี่ วอล์กเกอร์จากอิตาลีเข้ามาทำตลาด ซึ่งขณะนี้ติดต่อบริษัทแม่ แต่กำลังดูความชัดเจน ซึ่งตรงนี้ทางภาครัฐกล่าวว่าอาจผิดกฎเพราะมาตรา 33-34 ระบุว่าห้ามมีตราโลโก้ติดอยู่ที่เสื้อ,กระเป๋า สินค้าอื่นๆ เป็นต้น
ด้านนพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การโฆษณาภาพลักษณ์นั้นสามารถทำได้ แต่ต้องไม่มีโลโก้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงข้อความที่สื่อว่าเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปรากฏอยู่ แต่สามารถใส่ชื่อบริษัทผู้ผลิตและผู้ประกอบการได้ แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ คือ 1.หากเป็นกรณีการนำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อนุญาตให้ใส่เฉพาะชื่อบริษัทผู้นำเข้าในช่วงท้ายของโฆษณาเท่านั้น โดยชื่อบริษัทจะต้องไม่ตรงกับชื่อผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
2.ชื่อบริษัทจะต้องไม่มีคำหรือข้อความที่สื่อว่าเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น บริษัท บุญรอด บริวเวอรี่ จำกัด เพราะ คำว่า “บริวเวอรี่” หมายถึง โรงกลั่น บริษัท สุราบางยี่ขัน จำกัด บริษัท โรงงานสุราพิเศษ สุวรรณภูมิ จำกัด เป็นต้น และ 3. ชื่อบริษัทต้องไม่ใช่บริษัทที่ผลิตหรือจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพียงอย่างเดียว
ในส่วนของการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนรถไฟหรือเครื่องบินนั้น ยังไม่มีการห้ามจำหน่ายเนื่องจากตามคำสั่งของทาง อย.ยังไม่คลอบคลุม ส่วนร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้มีการตัดในเรื่องการจัดตั้งกองทุนออกไปก่อน และเสนอให้จัดเก็บภาษีบาปเพิ่มเติมอีก 2% เพื่อนำไปสนับสนุนการกีฬา เยาวชน
“การออก พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่มีการระบุถึงการควบคุมโฆษณาด้วยนั้นมีความจำเป็น แม้ว่าอาจเป็นการซ้ำซ้อนการออกคำสั่งควบคุมขณะนี้ เพราะคำสั่งที่ประกาศออกมานั้นสามารถยกเลิกได้ง่าย ต่างจาก พ.ร.บ.ที่การยกเลิกทำได้ยากกว่า” นพ.มงคลกล่าว