ศูนย์วิจัยกสิกรไทยฟันธงสินค้าเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและของใช้ในครัวเรือนของไทยในญี่ปุ่นอยู่ในช่วงขาขึ้น โดยมียอดขายติดอันดับ 1 ใน 5 ด้วย ยอดขายปีนี้โตไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 และปีหน้ายอดขายยังโตต่อเนื่อง แต่ชะลอลงเหลือร้อยละ 10-15 ตามเศรษฐกิจญี่ปุ่น แนะผู้ประกอบการให้ความสำคัญต่อการพัฒนาการผลิต เน้นเกมรุกมากยิ่งขึ้น พร้อมกับเร่งหาพันธมิตรที่มีช่องทางกระจายสินค้าในตลาดญี่ปุ่น
บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า สินค้าเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและของใช้ในครัวเรือนของไทยในญี่ปุ่นอยู่ในช่วงขาขึ้น หรือมีแนวโน้มศักยภาพในการแข่งขันอยู่ในเกณฑ์ดีขึ้น เมื่อเทียบกับในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยวัดจากดัชนีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ เพราะสินค้าจากไทย สามารถครองส่วนแบ่งตลาด ด้วยยอดขายติดอันดับ 1 ใน 5 อันดับแรกของตลาดญี่ปุ่นได้ในปี 2549 และจะต่อเนื่องถึงปี 2550 โดยสินค้าที่ญี่ปุ่นนิยมนำเข้าจากไทย คือ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร และเครื่องใช้ในครัวเรือนทำด้วยสแตนเลส รองลงมา ได้แก่ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวทำด้วยเซรามิก เครื่องแก้ว และพลาสติก เป็นต้น
ด้านการส่งออกปีนี้คาดว่า จะเติบโตไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 45-50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และปีนี้นับเป็นปีแรกที่สินค้าจากไทย สามารถเบียดคู่แข่งสำคัญอย่างเยอรมนี สหราชอาณาจักร และอิตาลี จนก้าวขึ้นมามีบทบาทในตลาดญี่ปุ่นได้มากขึ้น ส่วนในปี 2550 คาดว่า ยอดส่งออกจะยังคงเติบโตต่อเนื่อง แต่ขยายตัวลดลงเหลือประมาณร้อยละ 10-15 ตามภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่มีแนวโน้มชะลอตัว อย่างไรก็ตาม หากไทยลงนามข้อตกลงเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) กับญี่ปุ่นได้ ก็น่าจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่สนับสนุนให้การส่งออกสินค้ากลุ่มนี้ของไทยในตลาดญี่ปุ่นเป็นไปตามเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม ปัญหาการลอกเลียนแบบสินค้าก็นับเป็นปัญหาที่สำคัญมาก ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงเห็นว่า ผู้ประกอบการไทยควรให้ความสำคัญต่อการพัฒนาการผลิตและเน้นเกมรุกมากยิ่งขึ้น พร้อมเร่งหาพันธมิตรทางการค้าที่มีช่องทางกระจายสินค้าในวงกว้างในตลาดญี่ปุ่น โดยเฉพาะช่องทาง Home Center หรือการสั่งซื้อทางไปรษณีย์ (Mail Order) เนื่องจากเป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นที่ไม่ต้องการเสียเวลาในการซื้อหาสิ่งของ แต่ทั้งนี้ผู้ประกอบการไทยควรต้องพยายามติดต่อเจรจากับผู้นำเข้ารายใหญ่ที่มีกำลังต่อรองในตลาดเครื่องใช้ในครัวเรือนญี่ปุ่น เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งยังเป็นแนวทางในการรับรู้ถึงพฤติกรรมผู้บริโภค ราคา และรูปแบบสินค้าที่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นด้วย
นอกจากนี้ การสั่งซื้อสินค้าผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ผู้ประกอบการไทยไม่ควรมองข้าม เพราะชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่คุ้นเคยกับการใช้อินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือค่อนข้างมาก นอกจากนี้ควรใช้กลยุทธ์ด้านคุณภาพสินค้าเป็นจุดแข็งเพื่อสร้างความเชื่อถือในตลาดญี่ปุ่น ตลอดจนเร่งเพิ่มความหลากหลายของสินค้า ควบคู่กับการนำเสนอเอกลักษณ์ความเป็นไทย เพื่อให้แตกต่างจากสินค้าจีนหรือเวียดนาม และเร่งพัฒนาตราสินค้าอย่างจริงจังเพื่อสร้างความได้เปรียบในการเจาะตลาด และยกระดับสินค้ากลุ่มนี้ให้ก้าวสู่ตลาดระดับกลางถึงบนให้ได้ โดยเฉพาะสินค้ากลุ่ม OTOP ชั้นนำของไทยที่น่าจะเจาะตลาด High-End ของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ เพื่อขยายส่วนแบ่งในตลาดญี่ปุ่นซึ่งเป็นตลาดส่งออกดั้งเดิมที่มีศักยภาพของไทยให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น
บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า สินค้าเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและของใช้ในครัวเรือนของไทยในญี่ปุ่นอยู่ในช่วงขาขึ้น หรือมีแนวโน้มศักยภาพในการแข่งขันอยู่ในเกณฑ์ดีขึ้น เมื่อเทียบกับในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยวัดจากดัชนีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ เพราะสินค้าจากไทย สามารถครองส่วนแบ่งตลาด ด้วยยอดขายติดอันดับ 1 ใน 5 อันดับแรกของตลาดญี่ปุ่นได้ในปี 2549 และจะต่อเนื่องถึงปี 2550 โดยสินค้าที่ญี่ปุ่นนิยมนำเข้าจากไทย คือ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร และเครื่องใช้ในครัวเรือนทำด้วยสแตนเลส รองลงมา ได้แก่ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวทำด้วยเซรามิก เครื่องแก้ว และพลาสติก เป็นต้น
ด้านการส่งออกปีนี้คาดว่า จะเติบโตไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 45-50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และปีนี้นับเป็นปีแรกที่สินค้าจากไทย สามารถเบียดคู่แข่งสำคัญอย่างเยอรมนี สหราชอาณาจักร และอิตาลี จนก้าวขึ้นมามีบทบาทในตลาดญี่ปุ่นได้มากขึ้น ส่วนในปี 2550 คาดว่า ยอดส่งออกจะยังคงเติบโตต่อเนื่อง แต่ขยายตัวลดลงเหลือประมาณร้อยละ 10-15 ตามภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่มีแนวโน้มชะลอตัว อย่างไรก็ตาม หากไทยลงนามข้อตกลงเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) กับญี่ปุ่นได้ ก็น่าจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่สนับสนุนให้การส่งออกสินค้ากลุ่มนี้ของไทยในตลาดญี่ปุ่นเป็นไปตามเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม ปัญหาการลอกเลียนแบบสินค้าก็นับเป็นปัญหาที่สำคัญมาก ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงเห็นว่า ผู้ประกอบการไทยควรให้ความสำคัญต่อการพัฒนาการผลิตและเน้นเกมรุกมากยิ่งขึ้น พร้อมเร่งหาพันธมิตรทางการค้าที่มีช่องทางกระจายสินค้าในวงกว้างในตลาดญี่ปุ่น โดยเฉพาะช่องทาง Home Center หรือการสั่งซื้อทางไปรษณีย์ (Mail Order) เนื่องจากเป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นที่ไม่ต้องการเสียเวลาในการซื้อหาสิ่งของ แต่ทั้งนี้ผู้ประกอบการไทยควรต้องพยายามติดต่อเจรจากับผู้นำเข้ารายใหญ่ที่มีกำลังต่อรองในตลาดเครื่องใช้ในครัวเรือนญี่ปุ่น เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งยังเป็นแนวทางในการรับรู้ถึงพฤติกรรมผู้บริโภค ราคา และรูปแบบสินค้าที่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นด้วย
นอกจากนี้ การสั่งซื้อสินค้าผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ผู้ประกอบการไทยไม่ควรมองข้าม เพราะชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่คุ้นเคยกับการใช้อินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือค่อนข้างมาก นอกจากนี้ควรใช้กลยุทธ์ด้านคุณภาพสินค้าเป็นจุดแข็งเพื่อสร้างความเชื่อถือในตลาดญี่ปุ่น ตลอดจนเร่งเพิ่มความหลากหลายของสินค้า ควบคู่กับการนำเสนอเอกลักษณ์ความเป็นไทย เพื่อให้แตกต่างจากสินค้าจีนหรือเวียดนาม และเร่งพัฒนาตราสินค้าอย่างจริงจังเพื่อสร้างความได้เปรียบในการเจาะตลาด และยกระดับสินค้ากลุ่มนี้ให้ก้าวสู่ตลาดระดับกลางถึงบนให้ได้ โดยเฉพาะสินค้ากลุ่ม OTOP ชั้นนำของไทยที่น่าจะเจาะตลาด High-End ของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ เพื่อขยายส่วนแบ่งในตลาดญี่ปุ่นซึ่งเป็นตลาดส่งออกดั้งเดิมที่มีศักยภาพของไทยให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น