ผู้ใช้น้ำมันฝันค้างอดใช้ราคาน้ำมันถูก หลัง กบง.มีมติปรับเพิ่มเพดานเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ขยายเพดานสูงสุดจาก 2.50 บาท เป็น 4 บาท/ลิตร เพื่อคงการเก็บเงินกองทุนฯ ไปใช้หนี้ตรึงราคาน้ำมันในอดีต กระทรวงพลังงานยืนยันจะเก็บเพิ่มในช่วงราคาน้ำมันลดลงเท่านั้น เพื่อไม่สร้างภาระต่อผู้บริโภค
นายเมตตา บันเทิงสุข ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.) วันนี้ (11 ต.ค.) ได้เห็นชอบให้อำนาจ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พิจารณาปรับเพดานการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงตามความเหมาะสม โดยมีเพดานราคาน้ำมันทุกชนิดสูงสุดไม่เกิน 4 บาท เช่น เบนซิน 91 จากเพดานต่ำสุด 2.30 บาท ให้เพิ่มเป็น 4 บาท และน้ำมันชนิดอื่น ๆ ประกอบด้วยเบนซิน 95 แก๊สโซฮอล์ น้ำมันดีเซล ไบโอดีเซล จากเพดาน 2.50 บาท เป็น 4 บาท โดยการขยายเพดานครั้งนี้จะไม่มีการเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มทันที แต่จะพิจารณาปรับเพิ่มขึ้นในช่วงราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศลดลง ทำให้ราคาน้ำมันในไทยปรับลดลงในอัตราต่ำกว่าตลาดโลก โดยการปรับเพิ่มอัตรานำเงินเข้ากองทุนฯ แต่ละครั้ง สนพ.จะเป็นผู้เสนอให้ รมว.พลังงานอนุมัติในนามของ กบง. โดยมีหลักการสำคัญคือไม่ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบ
ทั้งนี้ ในปัจจุบันการจัดเก็บเงินกองทุนฯ ในอัตราที่แท้จริงสำหรับแก๊สโซฮอล์ อยู่ที่ 0.54 บาท/ลิตร ไบโอดีเซล เก็บในอัตรา 0.748 บาท/ลิตร ดีเซล เก็บในอัตรา 0.95 บาท/ลิตร
“สาเหตุที่ต้องปรับเพิ่มเพดานการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ เป็น 4 บาททุกชนิด เนื่องจากกองทุนฯ มีภาระหนี้รวมประมาณ 64,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นหนี้ที่เกิดจากชดเชยราคาน้ำมันในอดีต ที่หนี้ดังกล่าวแบ่งออกเป็นหนี้พันธบัตรชดเชยน้ำมันอายุ 1,2 และ 3 ปี วงเงินรวม 26,000 ล้านบาท และสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ 24,642 ล้านบาท ซึ่งหนี้พันธบัตรมีกำหนดชำระทุกเดือนตุลาคมของทุกปีจนถึงปี 2551 ขณะเดียวกันกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ชดเชยแอลพีจี 11,510 ล้านบาท/ปีอีกด้วย ดังนั้น การเพิ่มเพดานก็เพื่อให้กองทุนฯ มีรายได้เพียงพอชำระเงินให้กับเจ้าหนี้” นายเมตตากล่าว
นายเมตตา กล่าวว่า การเพิ่มเพดานดังกล่าวเกิดจากรายได้จากกองทุนฯ ที่เคยประมาณการไว้จะลดลง เพราะการใช้น้ำมันลดลงจากเดิม แต่ก่อนหน้านี้ประมาณการไว้ว่าจะมีการใช้เพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้รายได้ต่ำกว่าคาด และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 จะมีการยกเลิก การจำหน่ายเบนซิน 95 และเปลี่ยนมาใช้แก๊สโซฮอล์ 95 ส่งผลกระทบทำให้เงินสมทบกองทุนฯ เบนซิน 95 หายไปทั้งหมด มีเพียงเงินจากแก๊สโซฮอล์เพียงลิตรละ 0.54 บาท นอกจากนี้ ผลจากราคาน้ำมันที่ลดลง ซึ่งเดือนกันยายนที่ผ่านมาราคาน้ำมันลดลง 6-7 ครั้ง รวมแล้วลดประมาณ 3 บาท เป็นการเพิ่มภาระของกองทุนฯ ในการช่วยอุดหนุนพลังงานทดแทน และในเร็ว ๆ นี้รัฐบาลได้ขยายการจำหน่ายไบโอดีเซล ทั้งปั๊ม ปตท.และบางจากจะเปิดสถานีจำหน่ายไบโอดีเซลเพิ่มอีกรวมกัน 400 แห่ง ทำให้รายได้กองทุนฯ ลดลง
ด้าน นายศิวะนันท์ ณ นคร ผู้อำนวยการสถาบันบริการกองทุนพลังงาน กล่าวว่า ได้ชี้แจงต่อนายปิยสวัสดิ์ ถึงกรณีที่กองทุนฯ ไม่ต้องการที่จะเจรจายืดหนี้อีก เพราะหากยืดหนี้ จะทำให้เงินกองทุนมีภาระดอกเบี้ยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนายปิยสวัสดิ์ก็มีความเข้าใจเรื่องนี้ จึงคาดว่าคงไม่มีการกำหนดนโยบายการยืดหนี้ ทั้งนี้ การจ่ายหนี้จะเริ่มจากวันที่ 13 ตุลาคมนี้ ในวงเงิน 8,800 ล้านบาท และมีอัตราดอกเบี้ย 300 ล้านบาท
นายเมตตา บันเทิงสุข ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.) วันนี้ (11 ต.ค.) ได้เห็นชอบให้อำนาจ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พิจารณาปรับเพดานการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงตามความเหมาะสม โดยมีเพดานราคาน้ำมันทุกชนิดสูงสุดไม่เกิน 4 บาท เช่น เบนซิน 91 จากเพดานต่ำสุด 2.30 บาท ให้เพิ่มเป็น 4 บาท และน้ำมันชนิดอื่น ๆ ประกอบด้วยเบนซิน 95 แก๊สโซฮอล์ น้ำมันดีเซล ไบโอดีเซล จากเพดาน 2.50 บาท เป็น 4 บาท โดยการขยายเพดานครั้งนี้จะไม่มีการเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มทันที แต่จะพิจารณาปรับเพิ่มขึ้นในช่วงราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศลดลง ทำให้ราคาน้ำมันในไทยปรับลดลงในอัตราต่ำกว่าตลาดโลก โดยการปรับเพิ่มอัตรานำเงินเข้ากองทุนฯ แต่ละครั้ง สนพ.จะเป็นผู้เสนอให้ รมว.พลังงานอนุมัติในนามของ กบง. โดยมีหลักการสำคัญคือไม่ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบ
ทั้งนี้ ในปัจจุบันการจัดเก็บเงินกองทุนฯ ในอัตราที่แท้จริงสำหรับแก๊สโซฮอล์ อยู่ที่ 0.54 บาท/ลิตร ไบโอดีเซล เก็บในอัตรา 0.748 บาท/ลิตร ดีเซล เก็บในอัตรา 0.95 บาท/ลิตร
“สาเหตุที่ต้องปรับเพิ่มเพดานการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ เป็น 4 บาททุกชนิด เนื่องจากกองทุนฯ มีภาระหนี้รวมประมาณ 64,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นหนี้ที่เกิดจากชดเชยราคาน้ำมันในอดีต ที่หนี้ดังกล่าวแบ่งออกเป็นหนี้พันธบัตรชดเชยน้ำมันอายุ 1,2 และ 3 ปี วงเงินรวม 26,000 ล้านบาท และสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ 24,642 ล้านบาท ซึ่งหนี้พันธบัตรมีกำหนดชำระทุกเดือนตุลาคมของทุกปีจนถึงปี 2551 ขณะเดียวกันกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ชดเชยแอลพีจี 11,510 ล้านบาท/ปีอีกด้วย ดังนั้น การเพิ่มเพดานก็เพื่อให้กองทุนฯ มีรายได้เพียงพอชำระเงินให้กับเจ้าหนี้” นายเมตตากล่าว
นายเมตตา กล่าวว่า การเพิ่มเพดานดังกล่าวเกิดจากรายได้จากกองทุนฯ ที่เคยประมาณการไว้จะลดลง เพราะการใช้น้ำมันลดลงจากเดิม แต่ก่อนหน้านี้ประมาณการไว้ว่าจะมีการใช้เพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้รายได้ต่ำกว่าคาด และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 จะมีการยกเลิก การจำหน่ายเบนซิน 95 และเปลี่ยนมาใช้แก๊สโซฮอล์ 95 ส่งผลกระทบทำให้เงินสมทบกองทุนฯ เบนซิน 95 หายไปทั้งหมด มีเพียงเงินจากแก๊สโซฮอล์เพียงลิตรละ 0.54 บาท นอกจากนี้ ผลจากราคาน้ำมันที่ลดลง ซึ่งเดือนกันยายนที่ผ่านมาราคาน้ำมันลดลง 6-7 ครั้ง รวมแล้วลดประมาณ 3 บาท เป็นการเพิ่มภาระของกองทุนฯ ในการช่วยอุดหนุนพลังงานทดแทน และในเร็ว ๆ นี้รัฐบาลได้ขยายการจำหน่ายไบโอดีเซล ทั้งปั๊ม ปตท.และบางจากจะเปิดสถานีจำหน่ายไบโอดีเซลเพิ่มอีกรวมกัน 400 แห่ง ทำให้รายได้กองทุนฯ ลดลง
ด้าน นายศิวะนันท์ ณ นคร ผู้อำนวยการสถาบันบริการกองทุนพลังงาน กล่าวว่า ได้ชี้แจงต่อนายปิยสวัสดิ์ ถึงกรณีที่กองทุนฯ ไม่ต้องการที่จะเจรจายืดหนี้อีก เพราะหากยืดหนี้ จะทำให้เงินกองทุนมีภาระดอกเบี้ยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนายปิยสวัสดิ์ก็มีความเข้าใจเรื่องนี้ จึงคาดว่าคงไม่มีการกำหนดนโยบายการยืดหนี้ ทั้งนี้ การจ่ายหนี้จะเริ่มจากวันที่ 13 ตุลาคมนี้ ในวงเงิน 8,800 ล้านบาท และมีอัตราดอกเบี้ย 300 ล้านบาท