ธสน. -เจบิก หนุนเอกชนไทยลงทุนด้านพลังงานทดแทนในธุรกิจกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน พร้อมยืนยันโครงการเงินกู้ให้รัฐบาลพม่า 4,000 ล้านบาท ธสน.ยังได้รับผลตอบแทนตามเกณฑ์อยู่
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ร่วมกับธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิก) จัดสัมมนา “โอกาสการลงทุนในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปและเชื้อเพลิงชีวภาพบริเวณอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงหรือกลุ่มประเทศจีเอ็มเอส “ประกอบด้วยไทย จีนตอนใต้ ลาว พม่า กัมพูชา และเวียดนาม โดยนายณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการบริหาร ธสน. กล่าวว่า ปัญหาวิกฤติพลังงานโลกกลายเป็นโอกาสของประเทศไทยที่จะต้องแสวงหาแหล่งพลังงานทดแทนจากประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยเฉพาะจากลาวและพม่า โดยพลังงานทดแทนที่ ธสน. และเจบิกสนับสนุนเอกชนเข้าไปลงทุนในประเทศจีเอ็มเอส ได้แก่ เชื้อเพลิงชีวภาพ (Bio Fuel) และแก๊สโซฮอลล์ ซึ่งได้จากพืชต่าง ๆ อาทิ สบู่ดำ มันสำปะหลัง และอ้อย
สำหรับการเพาะปลูกพืชเหล่านี้เพื่อป้อนโรงงานผลิตพลังงานทดแทนจำเป็นต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ แต่ประเทศไทยไม่มีพื้นที่ขนาดใหญ่เหลือมากนัก จึงจำเป็นต้องไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ ยังถือเป็นโอกาสดีที่จะปรับโครงสร้างภาคเกษตรกรรมของไทยและยังใช้เป็นโอกาสส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้าในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงอีกด้วย สำหรับธุรกิจที่อยู่ในข่ายได้รับการสนับสนุนจะต้องมีความสามารถในการประกอบธุรกิจขนาดใหญ่ เนื่องจากใช้ทุน เทคโนโลยี และความสามารถในการบริหารระดับสูง ส่วนพื้นที่เพาะปลูกจะต้องมีขนาดอย่างน้อย 1,000 ไร่ ระยะเวลาดำเนินงานแต่ละแปลง 50 ปี
ส่วนกรณีโครงการเงินกู้ 4,000 ล้านบาท ที่ ธสน.ปล่อยกู้ให้แก่ Myanma Foreign Trade Bank (MFTB) นั้น นายณรงค์ชัย กล่าวว่า จะต้องแยกในส่วนของ ธสน. และการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ออกจากกัน โดยในส่วนของ ธสน. ยังคงได้รับดอกเบี้ยตรงเวลาจาก MFTB และทุกอย่างเป็นไปตามกฎระเบียบ แต่ในส่วนของ คตส. นั้นเป็นเรื่องของการตรวจสอบที่ต้องดำเนินการต่อไป
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ร่วมกับธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิก) จัดสัมมนา “โอกาสการลงทุนในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปและเชื้อเพลิงชีวภาพบริเวณอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงหรือกลุ่มประเทศจีเอ็มเอส “ประกอบด้วยไทย จีนตอนใต้ ลาว พม่า กัมพูชา และเวียดนาม โดยนายณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการบริหาร ธสน. กล่าวว่า ปัญหาวิกฤติพลังงานโลกกลายเป็นโอกาสของประเทศไทยที่จะต้องแสวงหาแหล่งพลังงานทดแทนจากประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยเฉพาะจากลาวและพม่า โดยพลังงานทดแทนที่ ธสน. และเจบิกสนับสนุนเอกชนเข้าไปลงทุนในประเทศจีเอ็มเอส ได้แก่ เชื้อเพลิงชีวภาพ (Bio Fuel) และแก๊สโซฮอลล์ ซึ่งได้จากพืชต่าง ๆ อาทิ สบู่ดำ มันสำปะหลัง และอ้อย
สำหรับการเพาะปลูกพืชเหล่านี้เพื่อป้อนโรงงานผลิตพลังงานทดแทนจำเป็นต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ แต่ประเทศไทยไม่มีพื้นที่ขนาดใหญ่เหลือมากนัก จึงจำเป็นต้องไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ ยังถือเป็นโอกาสดีที่จะปรับโครงสร้างภาคเกษตรกรรมของไทยและยังใช้เป็นโอกาสส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้าในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงอีกด้วย สำหรับธุรกิจที่อยู่ในข่ายได้รับการสนับสนุนจะต้องมีความสามารถในการประกอบธุรกิจขนาดใหญ่ เนื่องจากใช้ทุน เทคโนโลยี และความสามารถในการบริหารระดับสูง ส่วนพื้นที่เพาะปลูกจะต้องมีขนาดอย่างน้อย 1,000 ไร่ ระยะเวลาดำเนินงานแต่ละแปลง 50 ปี
ส่วนกรณีโครงการเงินกู้ 4,000 ล้านบาท ที่ ธสน.ปล่อยกู้ให้แก่ Myanma Foreign Trade Bank (MFTB) นั้น นายณรงค์ชัย กล่าวว่า จะต้องแยกในส่วนของ ธสน. และการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ออกจากกัน โดยในส่วนของ ธสน. ยังคงได้รับดอกเบี้ยตรงเวลาจาก MFTB และทุกอย่างเป็นไปตามกฎระเบียบ แต่ในส่วนของ คตส. นั้นเป็นเรื่องของการตรวจสอบที่ต้องดำเนินการต่อไป