กระทรวงพลังงานเผยการใช้น้ำมันดีเซลและเบนซิน 8 เดือน ลดลงต่อเนื่อง ดีเซลทำสถิติลดลงเป็นเดือนที่ 14 เทียบกับช่วงเดียวกันลดลง ร้อยละ 8.4 ส่วนเบนซินลดลงร้อยละ 2.5 ทั้งนี้ ยอดการนำเข้าน้ำมันดิบพบว่าลดลงร้อยละ 1.5 ขณะที่ปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศถึง 1.2 แสนล้านบาท
นายพานิช พงศ์พิโรดม อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) กล่าวว่า 8 เดือนแรกปี 2549 เดือนมกราคม–สิงหาคม 2549 ปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินและดีเซลยังลดลงต่อเนื่องโดยการใช้น้ำมันดีเซลมีปริมาณลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันจากปี 2548 ร้อยละ 8.4 จากเดิมเฉลี่ยวันละ 55.6 ล้านลิตร เหลือวันละ 50.9 ล้านลิตร และเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 เป็นต้นมา นอกจากนี้ ในเดือนสิงหาคม 2549 ยังเป็นเดือนที่มีการใช้น้ำมันดีเซลต่ำสุดในรอบ 8 เดือน อยู่ที่ระดับ 46.2 ล้านลิตร ขณะที่ปริมาณการใช้น้ำมันเบนซิน ทั้งเบนซินออกเทน 95 และออกเทน 91 ลดลงร้อยละ 2.5 จากเดิมเฉลี่ยวันละ 20.1 ล้านลิตร เหลือวันละ 19.6 ล้านลิตร
ทั้งนี้ ปริมาณการใช้ดีเซลลดลงส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมการประหยัดพลังงานของประชาชนมากขึ้นและสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องภายหลังการลอยตัวน้ำมันดีเซลตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 เพื่อให้ราคาน้ำมันสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ส่วนการใช้น้ำมันเบนซินลดลงนอกจากเรื่องของราคาแล้วส่วนหนึ่งมาจากกลุ่มผู้ขับรถยนต์เปลี่ยนมาใช้พลังงานทดแทนน้ำมันเป็นจำนวนมาก ได้แก่ การใช้เอ็นจีวีเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปี 2548 ร้อยละ 52.7 ส่วนการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นเฉลี่ยวันละ 3.5 ล้านลิตร หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17.9 ของการใช้น้ำมันเบนซินทั้งหมด
นอกจากนี้ จากความต้องการใช้น้ำมันที่ลดลงส่งผลให้ปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบ 8 เดือนแรกของปี 2549 ลดลงร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2548 โดยลดลงจากวันละ 854,000 บาร์เรล เหลือวันละ 842,000 บาร์เรล แต่ก็พบว่าประเทศต้องสูญเสียมูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบเป็นเงินทั้งสิ้น 522,239 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.3 อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยแม้จะมีมูลค่าการนำเข้ามากขึ้น แต่ประเทศก็มีรายได้จากการส่งออกน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูป 8 เดือนแรกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2548 เช่นเดียวกัน โดยสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศคิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 117,330 ล้านบาท แบ่งเป็นส่งออกน้ำมันดิบคิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 36,301 ล้านบาท และการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปมูลค่าทั้งสิ้น 81,029 ล้านบาท
นายพานิช พงศ์พิโรดม อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) กล่าวว่า 8 เดือนแรกปี 2549 เดือนมกราคม–สิงหาคม 2549 ปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินและดีเซลยังลดลงต่อเนื่องโดยการใช้น้ำมันดีเซลมีปริมาณลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันจากปี 2548 ร้อยละ 8.4 จากเดิมเฉลี่ยวันละ 55.6 ล้านลิตร เหลือวันละ 50.9 ล้านลิตร และเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 เป็นต้นมา นอกจากนี้ ในเดือนสิงหาคม 2549 ยังเป็นเดือนที่มีการใช้น้ำมันดีเซลต่ำสุดในรอบ 8 เดือน อยู่ที่ระดับ 46.2 ล้านลิตร ขณะที่ปริมาณการใช้น้ำมันเบนซิน ทั้งเบนซินออกเทน 95 และออกเทน 91 ลดลงร้อยละ 2.5 จากเดิมเฉลี่ยวันละ 20.1 ล้านลิตร เหลือวันละ 19.6 ล้านลิตร
ทั้งนี้ ปริมาณการใช้ดีเซลลดลงส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมการประหยัดพลังงานของประชาชนมากขึ้นและสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องภายหลังการลอยตัวน้ำมันดีเซลตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 เพื่อให้ราคาน้ำมันสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ส่วนการใช้น้ำมันเบนซินลดลงนอกจากเรื่องของราคาแล้วส่วนหนึ่งมาจากกลุ่มผู้ขับรถยนต์เปลี่ยนมาใช้พลังงานทดแทนน้ำมันเป็นจำนวนมาก ได้แก่ การใช้เอ็นจีวีเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปี 2548 ร้อยละ 52.7 ส่วนการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นเฉลี่ยวันละ 3.5 ล้านลิตร หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17.9 ของการใช้น้ำมันเบนซินทั้งหมด
นอกจากนี้ จากความต้องการใช้น้ำมันที่ลดลงส่งผลให้ปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบ 8 เดือนแรกของปี 2549 ลดลงร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2548 โดยลดลงจากวันละ 854,000 บาร์เรล เหลือวันละ 842,000 บาร์เรล แต่ก็พบว่าประเทศต้องสูญเสียมูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบเป็นเงินทั้งสิ้น 522,239 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.3 อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยแม้จะมีมูลค่าการนำเข้ามากขึ้น แต่ประเทศก็มีรายได้จากการส่งออกน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูป 8 เดือนแรกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2548 เช่นเดียวกัน โดยสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศคิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 117,330 ล้านบาท แบ่งเป็นส่งออกน้ำมันดิบคิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 36,301 ล้านบาท และการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปมูลค่าทั้งสิ้น 81,029 ล้านบาท