กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมมือกับ GTZ ทำโครงการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มในพื้นที่ภาคใต้ โดยเริ่มต้นที่สุราษฎร์ธานี เป็นลำดับแรก “จักรมณฑ์” ระบุความต้องการน้ำมันปาล์มในอนาคตจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แนะผู้ประกอบการรวมกลุ่มคลัสเตอร์เพื่อยกระดับคุณภาพการผลิตไบโอดีเซล และกำหนดโครงสร้างราคาตามกลไกตลาด
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับสำนักงานเพื่อความร่วมมือทางวิชาการแห่งประเทศเยอรมนี (GTZ) จัดทำโครงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มในพื้นที่ภาคใต้ โดยเริ่มนำร่องที่ จ.สุราษฎร์ธานี ระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี (2549-2550) ก่อนที่จะขยายผลไปยังจังหวัดอื่น ๆ
สำหรับโครงการความร่วมมือครั้งนี้ เน้นการส่งเสริมให้กลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) และวิสาหกิจชุมชน เกิดการรวมกลุ่มคลัสเตอร์น้ำมันปาล์ม เพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรเพิ่มขึ้น ในเบื้องต้นกระทรวงอุตสาหกรรมได้สำรวจข้อมูล การเชื่อมโยงของโรงงานปาล์มน้ำมันแต่ละพื้นที่ และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในจังหวัด พร้อมกับจัดส่งผู้เชี่ยวชาญไปให้ความรู้แก่เกษตรกร โรงสกัดน้ำมันปาล์ม และผู้ค้าที่เกี่ยวข้องในด้านการผลิตอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มทั้งระบบ
นอกจากนี้ จะมีแผนการกำหนดมาตรฐานการรับซื้อผลปาล์มในกลุ่มคลัสเตอร์ เพื่อให้เกษตรกรได้รับความเป็นธรรมในเรื่องโครงสร้างราคาตามกลไกของตลาด ส่วนผู้ประกอบการก็จะมีตลาดรองรับที่ชัดเจน และมีโอกาสขยายตลาดได้อีกมากในอนาคตตามนโยบายของรัฐบาลที่ตั้งเป้าว่า ในปี 2555 ไบโอดีเซลจะต้องผลิตให้ได้ 8,500,000 ลิตรต่อวัน อีกทั้งโครงการดังกล่าวยังสามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจโดยรวมในพื้นที่ภาคใต้ได้อีกด้วย
“เมื่อพิจารณาโครงสร้างการผลิตไบโอดีเซลเพื่อทดแทนการใช้น้ำมันดีเซลแล้ว พบว่าน้ำมันปาล์มน่าจะมีความเหมาะสมมากที่สุดที่จะนำมาทำไบโอดีเซล เพราะนอกจากราคาจะเหมาะสมอยู่ที่กิโลกรัมละประมาณ 14-15 บาทแล้ว ในส่วนของผู้ใช้พลังงานปัจจุบันก็มีการยอมรับในมาตรฐานมากขึ้น ขณะที่ผู้ผลิตก็สามารถผลิตวัตถุดิบป้อนสู่ระบบได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการ ทำให้เกิดความสมดุลทั้งด้านอุปสงค์ และอุปทานของตลาด อย่างไรก็ตาม เกษตรกรและผู้ประกอบการโรงงานจะต้องเร่งเตรียมความพร้อมในการผลิตที่มุ่งเน้นการควบคุมคุณภาพ เพื่อรักษามาตรฐานการผลิตให้เท่ากันหมด รวมถึงพัฒนาวิธีการตรวจสอบ และระบบมาตรฐานต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการยอมรับในระดับสากล” นายจักรมณฑ์ กล่าว
สำหรับแผนการดำเนินโครงการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) จะทำหน้าที่ในการประสานการทำงานร่วมกับ GTZ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มใน 6 ด้าน ได้แก่ 1.การส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายพันธมิตรคลัสเตอร์อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 2.ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต การตลาด รวมถึงการพัฒนาบุคลากรในโรงงาน 3.สร้างความเชื่อมโยงระหว่างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มและเกษตรกรเครือข่าย 4.จัดการศึกษาดูงานจัดการอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มและการจัดการสวนปาล์มในประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ อาทิ ประเทศมาเลเซีย เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และนำมาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 5.การพัฒนาประสิทธิภาพการบริการห้องปฏิบัติการทดสอบดินและใบของโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม และ 6.ส่งเสริมการคัดเลือกพันธุ์ปาล์มและวิธีการปลูกปาล์มน้ำมันทดแทนต้นเก่า
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับสำนักงานเพื่อความร่วมมือทางวิชาการแห่งประเทศเยอรมนี (GTZ) จัดทำโครงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มในพื้นที่ภาคใต้ โดยเริ่มนำร่องที่ จ.สุราษฎร์ธานี ระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี (2549-2550) ก่อนที่จะขยายผลไปยังจังหวัดอื่น ๆ
สำหรับโครงการความร่วมมือครั้งนี้ เน้นการส่งเสริมให้กลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) และวิสาหกิจชุมชน เกิดการรวมกลุ่มคลัสเตอร์น้ำมันปาล์ม เพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรเพิ่มขึ้น ในเบื้องต้นกระทรวงอุตสาหกรรมได้สำรวจข้อมูล การเชื่อมโยงของโรงงานปาล์มน้ำมันแต่ละพื้นที่ และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในจังหวัด พร้อมกับจัดส่งผู้เชี่ยวชาญไปให้ความรู้แก่เกษตรกร โรงสกัดน้ำมันปาล์ม และผู้ค้าที่เกี่ยวข้องในด้านการผลิตอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มทั้งระบบ
นอกจากนี้ จะมีแผนการกำหนดมาตรฐานการรับซื้อผลปาล์มในกลุ่มคลัสเตอร์ เพื่อให้เกษตรกรได้รับความเป็นธรรมในเรื่องโครงสร้างราคาตามกลไกของตลาด ส่วนผู้ประกอบการก็จะมีตลาดรองรับที่ชัดเจน และมีโอกาสขยายตลาดได้อีกมากในอนาคตตามนโยบายของรัฐบาลที่ตั้งเป้าว่า ในปี 2555 ไบโอดีเซลจะต้องผลิตให้ได้ 8,500,000 ลิตรต่อวัน อีกทั้งโครงการดังกล่าวยังสามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจโดยรวมในพื้นที่ภาคใต้ได้อีกด้วย
“เมื่อพิจารณาโครงสร้างการผลิตไบโอดีเซลเพื่อทดแทนการใช้น้ำมันดีเซลแล้ว พบว่าน้ำมันปาล์มน่าจะมีความเหมาะสมมากที่สุดที่จะนำมาทำไบโอดีเซล เพราะนอกจากราคาจะเหมาะสมอยู่ที่กิโลกรัมละประมาณ 14-15 บาทแล้ว ในส่วนของผู้ใช้พลังงานปัจจุบันก็มีการยอมรับในมาตรฐานมากขึ้น ขณะที่ผู้ผลิตก็สามารถผลิตวัตถุดิบป้อนสู่ระบบได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการ ทำให้เกิดความสมดุลทั้งด้านอุปสงค์ และอุปทานของตลาด อย่างไรก็ตาม เกษตรกรและผู้ประกอบการโรงงานจะต้องเร่งเตรียมความพร้อมในการผลิตที่มุ่งเน้นการควบคุมคุณภาพ เพื่อรักษามาตรฐานการผลิตให้เท่ากันหมด รวมถึงพัฒนาวิธีการตรวจสอบ และระบบมาตรฐานต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการยอมรับในระดับสากล” นายจักรมณฑ์ กล่าว
สำหรับแผนการดำเนินโครงการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) จะทำหน้าที่ในการประสานการทำงานร่วมกับ GTZ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มใน 6 ด้าน ได้แก่ 1.การส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายพันธมิตรคลัสเตอร์อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 2.ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต การตลาด รวมถึงการพัฒนาบุคลากรในโรงงาน 3.สร้างความเชื่อมโยงระหว่างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มและเกษตรกรเครือข่าย 4.จัดการศึกษาดูงานจัดการอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มและการจัดการสวนปาล์มในประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ อาทิ ประเทศมาเลเซีย เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และนำมาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 5.การพัฒนาประสิทธิภาพการบริการห้องปฏิบัติการทดสอบดินและใบของโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม และ 6.ส่งเสริมการคัดเลือกพันธุ์ปาล์มและวิธีการปลูกปาล์มน้ำมันทดแทนต้นเก่า