กระทรวงการคลังรายงานตัวเลขมูลค่านำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2549 พบว่า แม้ภาวะเศรษฐกิจจะชะลอตัว แต่คนไทยก็ยังนิยมสินค้าฟุ่มเฟือยส่งผลยอดนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือย เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 8 มูลค่านำเข้ากว่า 772 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยน้ำหอมและเครื่องสำอาง สุราต่างประเทศ และนาฬิกาและอุปกรณ์มียอดนำเข้ามากที่สุด
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รักษาการโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยไตรมาสที่ 2 และ 3 ปีงบประมาณ 2549 จากกระทรวงการคลัง โดยไตรมาส 2 (ม.ค.-มี.ค. 2549) สินค้าฟุ่มเฟือยทั้ง 17 กลุ่มสินค้า มีมูลค่านำเข้ารวม 253.540 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2548 จำนวน 22.089 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 9.54 โดยสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ น้ำหอมและเครื่องสำอาง มีมูลค่านำเข้า 42.328 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 2.677 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 5.95 สุราต่างประเทศ มีมูลค่านำเข้า 37.746 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 2.082 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 5.84 และนาฬิกาและอุปกรณ์ มีมูลค่านำเข้า 32.655 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 3.759 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 13.01
ส่วนสินค้าฟุ่มเฟือยในไตรมาส 3 ของปีงบประมาณ 2549 (เม.ย.-มิ.ย. 2549) มีมูลค่านำเข้ารวม 253.258 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของ ปีงบประมาณ 2548 จำนวน 30.71 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 13.80 โดยสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุด 3 อันดับแรก ยังเป็นน้ำหอมและเครื่องสำอาง มีมูลค่านำเข้า 43.722 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 0.520 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 1.21 สุราต่างประเทศ มีมูลค่านำเข้า 34.118 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 11.713 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 52.28 และนาฬิกาและอุปกรณ์ มีมูลค่านำเข้า 29.799 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 0.270 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 0.92
รวมสินค้าฟุ่มเฟือยที่นำเข้าในช่วง 9 เดือนแรกปีงบประมาณ 2549 มีมูลค่านำเข้ารวม 772.308 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2548 มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 59.071 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 8.28 โดยสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ น้ำหอมและเครื่องสำอาง มีมูลค่านำเข้า 128.533 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 0.590 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 0.46 สุราต่างประเทศ มีมูลค่านำเข้า 112.259 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 14.896 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 15.30 และนาฬิกาและอุปกรณ์ มีมูลค่านำเข้า 104.634 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 2.516 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 2.46
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รักษาการโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยไตรมาสที่ 2 และ 3 ปีงบประมาณ 2549 จากกระทรวงการคลัง โดยไตรมาส 2 (ม.ค.-มี.ค. 2549) สินค้าฟุ่มเฟือยทั้ง 17 กลุ่มสินค้า มีมูลค่านำเข้ารวม 253.540 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2548 จำนวน 22.089 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 9.54 โดยสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ น้ำหอมและเครื่องสำอาง มีมูลค่านำเข้า 42.328 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 2.677 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 5.95 สุราต่างประเทศ มีมูลค่านำเข้า 37.746 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 2.082 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 5.84 และนาฬิกาและอุปกรณ์ มีมูลค่านำเข้า 32.655 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 3.759 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 13.01
ส่วนสินค้าฟุ่มเฟือยในไตรมาส 3 ของปีงบประมาณ 2549 (เม.ย.-มิ.ย. 2549) มีมูลค่านำเข้ารวม 253.258 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของ ปีงบประมาณ 2548 จำนวน 30.71 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 13.80 โดยสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุด 3 อันดับแรก ยังเป็นน้ำหอมและเครื่องสำอาง มีมูลค่านำเข้า 43.722 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 0.520 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 1.21 สุราต่างประเทศ มีมูลค่านำเข้า 34.118 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 11.713 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 52.28 และนาฬิกาและอุปกรณ์ มีมูลค่านำเข้า 29.799 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 0.270 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 0.92
รวมสินค้าฟุ่มเฟือยที่นำเข้าในช่วง 9 เดือนแรกปีงบประมาณ 2549 มีมูลค่านำเข้ารวม 772.308 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2548 มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 59.071 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 8.28 โดยสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ น้ำหอมและเครื่องสำอาง มีมูลค่านำเข้า 128.533 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 0.590 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 0.46 สุราต่างประเทศ มีมูลค่านำเข้า 112.259 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 14.896 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 15.30 และนาฬิกาและอุปกรณ์ มีมูลค่านำเข้า 104.634 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 2.516 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 2.46