น้ำอัดลม เป็นเครื่องดื่มซึ่งไม่มีแอลกอฮอล์ที่ประชาชนคนไทยให้ความนิยมในการบริโภคกันมาช้านานเหนือกว่าเครื่องดื่มประเภทอื่น ๆ จนปัจจุบันได้กลายเป็นเครื่องดื่มในชีวิตประจำวันของคนเมืองทั่วไป ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากที่ตั้งของประเทศไทยอยู่ในพื้นที่ซึ่งมีอากาศร้อน ทำให้น้ำอัดลมเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมในการช่วยบรรเทาความกระหาย ส่งผลให้มูลค่าตลาดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่อง
แม้ว่า ในระยะ 2 – 3 ปีที่ผ่านมา มูลค่าตลาดน้ำอัดลมมักมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นไม่มากนัก เนื่องจากผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรมไปตามกระแสสุขภาพ โดยหันไปบริโภคเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพมากขึ้น และในระยะหลัง ยังได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบด้านราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ย รวมถึงราคาสินค้าและค่าสาธารณูปโภคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงเพราะต้องแบกรับภาระค่าครองชีพที่สูงขึ้น ส่งผลให้น้ำอัดลมซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่จำเป็นพลอยได้รับผลกระทบตามไปด้วย
โดยในปี 2549 คาดว่า มูลค่าตลาดน้ำอัดลมภายในประเทศจะมีประมาณ 31,500 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 5% จากปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ตลาดน้ำอัดลมก็ยังมีโอกาสในการขยายตัวได้อีก เนื่องจากอัตราการดื่มน้ำอัดลมของคนไทยในปัจจุบัน ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 110 ขวด/คน/ปี ถือว่าเป็นอัตราที่ยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับอีกหลายประเทศ อาทิ ฟิลิปปินส์ ซึ่งมีอัตราการดื่มน้ำอัดลมประมาณ 300 ขวด/คน/ปี และสหรัฐอเมริกา ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 600 – 700 ขวด/คน/ปี
สถานะของผู้ประกอบการไทย
น้ำอัดลมเป็นอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ มีความสำคัญในการจ้างแรงงานสูงถึงปีละประมาณ 35,000 – 40,000 คน และยังรวมไปถึงการจ้างงานในอุตสาหกรรมข้างเคียงไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมน้ำตาล ขวดแก้ว กระป๋อง ฝาจุกจีบ ลังพลาสติก และบริษัท เอเยนซี่โฆษณา เป็นต้น
ปัจจุบัน มีผู้ผลิตทั้งสิ้นประมาณ 9 ราย โดยมีผู้ประกอบการรายใหญ่ภายในประเทศอยู่เพียง 2 ราย ได้แก่ บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด(มหาชน) ผลิตน้ำอัดลมโดยใช้เครื่องหมายการค้า โคคา – โคลา แฟนต้า และสไปร์ท และ บริษัท เสริมสุข จำกัด(มหาชน) ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้า เป็ปซี่ มิรินด้า เซเว่นอัพ และเมาเทนดิว การผลิตน้ำอัดลมของไทยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยในช่วงปี 2544 – 2548 ปริมาณการผลิตน้ำอัดลมได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 8.3% ต่อปี จาก 1,663 ล้านลิตร ในปี 2544 เป็น 2,272 ล้านลิตรในปี 2548 สำหรับในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2549 ปริมาณการผลิตน้ำอัดลมมีประมาณ 1,094 ล้านลิตร และมีการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 66% ของการกำลังการผลิตรวม
สำหรับต้นทุนในการผลิตน้ำอัดลม ส่วนใหญ่เป็นค่าหัวเชื้อประมาณ 39% ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ต้องอาศัยการนำเข้าจากต่างประเทศ รองลงมาเป็นค่าวัตถุดิบภายในประเทศประมาณ 38% ได้แก่ น้ำตาลทราย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ขวดพลาสติก ขวดแก้ว ฝาจุกเกลียว ฝาจุกจีบ เป็นต้น ค่าจ้างแรงงานประมาณ 7% ส่วนที่เหลือเป็นต้นทุนการผลิตในด้านอื่น ๆ อีก 16% ซึ่งได้แก่ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าบำรุงรักษาโรงงาน ค่าเสื่อมราคาของโรงงานและเครื่องจักร เป็นต้น
ตลาดภายในประเทศยังเติบโต….แม้มีปัจจัยลบรุมเร้า
ตลาดน้ำอัดลมภายในประเทศยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง พิจารณาจากการจำหน่ายซึ่งอยู่ที่ระดับ 2,037 ล้านลิตรเมื่อปี 2547 เพิ่มขึ้นเป็น 2,119 ล้านลิตรในปี 2548 หรือคิดเป็นอัตราการขยายตัว 4% สำหรับในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2549 ปริมาณการจำหน่ายน้ำอัดลมมีประมาณ 1,076 ล้านลิตร หรือเพิ่มขึ้น 13.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงหน้าร้อนของปี ซึ่งน้ำอัดลมเป็นสินค้าประจำฤดูกาล (Seasonal) มักมียอดการจำหน่ายมากกว่าฤดูกาลอื่น ประกอบกับ ผู้จำหน่ายมีการสั่งซื้อน้ำอัดลมไว้ล่วงหน้า จึงทำให้การจำหน่ายน้ำอัดลมมีปริมาณเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม การจำหน่ายน้ำอัดลมในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2549 แม้ว่าจะมีการขยายตัวที่ค่อนข้างสูง แต่ผู้ประกอบการก็ต้องทำงานอย่างหนักภายใต้ภาวะการแข่งขันที่รุนแรงทั้งจากผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเดียวกันและจากคู่แข่งในเครื่องดื่มประเภทอื่น ขณะเดียวกัน ยังต้องเผชิญกับปัญหาการปรับตัวสูงขึ้นของต้นทุนการผลิต อันเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและการขนส่งโดยตรงแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อต้นทุนด้านบรรจุภัณฑ์ที่ได้ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตทั้งในส่วนของบรรจุภัณฑ์ขวดแก้ว บรรจุภัณฑ์พลาสติก หรือบรรจุภัณฑ์โลหะ โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์พลาสติกนั้น ราคาเม็ดพลาสติกประเภท PET ที่นำไปใช้ผลิตขวดบรรจุน้ำอัดลมนั้นได้ปรับตัวสูงขึ้นมาก จาก 39 บาท/กิโลกรัม เพิ่มขึ้นเป็น 57 บาท/กิโลกรัม ประกอบกับการอนุมัติให้มีการปรับขึ้นราคาจำหน่ายน้ำตาลในประเทศอีก 3 บาทต่อกิโลกรัมของภาครัฐเมื่อเดือนมีนาค ที่ผ่านมา
โดยการวิเคราะห์ของกระทรวงพาณิชย์พบว่า การขึ้นราคาน้ำตาลในครั้งนี้ ทำให้น้ำอัดลมขนาดขวดลิตรและขนาด 280 ซีซี มีต้นทุนเพิ่มขึ้นอีกขวดละ 0.323 บาท และ 0.09 บาทตามลำดับ จนทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องพิจารณาปรับราคาจำหน่ายน้ำอัดลมขึ้นอีกขวดละ 1 บาท ในการบรรจุแต่ละขนาด ตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน ที่ผ่านมา
ส่วนใหญ่จะเป็นขนาดที่ประชาชนนิยมบริโภค อาทิ ขนาด 250 ซีซี (วันเวย์) จาก 9 บาท ปรับขึ้นเป็น 10 บาท ขนาด 280 ซีซี จาก 7 บาท เป็น 8 บาท ขนาด 325 ซีซี(กระป๋องแคน) จาก 13 บาท เป็น 14 บาท ขนาด 1 ลิตร จาก 16 บาท เป็น 17 บาท ขนาด 1.25 ลิตร จาก 25 บาท เป็น 26 บาท และล่าสุดได้มีการปรับขึ้นอีก 0.50 – 1.0 บาท (ณ วันที่ 27 กรกฎาคม ศกนี้)
ขณะที่ความต้องการในการบริโภคของประชาชนมีแนวโน้มลดลงตามกระแสใส่ใจในสุขภาพ โดยหันไปบริโภคเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการน้ำอัดลมหลายรายจำเป็นต้องนำกลยุทธ์การตลาดในรูปแบบต่างๆมาใช้ ทั้งด้านการจัดจำหน่าย การโฆษณา และการส่งเสริมการขายมากขึ้น ทั้งในรูปแบบ Sport Marketing และ Music Marketing
รวมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งด้านรสชาติและรูปแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ๆออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อดึงดูดหรือกระตุ้นผู้บริโภคให้หันมาสนใจดื่มน้ำอัดลมมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อช่วงชิงและขยายส่วนแบ่งตลาดในแต่ละผลิตภัณฑ์ให้มากที่สุด เฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเดือน มิถุนายน - กรกฎาคม ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่มีการแข่งขันฟุตบอลโลก โดยผู้ประกอบการได้เข้ามาจับกระแสความนิยมของผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขัน อาทิ การชิงโชคและแลกของรางวัล ซึ่งช่วยกระตุ้นการตัดสินใจซื้อน้ำอัดลมเพื่อร่วมรายการชิงโชคมากขึ้น
ปัจจุบันตลาดน้ำอัดลม มี“เป็ปซี่”และ“โค้ก” ครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุดถึงประมาณ 63% และ 36% ตามลำดับ และได้มีการออกผลิตภัณฑ์น้ำอัดลมเพื่อสุขภาพ ที่เน้นการผสมน้ำตาลอยู่ในระดับต่ำออกมาจำหน่าย ได้แก่ เป็ปซี่ แม็กซ์ และ ไดเอท โค้ก
แม้ว่า ในระยะ 2 – 3 ปีที่ผ่านมา มูลค่าตลาดน้ำอัดลมมักมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นไม่มากนัก เนื่องจากผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรมไปตามกระแสสุขภาพ โดยหันไปบริโภคเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพมากขึ้น และในระยะหลัง ยังได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบด้านราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ย รวมถึงราคาสินค้าและค่าสาธารณูปโภคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงเพราะต้องแบกรับภาระค่าครองชีพที่สูงขึ้น ส่งผลให้น้ำอัดลมซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่จำเป็นพลอยได้รับผลกระทบตามไปด้วย
โดยในปี 2549 คาดว่า มูลค่าตลาดน้ำอัดลมภายในประเทศจะมีประมาณ 31,500 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 5% จากปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ตลาดน้ำอัดลมก็ยังมีโอกาสในการขยายตัวได้อีก เนื่องจากอัตราการดื่มน้ำอัดลมของคนไทยในปัจจุบัน ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 110 ขวด/คน/ปี ถือว่าเป็นอัตราที่ยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับอีกหลายประเทศ อาทิ ฟิลิปปินส์ ซึ่งมีอัตราการดื่มน้ำอัดลมประมาณ 300 ขวด/คน/ปี และสหรัฐอเมริกา ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 600 – 700 ขวด/คน/ปี
สถานะของผู้ประกอบการไทย
น้ำอัดลมเป็นอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ มีความสำคัญในการจ้างแรงงานสูงถึงปีละประมาณ 35,000 – 40,000 คน และยังรวมไปถึงการจ้างงานในอุตสาหกรรมข้างเคียงไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมน้ำตาล ขวดแก้ว กระป๋อง ฝาจุกจีบ ลังพลาสติก และบริษัท เอเยนซี่โฆษณา เป็นต้น
ปัจจุบัน มีผู้ผลิตทั้งสิ้นประมาณ 9 ราย โดยมีผู้ประกอบการรายใหญ่ภายในประเทศอยู่เพียง 2 ราย ได้แก่ บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด(มหาชน) ผลิตน้ำอัดลมโดยใช้เครื่องหมายการค้า โคคา – โคลา แฟนต้า และสไปร์ท และ บริษัท เสริมสุข จำกัด(มหาชน) ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้า เป็ปซี่ มิรินด้า เซเว่นอัพ และเมาเทนดิว การผลิตน้ำอัดลมของไทยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยในช่วงปี 2544 – 2548 ปริมาณการผลิตน้ำอัดลมได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 8.3% ต่อปี จาก 1,663 ล้านลิตร ในปี 2544 เป็น 2,272 ล้านลิตรในปี 2548 สำหรับในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2549 ปริมาณการผลิตน้ำอัดลมมีประมาณ 1,094 ล้านลิตร และมีการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 66% ของการกำลังการผลิตรวม
สำหรับต้นทุนในการผลิตน้ำอัดลม ส่วนใหญ่เป็นค่าหัวเชื้อประมาณ 39% ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ต้องอาศัยการนำเข้าจากต่างประเทศ รองลงมาเป็นค่าวัตถุดิบภายในประเทศประมาณ 38% ได้แก่ น้ำตาลทราย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ขวดพลาสติก ขวดแก้ว ฝาจุกเกลียว ฝาจุกจีบ เป็นต้น ค่าจ้างแรงงานประมาณ 7% ส่วนที่เหลือเป็นต้นทุนการผลิตในด้านอื่น ๆ อีก 16% ซึ่งได้แก่ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าบำรุงรักษาโรงงาน ค่าเสื่อมราคาของโรงงานและเครื่องจักร เป็นต้น
ตลาดภายในประเทศยังเติบโต….แม้มีปัจจัยลบรุมเร้า
ตลาดน้ำอัดลมภายในประเทศยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง พิจารณาจากการจำหน่ายซึ่งอยู่ที่ระดับ 2,037 ล้านลิตรเมื่อปี 2547 เพิ่มขึ้นเป็น 2,119 ล้านลิตรในปี 2548 หรือคิดเป็นอัตราการขยายตัว 4% สำหรับในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2549 ปริมาณการจำหน่ายน้ำอัดลมมีประมาณ 1,076 ล้านลิตร หรือเพิ่มขึ้น 13.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงหน้าร้อนของปี ซึ่งน้ำอัดลมเป็นสินค้าประจำฤดูกาล (Seasonal) มักมียอดการจำหน่ายมากกว่าฤดูกาลอื่น ประกอบกับ ผู้จำหน่ายมีการสั่งซื้อน้ำอัดลมไว้ล่วงหน้า จึงทำให้การจำหน่ายน้ำอัดลมมีปริมาณเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม การจำหน่ายน้ำอัดลมในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2549 แม้ว่าจะมีการขยายตัวที่ค่อนข้างสูง แต่ผู้ประกอบการก็ต้องทำงานอย่างหนักภายใต้ภาวะการแข่งขันที่รุนแรงทั้งจากผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเดียวกันและจากคู่แข่งในเครื่องดื่มประเภทอื่น ขณะเดียวกัน ยังต้องเผชิญกับปัญหาการปรับตัวสูงขึ้นของต้นทุนการผลิต อันเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนอกจากจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและการขนส่งโดยตรงแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อต้นทุนด้านบรรจุภัณฑ์ที่ได้ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตทั้งในส่วนของบรรจุภัณฑ์ขวดแก้ว บรรจุภัณฑ์พลาสติก หรือบรรจุภัณฑ์โลหะ โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์พลาสติกนั้น ราคาเม็ดพลาสติกประเภท PET ที่นำไปใช้ผลิตขวดบรรจุน้ำอัดลมนั้นได้ปรับตัวสูงขึ้นมาก จาก 39 บาท/กิโลกรัม เพิ่มขึ้นเป็น 57 บาท/กิโลกรัม ประกอบกับการอนุมัติให้มีการปรับขึ้นราคาจำหน่ายน้ำตาลในประเทศอีก 3 บาทต่อกิโลกรัมของภาครัฐเมื่อเดือนมีนาค ที่ผ่านมา
โดยการวิเคราะห์ของกระทรวงพาณิชย์พบว่า การขึ้นราคาน้ำตาลในครั้งนี้ ทำให้น้ำอัดลมขนาดขวดลิตรและขนาด 280 ซีซี มีต้นทุนเพิ่มขึ้นอีกขวดละ 0.323 บาท และ 0.09 บาทตามลำดับ จนทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องพิจารณาปรับราคาจำหน่ายน้ำอัดลมขึ้นอีกขวดละ 1 บาท ในการบรรจุแต่ละขนาด ตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน ที่ผ่านมา
ส่วนใหญ่จะเป็นขนาดที่ประชาชนนิยมบริโภค อาทิ ขนาด 250 ซีซี (วันเวย์) จาก 9 บาท ปรับขึ้นเป็น 10 บาท ขนาด 280 ซีซี จาก 7 บาท เป็น 8 บาท ขนาด 325 ซีซี(กระป๋องแคน) จาก 13 บาท เป็น 14 บาท ขนาด 1 ลิตร จาก 16 บาท เป็น 17 บาท ขนาด 1.25 ลิตร จาก 25 บาท เป็น 26 บาท และล่าสุดได้มีการปรับขึ้นอีก 0.50 – 1.0 บาท (ณ วันที่ 27 กรกฎาคม ศกนี้)
ขณะที่ความต้องการในการบริโภคของประชาชนมีแนวโน้มลดลงตามกระแสใส่ใจในสุขภาพ โดยหันไปบริโภคเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการน้ำอัดลมหลายรายจำเป็นต้องนำกลยุทธ์การตลาดในรูปแบบต่างๆมาใช้ ทั้งด้านการจัดจำหน่าย การโฆษณา และการส่งเสริมการขายมากขึ้น ทั้งในรูปแบบ Sport Marketing และ Music Marketing
รวมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งด้านรสชาติและรูปแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ๆออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อดึงดูดหรือกระตุ้นผู้บริโภคให้หันมาสนใจดื่มน้ำอัดลมมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อช่วงชิงและขยายส่วนแบ่งตลาดในแต่ละผลิตภัณฑ์ให้มากที่สุด เฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเดือน มิถุนายน - กรกฎาคม ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่มีการแข่งขันฟุตบอลโลก โดยผู้ประกอบการได้เข้ามาจับกระแสความนิยมของผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขัน อาทิ การชิงโชคและแลกของรางวัล ซึ่งช่วยกระตุ้นการตัดสินใจซื้อน้ำอัดลมเพื่อร่วมรายการชิงโชคมากขึ้น
ปัจจุบันตลาดน้ำอัดลม มี“เป็ปซี่”และ“โค้ก” ครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุดถึงประมาณ 63% และ 36% ตามลำดับ และได้มีการออกผลิตภัณฑ์น้ำอัดลมเพื่อสุขภาพ ที่เน้นการผสมน้ำตาลอยู่ในระดับต่ำออกมาจำหน่าย ได้แก่ เป็ปซี่ แม็กซ์ และ ไดเอท โค้ก