คณะรัฐมนตรีอนุมัติแผนกู้เงินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กว่า 5,000 ล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาขาดทุน และผลกระทบจากราคาน้ำมันแพง

นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รักษาการโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแผนกู้เงินระยะยาวเพื่อใช้ในการดำเนินงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดยเฉพาะการแก้ปัญหาขาดทุน โดยผลการดำเนินงานจริงจากเดือนตุลาคม 2548 ถึงเดือนมกราคม 2549 ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันแพง รวมทั้งค่าจ้างพนักงานและเงินบำนาญ ทำให้คาดว่ามีผลขาดทุนเพิ่มขึ้นถึง 1,700 ล้านบาท และมีเงินสดขาดมือเพิ่มขึ้นถึง 968 ล้านบาท ซึ่ง รฟท.คาดว่า ในงบประจำปี 2549 จะมีผลขาดทุนจาก 6,434 ล้านบาท เพิ่มเป็น 8,136 ล้านบาท โดยมีเงินสดปลายงวดขาดอยู่จำนวน 5,565 ล้านบาท ขณะที่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการรักษาโครงสร้างพื้นฐาน แต่ไม่สามารถปรับค่าโดยสารให้สอดคล้องกับต้นทุนที่แท้จริง รวมทั้งไม่สามารถยกเลิกขบวนรถโดยสารที่ขาดทุนได้ เพราะเป็นการให้บริการเชิงสังคม รฟท.จึงต้องขออนุมัติกู้เงิน 5,565 ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อให้มีเงินสดรองรับการดำเนินงานและชำระเงินกู้
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รักษาการโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแผนกู้เงินระยะยาวเพื่อใช้ในการดำเนินงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดยเฉพาะการแก้ปัญหาขาดทุน โดยผลการดำเนินงานจริงจากเดือนตุลาคม 2548 ถึงเดือนมกราคม 2549 ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันแพง รวมทั้งค่าจ้างพนักงานและเงินบำนาญ ทำให้คาดว่ามีผลขาดทุนเพิ่มขึ้นถึง 1,700 ล้านบาท และมีเงินสดขาดมือเพิ่มขึ้นถึง 968 ล้านบาท ซึ่ง รฟท.คาดว่า ในงบประจำปี 2549 จะมีผลขาดทุนจาก 6,434 ล้านบาท เพิ่มเป็น 8,136 ล้านบาท โดยมีเงินสดปลายงวดขาดอยู่จำนวน 5,565 ล้านบาท ขณะที่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการรักษาโครงสร้างพื้นฐาน แต่ไม่สามารถปรับค่าโดยสารให้สอดคล้องกับต้นทุนที่แท้จริง รวมทั้งไม่สามารถยกเลิกขบวนรถโดยสารที่ขาดทุนได้ เพราะเป็นการให้บริการเชิงสังคม รฟท.จึงต้องขออนุมัติกู้เงิน 5,565 ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อให้มีเงินสดรองรับการดำเนินงานและชำระเงินกู้