จับตา “ซีวีดี” ยักษ์ใหญ่วงการโฮมเอนเตอร์เทนเม้นท์วันนี้ใต้อุ้งมือ “มาลีนนท์” บริหารเบ็ดเสร็จ มือดีเตรียมลาออก พร้อมทั้งลิขสิทธิ์หนังค่ายเมเจอร์มีแนวโน้มหลุดมือ เผยเคยเจรจาทำตลาดขายหนังไทยของเสี่ยเจียงแทนแมงป่อง สุดท้ายพลาดท่าโดนค่ายพรีเมียมฯคว้าไปแทน
หลังจากที่เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ทั้งในแง่ของผู้ถือหุ้นใหญ่และผู้บริหารตัวหลักตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ในบริษัท ซีวีดี เอนเตอร์เทนเม้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด โดยนายเผด็จ หงษ์ฟ้า อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ได้ตัดสินใจลาออกไปเมื่อประมาณปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา หลังจากที่ได้ขายหุ้นที่ถือไว้ทั้งหมดให้กับทางกลุ่มของนายประชา มาลีนนท์ จากบริษัท บีอีซี เวิล์ด จำกัด (มหาชน) และกลุ่มมาลีนนท์ได้กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ไปนั้น
จากนี้ไปน่าจับตามองถึงความเคลื่อนไหวต่างๆที่จะเกิดขึ้นกับซีวีดี ภายใต้การบริหารงานของนางสาวแคทเทอรีน มาลีนนท์ และนางสาวเทรซี่ มาลีนนท์ ซึ่งเป็นลูกสาวของนายประชา มาลีนนท์ ที่จะต้องเข้ามากุมบังเหียนซีวีดี องค์กรเก่าแก่และเป็นยักษ์ใหญ่ในวงการโฮมเอนเตอร์เทนเม้นท์ของไทย แบบเต็มตัว ในยุคที่ปัญหาทางด้านการละเมิดลิขสิทธิ์กลับมารุนแรงเพิ่มขึ้นอีก จากเดิมที่ก่อนหน้านี้ตระกูลมาลีนนท์เป็นเพียงแค่ผู้ถือหุ้นเท่านั้น ยังไม่มีบทบาทในการบริหารงานมากนัก
รวมทั้งที่ยากยิ่งกว่าคือ จะต้องบริหารความสัมพันธ์กับบริษัทต่างประเทศที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หนังต่างๆที่ซีวีดีถืออยู่ในมือ และเป็นเส้นเลือดใหญ่ของการสร้างรายได้เลี้ยงองค์กรด้วย
มืออาชีพลาออก
ล่าสุดนี้มีกระแสข่าวว่า หลังจากที่นายเผด็จ ได้ลาออกไปไม่นาน ก็มีแนวโน้มว่าผู้บริหารระดับสูงและเป็นหัวใจสำคัญของซีวีดี ถึง 2 ตำแหน่งลาออกด้วย คือ ผู้จัดการฝ่ายขาย ซึ่งทำอยู่ที่ซีวีดีมานาน และมีข่าวว่าได้ไปร่วมงานที่บริษัท อาร์เอส จำกัด
ส่วนอีกตำแหน่งคือ นายไบรอัน เอสทาร์ท ก็มีกระแสข่าวว่าจะลาออกด้วยเช่นกัน ซึ่งคนนี้ถือว่ามีความสำคัญและมีบทบาทอย่างมาก เนื่องจาก เป็นผู้ที่เจรจาซื้อลิขสิทธิ์หนังจากต่างประเทศ และต่างประเทศรู้จักคุ้นเคยเป็นอย่างดี
“ตรงนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะว่าต่างประเทศเขารู้ดีว่าเจรจากับใครมาก่อน เขาจะมีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน และมีสายสัมพันธ์อันดีกัน หากเป็นคนใหม่ที่จะไปเจรจาก็จะลำบากมากขึ้น ไหนจะต้องแข่งกับผู้ขอซื้อรายอื่นอีก ทำให้ขาดความต่อเนื่องในเรื่องของสายสัมพันธ์” แหล่งข่าวในวงการให้ความเห็นถึงกาเจรจากับต่างประเทศ
นอกจากนั้นแล้วในเรื่องของการถือครองลิขสิทธิ์ค่ายหนังเมเจอร์ที่ซีวีดีมีอยู่นั้น ก็มีบางค่ายที่จะใกล้ครบสัญญาและต้องต่อสัญญากันใหม่ แต่มีแนวโน้มว่า ลิขสิทธิ์หนังเมเจอร์บางค่ายจะมีการเปลี่ยนมือ และซีวีดีอาจจะไม่ได้รับการต่อสัญญาเช่น ลิขสิทธิ์โฮมเอนเตอร์เทนเม้นท์ของค่าย ฟ็อกซ์ ซึ่งมีข่าวว่า ซีวีดีไม่สู้ราคา ลิขสิทธิ์จึงหลุดมือไป และมีแนวโน้มค่อนข้างมากว่า ลิขสิทธิ์ดังกล่าวจะไปตกอยู่ในกำมือของ บริษัท แคตเทอลิสต์ฯ
จับตาลิขสิทธิ์หนังหลุดมือ
อย่างไรก็ดี ยังมีลิขสิทธิ์หนังเมเจอร์ของค่ายโคลัมเบียอีกที่ต้องจับตามองให้ดีว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง เพราะใกล้ครบสัญญากับซีวีดีแล้ว
ขณะที่ลิขสิทธิ์หนังเมเจอร์ที่เป็นแหล่งสร้างรายได้หลักของซีวีดีมากกว่า 75% จากรายได้รวมทั้งหมด จะหลุดมือไปมากนั้น แต่การดำเนินงานภายในองค์กรกลับไปให้ความสำคัญกับการปลุกปั้นหนังที่ไม่ใช่ของค่ายเมเจอร์ฮอลลีวู้ดมากแทน เช่น ลิขสิทธิ์ละครเรื่องอุ้มรัก ซึ่งฉายทางช่อง 3 จบไปแล้ว หรือละครเรื่องแดจังกึมจอมนางแห่งวังหลวง ละครเรื่องหมอโฮจุนคนดีที่โลกรอ เป็นต้น จะนำเอามาทำตลาดในศูนย์เช่าต่างๆ
นอกจากนั้นในช่วงที่ผ่านมาการเจรจาระหว่างซีวีดีกับทางกลุ่มสหมงคลฟิล์มของเสี่ยเจียง- นายสมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ ในการซื้อขายลิขสิทธิ์หนังก็ต้องล้มเหลวไป โดยซีวีดีต้องการที่จะเข้ามาทำตลาดขายให้กับสหมงคลฟิล์ม
ทั้งนี้การเจรจาซื้อลิขสิทธิ์หนังจากค่ายสหมงคลฟิล์มนี้เป็นส่วนหนึ่งของความเคลื่อนไหวในวงการโดยรวม หลังจากที่ทางบริษัท แมงป่อง จำกัด (มหาชน) ได้ตัดสินใจยกเลิกการซื้อลิขสิทธิ์หนังจากสหมงคลฟิล์ม เพราะไม่สามารถแบกรับต้นทุนค่าลิขสิทธิ์ที่สูงขึ้นและการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ได้ ซึ่งแต่เดิมแมงป่องทำลิขสิทธิ์หนังไทยกับหนังฝรั่งเฉพาะตลาดขายของสหมงคลฟิล์มเท่านั้น โดยมีค่ายอีวีเอส ทำตลาดขายเฉพาะหนังจีน เกาหลี และญี่ปุ่นให้กับทางสหมงคลฟิล์ม
ในช่วงแรกๆนั้นซีวีดีก็เปิดโต๊ะเจรจากับทางสหมงคลฟิล์มที่จะเข้ารับลิขสิทธิ์ทำตลาดต่อ แต่ก็ไม่สามารถตกลงเรื่องราคากันได้
ในที่สุดทางบริษัท พรีเมียม ดิจิตอล เอนเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด ก็เป็นผู้ที่เข้ามาเจรจาและคว้าลิขสิทธิ์หนังไทยในส่วนของตลาดขายของสหมงคลฟิล์มไปแทน โดยเริ่มตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เริ่มตั้งแต่หนังเรื่อง โนอา ซึ่งค่ายพรีเมี่ยมฯนี้ก็เป็นบริษัทฯที่ซื้อลิขสิทธิ์หนังไทยจากค่ายใหญ่หลายแห่งเช่น จีทีเอช อาร์เอส เป็นต้น
ส่วนลิขสิทธิ์หนังฝรั่งของสหมงคลฟิล์มในส่วนของตลาดขายนั้นก็ตกเป็นของ บริษัท อีวีเอส สำหรับตลาดเช่าทั้งหมดนั้นยังคงอยู่ในความรับผิดชอบของบริษัท แฮปปี้โฮม เอนเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด บริษัทในเครือของเสี่ยงเจียงเอง
หลังจากที่เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ทั้งในแง่ของผู้ถือหุ้นใหญ่และผู้บริหารตัวหลักตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ในบริษัท ซีวีดี เอนเตอร์เทนเม้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด โดยนายเผด็จ หงษ์ฟ้า อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ได้ตัดสินใจลาออกไปเมื่อประมาณปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา หลังจากที่ได้ขายหุ้นที่ถือไว้ทั้งหมดให้กับทางกลุ่มของนายประชา มาลีนนท์ จากบริษัท บีอีซี เวิล์ด จำกัด (มหาชน) และกลุ่มมาลีนนท์ได้กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ไปนั้น
จากนี้ไปน่าจับตามองถึงความเคลื่อนไหวต่างๆที่จะเกิดขึ้นกับซีวีดี ภายใต้การบริหารงานของนางสาวแคทเทอรีน มาลีนนท์ และนางสาวเทรซี่ มาลีนนท์ ซึ่งเป็นลูกสาวของนายประชา มาลีนนท์ ที่จะต้องเข้ามากุมบังเหียนซีวีดี องค์กรเก่าแก่และเป็นยักษ์ใหญ่ในวงการโฮมเอนเตอร์เทนเม้นท์ของไทย แบบเต็มตัว ในยุคที่ปัญหาทางด้านการละเมิดลิขสิทธิ์กลับมารุนแรงเพิ่มขึ้นอีก จากเดิมที่ก่อนหน้านี้ตระกูลมาลีนนท์เป็นเพียงแค่ผู้ถือหุ้นเท่านั้น ยังไม่มีบทบาทในการบริหารงานมากนัก
รวมทั้งที่ยากยิ่งกว่าคือ จะต้องบริหารความสัมพันธ์กับบริษัทต่างประเทศที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หนังต่างๆที่ซีวีดีถืออยู่ในมือ และเป็นเส้นเลือดใหญ่ของการสร้างรายได้เลี้ยงองค์กรด้วย
มืออาชีพลาออก
ล่าสุดนี้มีกระแสข่าวว่า หลังจากที่นายเผด็จ ได้ลาออกไปไม่นาน ก็มีแนวโน้มว่าผู้บริหารระดับสูงและเป็นหัวใจสำคัญของซีวีดี ถึง 2 ตำแหน่งลาออกด้วย คือ ผู้จัดการฝ่ายขาย ซึ่งทำอยู่ที่ซีวีดีมานาน และมีข่าวว่าได้ไปร่วมงานที่บริษัท อาร์เอส จำกัด
ส่วนอีกตำแหน่งคือ นายไบรอัน เอสทาร์ท ก็มีกระแสข่าวว่าจะลาออกด้วยเช่นกัน ซึ่งคนนี้ถือว่ามีความสำคัญและมีบทบาทอย่างมาก เนื่องจาก เป็นผู้ที่เจรจาซื้อลิขสิทธิ์หนังจากต่างประเทศ และต่างประเทศรู้จักคุ้นเคยเป็นอย่างดี
“ตรงนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะว่าต่างประเทศเขารู้ดีว่าเจรจากับใครมาก่อน เขาจะมีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน และมีสายสัมพันธ์อันดีกัน หากเป็นคนใหม่ที่จะไปเจรจาก็จะลำบากมากขึ้น ไหนจะต้องแข่งกับผู้ขอซื้อรายอื่นอีก ทำให้ขาดความต่อเนื่องในเรื่องของสายสัมพันธ์” แหล่งข่าวในวงการให้ความเห็นถึงกาเจรจากับต่างประเทศ
นอกจากนั้นแล้วในเรื่องของการถือครองลิขสิทธิ์ค่ายหนังเมเจอร์ที่ซีวีดีมีอยู่นั้น ก็มีบางค่ายที่จะใกล้ครบสัญญาและต้องต่อสัญญากันใหม่ แต่มีแนวโน้มว่า ลิขสิทธิ์หนังเมเจอร์บางค่ายจะมีการเปลี่ยนมือ และซีวีดีอาจจะไม่ได้รับการต่อสัญญาเช่น ลิขสิทธิ์โฮมเอนเตอร์เทนเม้นท์ของค่าย ฟ็อกซ์ ซึ่งมีข่าวว่า ซีวีดีไม่สู้ราคา ลิขสิทธิ์จึงหลุดมือไป และมีแนวโน้มค่อนข้างมากว่า ลิขสิทธิ์ดังกล่าวจะไปตกอยู่ในกำมือของ บริษัท แคตเทอลิสต์ฯ
จับตาลิขสิทธิ์หนังหลุดมือ
อย่างไรก็ดี ยังมีลิขสิทธิ์หนังเมเจอร์ของค่ายโคลัมเบียอีกที่ต้องจับตามองให้ดีว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง เพราะใกล้ครบสัญญากับซีวีดีแล้ว
ขณะที่ลิขสิทธิ์หนังเมเจอร์ที่เป็นแหล่งสร้างรายได้หลักของซีวีดีมากกว่า 75% จากรายได้รวมทั้งหมด จะหลุดมือไปมากนั้น แต่การดำเนินงานภายในองค์กรกลับไปให้ความสำคัญกับการปลุกปั้นหนังที่ไม่ใช่ของค่ายเมเจอร์ฮอลลีวู้ดมากแทน เช่น ลิขสิทธิ์ละครเรื่องอุ้มรัก ซึ่งฉายทางช่อง 3 จบไปแล้ว หรือละครเรื่องแดจังกึมจอมนางแห่งวังหลวง ละครเรื่องหมอโฮจุนคนดีที่โลกรอ เป็นต้น จะนำเอามาทำตลาดในศูนย์เช่าต่างๆ
นอกจากนั้นในช่วงที่ผ่านมาการเจรจาระหว่างซีวีดีกับทางกลุ่มสหมงคลฟิล์มของเสี่ยเจียง- นายสมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ ในการซื้อขายลิขสิทธิ์หนังก็ต้องล้มเหลวไป โดยซีวีดีต้องการที่จะเข้ามาทำตลาดขายให้กับสหมงคลฟิล์ม
ทั้งนี้การเจรจาซื้อลิขสิทธิ์หนังจากค่ายสหมงคลฟิล์มนี้เป็นส่วนหนึ่งของความเคลื่อนไหวในวงการโดยรวม หลังจากที่ทางบริษัท แมงป่อง จำกัด (มหาชน) ได้ตัดสินใจยกเลิกการซื้อลิขสิทธิ์หนังจากสหมงคลฟิล์ม เพราะไม่สามารถแบกรับต้นทุนค่าลิขสิทธิ์ที่สูงขึ้นและการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ได้ ซึ่งแต่เดิมแมงป่องทำลิขสิทธิ์หนังไทยกับหนังฝรั่งเฉพาะตลาดขายของสหมงคลฟิล์มเท่านั้น โดยมีค่ายอีวีเอส ทำตลาดขายเฉพาะหนังจีน เกาหลี และญี่ปุ่นให้กับทางสหมงคลฟิล์ม
ในช่วงแรกๆนั้นซีวีดีก็เปิดโต๊ะเจรจากับทางสหมงคลฟิล์มที่จะเข้ารับลิขสิทธิ์ทำตลาดต่อ แต่ก็ไม่สามารถตกลงเรื่องราคากันได้
ในที่สุดทางบริษัท พรีเมียม ดิจิตอล เอนเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด ก็เป็นผู้ที่เข้ามาเจรจาและคว้าลิขสิทธิ์หนังไทยในส่วนของตลาดขายของสหมงคลฟิล์มไปแทน โดยเริ่มตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เริ่มตั้งแต่หนังเรื่อง โนอา ซึ่งค่ายพรีเมี่ยมฯนี้ก็เป็นบริษัทฯที่ซื้อลิขสิทธิ์หนังไทยจากค่ายใหญ่หลายแห่งเช่น จีทีเอช อาร์เอส เป็นต้น
ส่วนลิขสิทธิ์หนังฝรั่งของสหมงคลฟิล์มในส่วนของตลาดขายนั้นก็ตกเป็นของ บริษัท อีวีเอส สำหรับตลาดเช่าทั้งหมดนั้นยังคงอยู่ในความรับผิดชอบของบริษัท แฮปปี้โฮม เอนเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด บริษัทในเครือของเสี่ยงเจียงเอง