อีเล็คต้า ผู้นำด้านเทคโนโลยีทางด้านรังสีจากสวีเดนเห็นศักยภาพตลาดไทย หลังภาครัฐหนุนให้ไทยเป็นฮับทางการแพทย์ของเอเชีย เตรียมเดินหน้ารุกตลาดเต็มสูบด้วยการผนึกบริษัทพรีเมียร์ บิสซิเนส อินเตอร์ในการเป็นตัวแทนจำหน่ายในไทย ล่าสุดนำเข้า 2 เทคโนโลยีใหม่ ตั้งเป้าภายใน 3 ปีโกยแชร์เครื่องมือแพทย์ 50% จากมูลค่า 3,000 ล้านบาท
นายเดวิด แวน เอิก กรรมการผู้จัดการ-ทวีปเอเชีย บริษัทอีเล็คต้า จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจทางเทคโนโลยีด้านรังสี จากประเทศสวีเดน เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของประเทศไทยในด้านต่างๆ อาทิ จากการที่รัฐบาลไทยได้ประกาศเจตนารมณ์ที่จะผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางด้านการแพทย์ของเอเชีย รวมถึงการที่มาตรฐานทางการแพทย์และสาธารณสุขของไทยมีการพัฒนาการไปอย่างรวดเร็ว และโรงพยาบาลเอกชนของไทยหลายแห่งมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในระดับนานาประเทศ ดังนั้นบริษัทฯจึงมีนโยบายรุกตลาดทางการแพทย์ในไทยอย่างเต็มรูปแบบ ผ่านทางบริษัทพรีเมียร์ บิสซิเนส อินเตอร์ จำกัด ซึ่งจะเป็นตัวแทนจำหน่ายของอีเล็คต้า โดยบริษัทฯคาดหวังผลแบบระยะยาวในการลงทุนเทคโนโลยีชั้นสูงในไทย แต่เป้าหมายระยะแรกหรือประมาณ 3 ปีแรกจะเน้นไปที่การให้ความรู้และวิทยาการสู่ตลาด
นายเดวิด ฟามอร์ค่า ผู้จัดการฝ่ายการตลาด-ทวีปเอเชียบริษัทอีเลคต้าฯ กล่าวด้วยว่า การที่บริษัทฯสนใจรุกตลาดไทยเพราะเห็นศักยภาพในไทยที่จะเป็นฮับหรือศูนย์กลางทางการแพทย์ในเอเชียได้ในอีก 3-5 ปีข้างหน้านี้ ซึ่งปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวสนใจมาท่องเที่ยวในไทยมาก รวมถึงหันมาใช้บริการรักษาโรคมากขึ้น ตรงนี้เชื่อว่าตลาดไทยกำลังขยายตัวและมีอนาคตที่ดี ทั้งนี้บริษัทฯตั้งเป้าหมายการทำตลาดในไทย รวมถึงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าทุกประเทศต้องมีอีเล็คต้า ซีเนอยี่ เอสอย่างน้อยประเทศละ 1 เครื่อง
พีบีไอหวังโกยแชร์เครื่องมือแพทย์ 50% ใน3ปี
นายปราโมทย์ ก๊กพ่อค้า กรรมการผู้จัดการ บริษัทพรีเมียร์ บิสซิเนส อินเตอร์ จำกัดหรือพีบีไอ ตัวแทนจำหน่ายของบริษัทอีเล็คต้า จำกัด เปิดเผยว่า กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจในช่วง 3 ปีนี้บริษัทฯคาดหวังว่าจะมีส่วนแบ่งทางการตลาดเครื่องมือแพทย์ได้มากกว่า 50% จากมูลค่าตลาดรวมเครื่องมือทางการแพทย์ 2,000-3,000 ล้านบาท ปัจจุบันมีส่วนแบ่งตลาด 30%
โดยกลยุทธ์ในการทำตลาดที่จะทำให้ถึงเป้าหมาย อาทิ การเน้นให้ความรู้แก่ผู้บริโภคหรือกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งบริษัทฯแยกออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านรังสี ,กลุ่มผู้ปฎิบัติงานด้านรังสีวิทยาที่จำเป็นต้องมีความรู้และความเข้าใจในเทคโนโลยีสมัยใหม่ และกลุ่มทั่วไปในสังคมที่ต้องรับรู้ถึงวิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมถึงยังมีการจัดฝึกอบรมและสัมมนาในหัวข้อต่างๆ โดยจะเชิญผู้ที่เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาให้ความรู้ เป็นต้น
สำหรับตัวโปรดักส์ของอีเล็คต้าที่บริษัทฯนำเข้ามาทำตลาด อาทิ ไอจีอาร์ที (IGRT) ภายใต้ชื่ออีเล็คต้าซีเนอยี่ เอส (Elekta Synergy S) ซึ่งเป็นระบบการฉายรังสีรักษาเซลมะเร็ง ,เทคโนโลยีเลคต้า แกมม่า ไนฟ์หรือระบบการผ่าตัดโรคความผิดปกติทางสมองด้วยรังสี และอิมแพค ซึ่งเป็นระบบซอฟท์แวร์บริหารจัดการทางด้านการรักษาโรคมะเร็ง
ปัจจุบันเครื่องอีเล็คต้า ซีเนอยี่ เอสอยู่ระหว่างการติดตั้งที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ณ ศูนย์ฮอไรซัน ซึ่งถือว่าเป็นแห่งแรกในประเทศไทยและเป็นแห่งที่สองในเอเชียต่อจากฮ่องกง โดยคาดว่าจะสามารถใช้บริการได้ในช่วงปลายเดือนสิงหาคม2549นี้ หลังจากนั้นบริษัทฯมีแผนนำเข้าเครื่องอีเล็คต้า ซีเนอยี่ เอสในไทยให้ได้อีก 3-5 เครื่องตามโรงพยาบาลต่างๆทั้งเอกชนและรัฐบาล โดยราคาของระบบดังกล่าวนี้มีประมาณ 150 ล้านบาท แบ่งเป็นตัวเครื่อง และระบบการวางแผน เป็นต้น
ในส่วนของค่าใช้จ่ายของลูกค้าหากใช้บริการเครื่องอีเลคต้าฯนี้ขึ้นอยู่กับโรงพยาบาลว่าเป็นของรัฐบาลหรือเอกชน หากเป็นของเอกชนค่าใช้จ่ายอยู่ในหลักแสนบาท แต่หากเป็นของรัฐบาลเฉลี่ยประมาณหลักหมื่นบาท ขณะที่ยอดรายได้ของบริษัทพรีเมียร์ฯปีนี้คาดหวังยอดรายได้เติบโตขึ้น 2-3 เท่าตัวจากปีที่แล้ว
นายเดวิด แวน เอิก กรรมการผู้จัดการ-ทวีปเอเชีย บริษัทอีเล็คต้า จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจทางเทคโนโลยีด้านรังสี จากประเทศสวีเดน เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของประเทศไทยในด้านต่างๆ อาทิ จากการที่รัฐบาลไทยได้ประกาศเจตนารมณ์ที่จะผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางด้านการแพทย์ของเอเชีย รวมถึงการที่มาตรฐานทางการแพทย์และสาธารณสุขของไทยมีการพัฒนาการไปอย่างรวดเร็ว และโรงพยาบาลเอกชนของไทยหลายแห่งมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในระดับนานาประเทศ ดังนั้นบริษัทฯจึงมีนโยบายรุกตลาดทางการแพทย์ในไทยอย่างเต็มรูปแบบ ผ่านทางบริษัทพรีเมียร์ บิสซิเนส อินเตอร์ จำกัด ซึ่งจะเป็นตัวแทนจำหน่ายของอีเล็คต้า โดยบริษัทฯคาดหวังผลแบบระยะยาวในการลงทุนเทคโนโลยีชั้นสูงในไทย แต่เป้าหมายระยะแรกหรือประมาณ 3 ปีแรกจะเน้นไปที่การให้ความรู้และวิทยาการสู่ตลาด
นายเดวิด ฟามอร์ค่า ผู้จัดการฝ่ายการตลาด-ทวีปเอเชียบริษัทอีเลคต้าฯ กล่าวด้วยว่า การที่บริษัทฯสนใจรุกตลาดไทยเพราะเห็นศักยภาพในไทยที่จะเป็นฮับหรือศูนย์กลางทางการแพทย์ในเอเชียได้ในอีก 3-5 ปีข้างหน้านี้ ซึ่งปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวสนใจมาท่องเที่ยวในไทยมาก รวมถึงหันมาใช้บริการรักษาโรคมากขึ้น ตรงนี้เชื่อว่าตลาดไทยกำลังขยายตัวและมีอนาคตที่ดี ทั้งนี้บริษัทฯตั้งเป้าหมายการทำตลาดในไทย รวมถึงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าทุกประเทศต้องมีอีเล็คต้า ซีเนอยี่ เอสอย่างน้อยประเทศละ 1 เครื่อง
พีบีไอหวังโกยแชร์เครื่องมือแพทย์ 50% ใน3ปี
นายปราโมทย์ ก๊กพ่อค้า กรรมการผู้จัดการ บริษัทพรีเมียร์ บิสซิเนส อินเตอร์ จำกัดหรือพีบีไอ ตัวแทนจำหน่ายของบริษัทอีเล็คต้า จำกัด เปิดเผยว่า กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจในช่วง 3 ปีนี้บริษัทฯคาดหวังว่าจะมีส่วนแบ่งทางการตลาดเครื่องมือแพทย์ได้มากกว่า 50% จากมูลค่าตลาดรวมเครื่องมือทางการแพทย์ 2,000-3,000 ล้านบาท ปัจจุบันมีส่วนแบ่งตลาด 30%
โดยกลยุทธ์ในการทำตลาดที่จะทำให้ถึงเป้าหมาย อาทิ การเน้นให้ความรู้แก่ผู้บริโภคหรือกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งบริษัทฯแยกออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านรังสี ,กลุ่มผู้ปฎิบัติงานด้านรังสีวิทยาที่จำเป็นต้องมีความรู้และความเข้าใจในเทคโนโลยีสมัยใหม่ และกลุ่มทั่วไปในสังคมที่ต้องรับรู้ถึงวิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมถึงยังมีการจัดฝึกอบรมและสัมมนาในหัวข้อต่างๆ โดยจะเชิญผู้ที่เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาให้ความรู้ เป็นต้น
สำหรับตัวโปรดักส์ของอีเล็คต้าที่บริษัทฯนำเข้ามาทำตลาด อาทิ ไอจีอาร์ที (IGRT) ภายใต้ชื่ออีเล็คต้าซีเนอยี่ เอส (Elekta Synergy S) ซึ่งเป็นระบบการฉายรังสีรักษาเซลมะเร็ง ,เทคโนโลยีเลคต้า แกมม่า ไนฟ์หรือระบบการผ่าตัดโรคความผิดปกติทางสมองด้วยรังสี และอิมแพค ซึ่งเป็นระบบซอฟท์แวร์บริหารจัดการทางด้านการรักษาโรคมะเร็ง
ปัจจุบันเครื่องอีเล็คต้า ซีเนอยี่ เอสอยู่ระหว่างการติดตั้งที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ณ ศูนย์ฮอไรซัน ซึ่งถือว่าเป็นแห่งแรกในประเทศไทยและเป็นแห่งที่สองในเอเชียต่อจากฮ่องกง โดยคาดว่าจะสามารถใช้บริการได้ในช่วงปลายเดือนสิงหาคม2549นี้ หลังจากนั้นบริษัทฯมีแผนนำเข้าเครื่องอีเล็คต้า ซีเนอยี่ เอสในไทยให้ได้อีก 3-5 เครื่องตามโรงพยาบาลต่างๆทั้งเอกชนและรัฐบาล โดยราคาของระบบดังกล่าวนี้มีประมาณ 150 ล้านบาท แบ่งเป็นตัวเครื่อง และระบบการวางแผน เป็นต้น
ในส่วนของค่าใช้จ่ายของลูกค้าหากใช้บริการเครื่องอีเลคต้าฯนี้ขึ้นอยู่กับโรงพยาบาลว่าเป็นของรัฐบาลหรือเอกชน หากเป็นของเอกชนค่าใช้จ่ายอยู่ในหลักแสนบาท แต่หากเป็นของรัฐบาลเฉลี่ยประมาณหลักหมื่นบาท ขณะที่ยอดรายได้ของบริษัทพรีเมียร์ฯปีนี้คาดหวังยอดรายได้เติบโตขึ้น 2-3 เท่าตัวจากปีที่แล้ว