เครือปูนซิเมนต์ไทย เตรียมขยายธุรกิจผลิตน้ำมันเตาเทียมเพื่อลดต้นทุนการใช้น้ำมันและจำหน่ายแก่บริษัททั่วไป โดยจับมือกับกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ทำวิจัย พัฒนาส่งเสริมการใช้ถ่านหินสะอาด ด้วยระบบ CWM (coal water mixture) ลงทุนโรงงานนำร่อง 50 ล้านบาท พร้อมระบุดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ที่ปรับขึ้นไม่กระทบต้นทุน เพราะเงินทุนส่วนใหญ่เป็นหุ้นกู้
บริษัท ค้าสากลซิเมนต์ไทย (เอสซีที) ในเครือบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ได้ลงนาม บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการวิจัยเพื่อการพัฒนา สาธิตและส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิง CWM ร่วมกับ พพ. โดยระบบนี้จะเป็นการทดลองครั้งแรกของไทย ที่มีการนำถ่านหินมาบดผสมกับน้ำและสารผสม หรือ ADDITIVE เพื่อให้เป็นเนื้อเดียวทำให้ได้ของเหลวที่มีคุณสมบัติคล้ายน้ำมันและสามารถใช้แทนน้ำมันเตาในหม้อไอน้ำได้ โดยจะมีต้นทุนต่ำกว่าน้ำมันเตาประมาณร้อยละ 30-50
นางสิริพร ไศละสูต อธิบดี พพ. กล่าวว่า CWM เป็นเทคโนโลยีสะอาดใช้แพร่หลายในสหรัฐ จีน และญี่ปุ่น ซึ่งการที่ถ่านหินมีราคาถูก จึงทำให้ผู้ประกอบการโรงงานต่าง ๆ ใช้วิธีการใหม่ซึ่งจะมีต้นทุนถูกกว่า สร้างโอกาสในการแข่งขันกับผู้ผลิตจากต่างประเทศ โดยปัจจุบันมีโรงงานในประเทศไทยประมาณ 4,000 แห่ง ใช้ระบบหม้อต้มที่สามารถเข้ากับระบบนี้ได้ ขณะที่ไทยมีการนำเข้าน้ำมันเตาถึง 6,000 ล้านลิตร/ปี มีมูลค่าสูงถึง 80,000 ล้านบาท/ปี ซึ่งเมื่อปูนซิเมนต์ไทยมีการทดลองประสบผลสำเร็จแล้ว คาดว่าผู้ประกอบการรายอื่น ๆ จะมีการลงทุนตาม อย่างไรก็ตาม ระบบนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาพลังงานทดแทนที่จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุน ดังนั้น กระทรวงพลังงานจะหารือกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ ) เพื่อให้สิทธิประโยชน์ สูงสุดให้ได้รับการยกเว้นภาษีมากกว่าอัตราปกติที่ 8 ปี เป็น 13 ปี และทางกองทุนส่งเสริมเพื่อการอนุรักษ์พลังงานอาจเข้ามาร่วมลงทุนด้วย
นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย กล่าวว่า เอสซีทีจะลงทุนโครงการดังกล่าวประมาณ 50 ล้านบาท เพื่อผลิตน้ำมันเตาเทียมประมาณ 20,000 ล้านลิตรต่อปีที่โรงงานผลิตกล่องกระดาษลูกฟูก ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งปัจจุบันเอสซีทีมีการนำเข้าถ่านหินสะอาดจากต่างประเทศอยู่แล้วประมาณ 1 ล้านตัน/ปี การดำเนินโครงการนี้จึงไม่มีปัญหาเรื่องถ่านหิน ขณะเดียวกันยังได้ประโยชน์ในการนำถ่านหินมาเพิ่มมูลค่าและช่วยลดต้นทุนของโรงงานต่าง ๆ ในเครือ และหากโครงการนำร่องประสบผลสำเร็จ บริษัทจะขยายธุรกิจนี้เพื่อผลิตไปจำหน่ายให้แก่โรงงานอื่น ๆ ด้วย
นายกานต์ ยังกล่าวถึงอัตราดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินต่าง ๆ ที่ขยับขึ้นในขณะนี้ว่า ไม่เกิดผลกระทบด้านต้นทุนแก่บริษัท เนื่องจากต้นทุนทางการเงินส่วนใหญ่เป็นหุ้นกู้ โดยประมาณเดือนตุลาคมนี้ บริษัทจะออกหุ้นกู้ใหม่ประมาณ 5,000 ล้านบาท เพื่อนำไปทดแทนหุ้นกู้เดิมที่หมดอายุ ซึ่งในช่วงใกล้ออกหุ้นกู้ บริษัทจะพิจารณาถึงอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม ซึ่งจะสามารถแข่งขันได้กับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ โดยการออกหุ้นกู้งวดล่าสุด อายุ 4 ปีของบริษัท อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 6
“เชื่อว่าภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นของระบบการเงินของไทยคงจะขึ้นสูงจุดสูงสุดหรือพีกในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ และธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) คงจะขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งเดียวร้อยละ 0.25 เท่านั้น โดยมั่นใจว่า หุ้นกู้ของบริษัทจะยังได้รับความสนใจเหมือนครั้งที่ผ่าน ๆ มา และคาดว่าปีหน้าบริษัทจะออกหุ้นกู้อีกประมาณ 16,000 -20,000 ล้านบาทเช่นเดิม ส่วนโครงการลงทุนใหม่ เช่น ปิโตรเคมี หากมีการลงทุนก็ได้ตั้งสัดส่วนอัตราหนี้สินสุทธิต่อกระแสเงินสดที่ได้จากการดำเนินการไม่เกิน 2.5 เท่า จากอัตราขณะนี้อยู่ที่ 1.8 เท่า” นายกานต์ กล่าว
บริษัท ค้าสากลซิเมนต์ไทย (เอสซีที) ในเครือบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ได้ลงนาม บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการวิจัยเพื่อการพัฒนา สาธิตและส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิง CWM ร่วมกับ พพ. โดยระบบนี้จะเป็นการทดลองครั้งแรกของไทย ที่มีการนำถ่านหินมาบดผสมกับน้ำและสารผสม หรือ ADDITIVE เพื่อให้เป็นเนื้อเดียวทำให้ได้ของเหลวที่มีคุณสมบัติคล้ายน้ำมันและสามารถใช้แทนน้ำมันเตาในหม้อไอน้ำได้ โดยจะมีต้นทุนต่ำกว่าน้ำมันเตาประมาณร้อยละ 30-50
นางสิริพร ไศละสูต อธิบดี พพ. กล่าวว่า CWM เป็นเทคโนโลยีสะอาดใช้แพร่หลายในสหรัฐ จีน และญี่ปุ่น ซึ่งการที่ถ่านหินมีราคาถูก จึงทำให้ผู้ประกอบการโรงงานต่าง ๆ ใช้วิธีการใหม่ซึ่งจะมีต้นทุนถูกกว่า สร้างโอกาสในการแข่งขันกับผู้ผลิตจากต่างประเทศ โดยปัจจุบันมีโรงงานในประเทศไทยประมาณ 4,000 แห่ง ใช้ระบบหม้อต้มที่สามารถเข้ากับระบบนี้ได้ ขณะที่ไทยมีการนำเข้าน้ำมันเตาถึง 6,000 ล้านลิตร/ปี มีมูลค่าสูงถึง 80,000 ล้านบาท/ปี ซึ่งเมื่อปูนซิเมนต์ไทยมีการทดลองประสบผลสำเร็จแล้ว คาดว่าผู้ประกอบการรายอื่น ๆ จะมีการลงทุนตาม อย่างไรก็ตาม ระบบนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาพลังงานทดแทนที่จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุน ดังนั้น กระทรวงพลังงานจะหารือกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ ) เพื่อให้สิทธิประโยชน์ สูงสุดให้ได้รับการยกเว้นภาษีมากกว่าอัตราปกติที่ 8 ปี เป็น 13 ปี และทางกองทุนส่งเสริมเพื่อการอนุรักษ์พลังงานอาจเข้ามาร่วมลงทุนด้วย
นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย กล่าวว่า เอสซีทีจะลงทุนโครงการดังกล่าวประมาณ 50 ล้านบาท เพื่อผลิตน้ำมันเตาเทียมประมาณ 20,000 ล้านลิตรต่อปีที่โรงงานผลิตกล่องกระดาษลูกฟูก ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งปัจจุบันเอสซีทีมีการนำเข้าถ่านหินสะอาดจากต่างประเทศอยู่แล้วประมาณ 1 ล้านตัน/ปี การดำเนินโครงการนี้จึงไม่มีปัญหาเรื่องถ่านหิน ขณะเดียวกันยังได้ประโยชน์ในการนำถ่านหินมาเพิ่มมูลค่าและช่วยลดต้นทุนของโรงงานต่าง ๆ ในเครือ และหากโครงการนำร่องประสบผลสำเร็จ บริษัทจะขยายธุรกิจนี้เพื่อผลิตไปจำหน่ายให้แก่โรงงานอื่น ๆ ด้วย
นายกานต์ ยังกล่าวถึงอัตราดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินต่าง ๆ ที่ขยับขึ้นในขณะนี้ว่า ไม่เกิดผลกระทบด้านต้นทุนแก่บริษัท เนื่องจากต้นทุนทางการเงินส่วนใหญ่เป็นหุ้นกู้ โดยประมาณเดือนตุลาคมนี้ บริษัทจะออกหุ้นกู้ใหม่ประมาณ 5,000 ล้านบาท เพื่อนำไปทดแทนหุ้นกู้เดิมที่หมดอายุ ซึ่งในช่วงใกล้ออกหุ้นกู้ บริษัทจะพิจารณาถึงอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม ซึ่งจะสามารถแข่งขันได้กับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ โดยการออกหุ้นกู้งวดล่าสุด อายุ 4 ปีของบริษัท อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 6
“เชื่อว่าภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นของระบบการเงินของไทยคงจะขึ้นสูงจุดสูงสุดหรือพีกในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ และธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) คงจะขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งเดียวร้อยละ 0.25 เท่านั้น โดยมั่นใจว่า หุ้นกู้ของบริษัทจะยังได้รับความสนใจเหมือนครั้งที่ผ่าน ๆ มา และคาดว่าปีหน้าบริษัทจะออกหุ้นกู้อีกประมาณ 16,000 -20,000 ล้านบาทเช่นเดิม ส่วนโครงการลงทุนใหม่ เช่น ปิโตรเคมี หากมีการลงทุนก็ได้ตั้งสัดส่วนอัตราหนี้สินสุทธิต่อกระแสเงินสดที่ได้จากการดำเนินการไม่เกิน 2.5 เท่า จากอัตราขณะนี้อยู่ที่ 1.8 เท่า” นายกานต์ กล่าว