ส.โรงแรมหวั่นพิษหวัดนก กระทบงานพืชสวนโลกปลายปี จี้รัฐเร่งประชาสัมพันธ์การทำงานและควบคุมพื้นที่แพร่กระจายให้อยู่หมัดก่อนกันยายนนี้ เผยอัตราเข้าพักโรงแรม 7 เดือนแรก พิษการเมืองทำยอดวูบ เหตุงดจัดประชุมสัมมนา ขณะที่ประเทศไทยยังอยู่ในเกณฑ์ฮอต เชนต่างชาติมุ่งเข้ามาลงทุน ก่อนเปิดสุวรรณภูมิ ส่งผลค่าห้องโดยเฉลี่ยโต 8-10%
นายประกิจ ชินอมรพงษ์ อุปนายกสมาคมโรงแรมไทย(ทีเอชเอ) เปิดเผยว่า จากกรณีการระบาดของไข้หวัดนกในประเทศไทยขณะนี้ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคอีสานรวมกว่า 17 จังหวัด ทางสมาคมฯวิตกว่าจะกระทบกับการท่องเที่ยวในช่วงปลายปีนี้ โดยเฉพาะกับการจัดงาน “มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติ” ที่จะเริ่มในเดือนพฤศจิกายนศกนี้
ดังนั้นจึงต้องการให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งกำหนดโซนควบคุมป้องกัน และเฝ้าระวังให้ชัดเจน พร้อมกับเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้รับทราบข้อมูลอย่างถูกต้องและรวดเร็ว นอกจากนั้นยังต้องการให้เร่งจัดการควบคุมการระบาดของโรคไม่ให้ลุกลามไปยังพื้นที่อื่นๆโดยเร็วก่อนเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ มิฉะนั้นนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เตรียมจะเดินทางเข้ามาชมงาน หรือแม้แต่ตลาดคนไทยเอง ก็อาจเกิดความไม่มั่นใจและยกเลิกการเดินทางได้
“การระบาดของไข้หวัดนกไม่ใช่เรื่องใหม่ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เพราะไข้หวัดนกเคยระบาดหนักในประเทศไทยมาแล้วเมื่อปี 2547 ซึ่งรัฐบาลไทย และกระทรวงสาธารณสุขก็สามารถจัดการกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี การควบคุมโรคที่ผ่านมาเราก็ทำได้ดี ดังนั้นในครั้งนี้จึงค่อนข้างมั่นใจการทำงานของรัฐ แต่เมื่อเราจะมีการจัดงานใหญ่ในปลายปีและเป็นพื้นที่ใกล้เคียงกับที่มีการระบาดของไข้หวัดนก ดังนั้น การทำงานและการประชาสัมพันธ์จึงต้องทำควบคู่กันและต้องรวดเร็ว”
การเมืองวุ่นอัตราเข้าพักวูบ
นายประกิจ กล่าวเพิ่มเติมถึงสถานการณ์โรงแรมช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ ว่า ในส่วนของโรงแรมในกรุงเทพฯ อัตราเข้าพัก 73.6% ลดลง 1% ภาคกลาง อัตราเข้าพัก 65% ลดลงจากปีก่อน 5% ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น นครราชสีมา อุบลราชธานี ขอนแก่น และภาคตะวันตก เช่น หัวหิน ชะอำ มีอัตราเข้าพักโดยรวมลดลงเช่นกัน โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอัตราเข้ามาเฉลี่ยที่ 60-65% ลดลงจากปีก่อน 5-10% ที่มีอัตราเข้าพักในช่วงเดียวกันราว 70%
ส่วนภาคตะวันตก อัตราเข้าพัก 7 เดือนอยู่ที่ 40% ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 5% หรือมีอัตราเข้าพักที่ ประมาณ 45% ซึ่งสาเหตุของการลดลงน่าจะมาจากตลาดประชุมสัมมนาที่หดหายไป เนื่องจากเป็นช่วงรัฐบาล ดังนั้นหน่วยงานราชการที่จัดสัมมนา หรือดูงาน ก็จะลดน้อยลง ขณะที่ภาคเอกชนบางแห่งก็ลดค่าใช้จ่าย และงดจัดงานสัมมนา
สำหรับในภาคอื่นๆ อัตราเข้าพักโรงแรมเฉลี่ย 7 เดือน ก็ยังเติบโตราว 5-10% อาทิ ภาคเหนือ 52% เพิ่มขึ้น 7% ภาคเหนือตอนล่าง 54% เพิ่มขึ้น 4% ภาคใต้ 55% เพิ่มเท่าตัวจากปีก่อนที่มีอัตราเข้าพักเฉลี่ย 25% โดยที่เกาะสมุยมีอัตราเข้าพัก 78% เพิ่มขึ้น 3% ,ภาคตะวันออก อัตราเข้าพัก 59.3% เพิ่มจากปีก่อน 6.1%
เชนโรงแรมใหญ่ดันค่าห้องพักปรับขึ้น
อย่างไรก็ตาม แม้อัตราเข้าพักหลายพื้นที่เฉลี่ยลดลง แต่ราคาห้องพักโดยเฉลี่ยกลับเพิ่มขึ้น 8-10% เนื่องมาจากขณะนี้ประเทศไทย โดยเฉพาะจังหวัดท่องเที่ยว มีเชนโรงแรมระดับใหญ่จากต่างประเทศเข้ามามากขึ้น เห็นได้ชัดที่ เกาะสมุย พัทยา หัวหิน โดยที่พัทยาส่วนหนึ่งมาจากการเตรียมเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิ ทำให้โรงแรมเชนใหญ่ๆ ต้องการเข้ามาลงทุนเพิ่มรองรับนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจ ขณะที่ เกาะสมุยได้รับอานิสงส์ จากการที่พื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามันได้รับผลกระทบจากสึนามิ ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้า เกาะสมุย และหัวหินเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้การปรับขึ้นราคาค่าห้องพักของโรงแรม จะมีอยู่ปกติทุกปีอยู่แล้ว แต่เฉลี่ยจะประมาณ 5-6% แต่ในปีหน้า อาจมีการปรับขึ้นราคามากกว่าทุกปี แต่คงไม่เกิน 10% ทั้งนี้เพราะปัจจุบันจากภาวะราคาน้ำมันแพง ส่งผลให้ต้นทุนค่าประกอบการเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจาก สินค้าหลายชนิดมีการปรับราคาขึ้นทั้งหมด
นายประกิจ ชินอมรพงษ์ อุปนายกสมาคมโรงแรมไทย(ทีเอชเอ) เปิดเผยว่า จากกรณีการระบาดของไข้หวัดนกในประเทศไทยขณะนี้ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคอีสานรวมกว่า 17 จังหวัด ทางสมาคมฯวิตกว่าจะกระทบกับการท่องเที่ยวในช่วงปลายปีนี้ โดยเฉพาะกับการจัดงาน “มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติ” ที่จะเริ่มในเดือนพฤศจิกายนศกนี้
ดังนั้นจึงต้องการให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งกำหนดโซนควบคุมป้องกัน และเฝ้าระวังให้ชัดเจน พร้อมกับเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้รับทราบข้อมูลอย่างถูกต้องและรวดเร็ว นอกจากนั้นยังต้องการให้เร่งจัดการควบคุมการระบาดของโรคไม่ให้ลุกลามไปยังพื้นที่อื่นๆโดยเร็วก่อนเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ มิฉะนั้นนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เตรียมจะเดินทางเข้ามาชมงาน หรือแม้แต่ตลาดคนไทยเอง ก็อาจเกิดความไม่มั่นใจและยกเลิกการเดินทางได้
“การระบาดของไข้หวัดนกไม่ใช่เรื่องใหม่ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เพราะไข้หวัดนกเคยระบาดหนักในประเทศไทยมาแล้วเมื่อปี 2547 ซึ่งรัฐบาลไทย และกระทรวงสาธารณสุขก็สามารถจัดการกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี การควบคุมโรคที่ผ่านมาเราก็ทำได้ดี ดังนั้นในครั้งนี้จึงค่อนข้างมั่นใจการทำงานของรัฐ แต่เมื่อเราจะมีการจัดงานใหญ่ในปลายปีและเป็นพื้นที่ใกล้เคียงกับที่มีการระบาดของไข้หวัดนก ดังนั้น การทำงานและการประชาสัมพันธ์จึงต้องทำควบคู่กันและต้องรวดเร็ว”
การเมืองวุ่นอัตราเข้าพักวูบ
นายประกิจ กล่าวเพิ่มเติมถึงสถานการณ์โรงแรมช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ ว่า ในส่วนของโรงแรมในกรุงเทพฯ อัตราเข้าพัก 73.6% ลดลง 1% ภาคกลาง อัตราเข้าพัก 65% ลดลงจากปีก่อน 5% ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น นครราชสีมา อุบลราชธานี ขอนแก่น และภาคตะวันตก เช่น หัวหิน ชะอำ มีอัตราเข้าพักโดยรวมลดลงเช่นกัน โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอัตราเข้ามาเฉลี่ยที่ 60-65% ลดลงจากปีก่อน 5-10% ที่มีอัตราเข้าพักในช่วงเดียวกันราว 70%
ส่วนภาคตะวันตก อัตราเข้าพัก 7 เดือนอยู่ที่ 40% ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 5% หรือมีอัตราเข้าพักที่ ประมาณ 45% ซึ่งสาเหตุของการลดลงน่าจะมาจากตลาดประชุมสัมมนาที่หดหายไป เนื่องจากเป็นช่วงรัฐบาล ดังนั้นหน่วยงานราชการที่จัดสัมมนา หรือดูงาน ก็จะลดน้อยลง ขณะที่ภาคเอกชนบางแห่งก็ลดค่าใช้จ่าย และงดจัดงานสัมมนา
สำหรับในภาคอื่นๆ อัตราเข้าพักโรงแรมเฉลี่ย 7 เดือน ก็ยังเติบโตราว 5-10% อาทิ ภาคเหนือ 52% เพิ่มขึ้น 7% ภาคเหนือตอนล่าง 54% เพิ่มขึ้น 4% ภาคใต้ 55% เพิ่มเท่าตัวจากปีก่อนที่มีอัตราเข้าพักเฉลี่ย 25% โดยที่เกาะสมุยมีอัตราเข้าพัก 78% เพิ่มขึ้น 3% ,ภาคตะวันออก อัตราเข้าพัก 59.3% เพิ่มจากปีก่อน 6.1%
เชนโรงแรมใหญ่ดันค่าห้องพักปรับขึ้น
อย่างไรก็ตาม แม้อัตราเข้าพักหลายพื้นที่เฉลี่ยลดลง แต่ราคาห้องพักโดยเฉลี่ยกลับเพิ่มขึ้น 8-10% เนื่องมาจากขณะนี้ประเทศไทย โดยเฉพาะจังหวัดท่องเที่ยว มีเชนโรงแรมระดับใหญ่จากต่างประเทศเข้ามามากขึ้น เห็นได้ชัดที่ เกาะสมุย พัทยา หัวหิน โดยที่พัทยาส่วนหนึ่งมาจากการเตรียมเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิ ทำให้โรงแรมเชนใหญ่ๆ ต้องการเข้ามาลงทุนเพิ่มรองรับนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจ ขณะที่ เกาะสมุยได้รับอานิสงส์ จากการที่พื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามันได้รับผลกระทบจากสึนามิ ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้า เกาะสมุย และหัวหินเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้การปรับขึ้นราคาค่าห้องพักของโรงแรม จะมีอยู่ปกติทุกปีอยู่แล้ว แต่เฉลี่ยจะประมาณ 5-6% แต่ในปีหน้า อาจมีการปรับขึ้นราคามากกว่าทุกปี แต่คงไม่เกิน 10% ทั้งนี้เพราะปัจจุบันจากภาวะราคาน้ำมันแพง ส่งผลให้ต้นทุนค่าประกอบการเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจาก สินค้าหลายชนิดมีการปรับราคาขึ้นทั้งหมด