3 สายการบินโลว์คอสต์สุดอั้น เตรียมนัดหารือปรับขึ้นค่าตั๋วโดยสาร หลังทนแบกภาระมานานแรมปี คาดเร็วๆนี้ได้ข้อสรุป ด้านซีอีโอวันทูโกชี้ครั้งนี้ขอหารือปรับโครงสร้างราคาครั้งใหญ่ ให้มีการกำหนดราคาไปในทิศทางเดียวกัน ระบุหากต้องการแข่งขัน ควรใช้กลยุทธ์อื่น ไม่ใช่เปิดศึกสงครามราคา
นายอุดม ตันติประสงค์ชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้อำนวยการ บริษัทโอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ ผู้ให้บริการสายการบินต้นทุนต่ำ (โลว์คอสต์ แอร์ไลน์) โอเรียนท์ ไทย บาย วัน-ทู-โก เปิดเผยว่า จากภาวะน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดแตะ 80 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาเรล ได้กระทบต่อต้นทุนค่าเชื้อเพลิงของผู้ประกอบการธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำด้วยเช่นกัน
ดังนั้นทางผู้บริหารสายการบินต้นทุนต่ำทั้ง 3 บริษัท ประกอบด้วยนายทัศพล แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยแอร์เอเชีย ,นายพาที สารสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทสกายเอเชีย ผู้ให้บริการ สายการบินนกแอร์ และสายการบิน วัน-ทู-โก บายโอเรียนท์ไทย จึงได้นัดหารือกันในเร็วๆนี้ถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และการกำหนดการขึ้นอัตราค่าโดยสารเครื่องบิน ตลอดจนการย้ายจุดบริการจากสนามบินดอนเมือง ไปยังสนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อให้ทั้ง 3 สายการบินซึ่งเป็นโลว์คอสต์ มีทิศทางการดำเนินงานไปในแนวเดียวกัน
สำหรับการพิจารณาปรับราคาค่าตั๋วโดยสารครั้งนี้ ถือเป็นการปรับครั้งใหญ่และเป็นครั้งแรก นับจากการก่อตั้งธุรกิจสายการบินโลว์คอสต์ในประเทศไทย เพราะปัจจุบันนอกจากต้นทุนค่าเชื้อเพลิงจะสูงขึ้นอย่างไม่มีทีท่าว่าจะหยุดเมื่อใด สายการบินโลว์คอสต์ยังจะต้องมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากค่าเช่าพื้นที่และค่าปฎิบัติการและค่าอื่นๆ ที่จะต้องจ่ายให้แก่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งจะเป็นอัตราที่สูงกว่าท่าอากาศยานดอนเมือง
“ที่ผ่านมา แม้ว่าสายการบินโลว์คอสต์จะประสบปัญหาต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเพียงใด เราก็ยังคงราคาตั๋วไว้เท่าเดิม จะมีขอเก็บเพิ่มเติมบ้างก็เป็นค่าธรรมเนียมน้ำมัน ที่จากเดิมเก็บอยู่ 200 บาท ต่อที่นั่ง และมาขอปรับเพิ่มอีก 100 บาทต่อที่นั่ง”
ทั้งนี้ การปรับขึ้นค่าตั๋วโดยสารในครั้งนี้ คงต้องรอให้ผู้บริหารทั้ง 3 สายการหารือและได้ข้อสรุปออกมาก่อน จึงจะให้คำตอบได้ว่าจะมีการปรับขึ้นในสัดส่วนเท่าไหร่ แต่ทั้งนี้ราคาที่ปรับขึ้นจะต้องเป็นราคาที่สมเหตุสมผล และจะต้องเป็นอัตราที่เท่าเทียมกันทั้ง 3 สายการบิน เพื่อลดการเหลื่อมล้ำทางด้านการแข่งขัน เพราะในสภาวะต้นทุนที่สูง มองว่า การทำธุรกิจไม่ควรใช้สงครามราคาเข้ามาแข่งขัน เพราะสุดท้ายธุรกิจก็จะไปไม่รอด แต่หากต้องการแข่งขันควรจะหันมาใช้กลยุทธ์ส่งเสริมการขายด้วยวิธีอื่นๆทดแทน ซึ่งสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ นอกจากนั้น ทั้งนกแอร์ และแอร์เอเชีย ยังสามารถใช้วิธีตั้งราคาจากการจองได้อีกวิธีหนึ่ง ขณะที่ วัน-ทู-โก จะขายตั๋วราคาเดียวทุกที่นั่ง
อย่างไรก็ตามเชื่อว่า การปรับขึ้นราคาตั๋วโดยสารของกลุ่มสายการบินโลว์คอสต์ครั้งนี้ เชื่อว่าผู้โดยสารจะเข้าใจถึงเหตุผลของการปรับขึ้นราคา และจะไม่ทำให้ผู้ใช้บริการลดจำนวนลงอย่างแน่นอน เพราะแม้ผู้โดยสารจะเลือกเดินทางด้วยรูปแบบอื่น ก็ต้องประสบภาวะของค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นเหมือนกัน ทั้งรถยนต์ส่วนตัว รถโดยสารประจำทาง และรถไฟ ขณะที่มองว่า การเดินทางด้วยเครื่องบินจะประหยัดเวลาและปลอดภัยกว่า
ส่วนเรื่องการย้ายสถานที่จัดการจากสนามบินดอนเมืองไปยังสนามบินสุวรรณภูมิ ยังคงสนับสนุนให้มีการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารเฉพาะสายการบินโลว์คอสต์ เพราะนอกจากจะลดการแออัดของการใช้พื้นที่แล้ว จะยังช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในค่าปฎิบัติการและค่าเช่าพื้นที่ได้บ้าง
นายอุดม ตันติประสงค์ชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้อำนวยการ บริษัทโอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ ผู้ให้บริการสายการบินต้นทุนต่ำ (โลว์คอสต์ แอร์ไลน์) โอเรียนท์ ไทย บาย วัน-ทู-โก เปิดเผยว่า จากภาวะน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดแตะ 80 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาเรล ได้กระทบต่อต้นทุนค่าเชื้อเพลิงของผู้ประกอบการธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำด้วยเช่นกัน
ดังนั้นทางผู้บริหารสายการบินต้นทุนต่ำทั้ง 3 บริษัท ประกอบด้วยนายทัศพล แบเลเว็ลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยแอร์เอเชีย ,นายพาที สารสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทสกายเอเชีย ผู้ให้บริการ สายการบินนกแอร์ และสายการบิน วัน-ทู-โก บายโอเรียนท์ไทย จึงได้นัดหารือกันในเร็วๆนี้ถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และการกำหนดการขึ้นอัตราค่าโดยสารเครื่องบิน ตลอดจนการย้ายจุดบริการจากสนามบินดอนเมือง ไปยังสนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อให้ทั้ง 3 สายการบินซึ่งเป็นโลว์คอสต์ มีทิศทางการดำเนินงานไปในแนวเดียวกัน
สำหรับการพิจารณาปรับราคาค่าตั๋วโดยสารครั้งนี้ ถือเป็นการปรับครั้งใหญ่และเป็นครั้งแรก นับจากการก่อตั้งธุรกิจสายการบินโลว์คอสต์ในประเทศไทย เพราะปัจจุบันนอกจากต้นทุนค่าเชื้อเพลิงจะสูงขึ้นอย่างไม่มีทีท่าว่าจะหยุดเมื่อใด สายการบินโลว์คอสต์ยังจะต้องมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากค่าเช่าพื้นที่และค่าปฎิบัติการและค่าอื่นๆ ที่จะต้องจ่ายให้แก่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งจะเป็นอัตราที่สูงกว่าท่าอากาศยานดอนเมือง
“ที่ผ่านมา แม้ว่าสายการบินโลว์คอสต์จะประสบปัญหาต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเพียงใด เราก็ยังคงราคาตั๋วไว้เท่าเดิม จะมีขอเก็บเพิ่มเติมบ้างก็เป็นค่าธรรมเนียมน้ำมัน ที่จากเดิมเก็บอยู่ 200 บาท ต่อที่นั่ง และมาขอปรับเพิ่มอีก 100 บาทต่อที่นั่ง”
ทั้งนี้ การปรับขึ้นค่าตั๋วโดยสารในครั้งนี้ คงต้องรอให้ผู้บริหารทั้ง 3 สายการหารือและได้ข้อสรุปออกมาก่อน จึงจะให้คำตอบได้ว่าจะมีการปรับขึ้นในสัดส่วนเท่าไหร่ แต่ทั้งนี้ราคาที่ปรับขึ้นจะต้องเป็นราคาที่สมเหตุสมผล และจะต้องเป็นอัตราที่เท่าเทียมกันทั้ง 3 สายการบิน เพื่อลดการเหลื่อมล้ำทางด้านการแข่งขัน เพราะในสภาวะต้นทุนที่สูง มองว่า การทำธุรกิจไม่ควรใช้สงครามราคาเข้ามาแข่งขัน เพราะสุดท้ายธุรกิจก็จะไปไม่รอด แต่หากต้องการแข่งขันควรจะหันมาใช้กลยุทธ์ส่งเสริมการขายด้วยวิธีอื่นๆทดแทน ซึ่งสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ นอกจากนั้น ทั้งนกแอร์ และแอร์เอเชีย ยังสามารถใช้วิธีตั้งราคาจากการจองได้อีกวิธีหนึ่ง ขณะที่ วัน-ทู-โก จะขายตั๋วราคาเดียวทุกที่นั่ง
อย่างไรก็ตามเชื่อว่า การปรับขึ้นราคาตั๋วโดยสารของกลุ่มสายการบินโลว์คอสต์ครั้งนี้ เชื่อว่าผู้โดยสารจะเข้าใจถึงเหตุผลของการปรับขึ้นราคา และจะไม่ทำให้ผู้ใช้บริการลดจำนวนลงอย่างแน่นอน เพราะแม้ผู้โดยสารจะเลือกเดินทางด้วยรูปแบบอื่น ก็ต้องประสบภาวะของค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นเหมือนกัน ทั้งรถยนต์ส่วนตัว รถโดยสารประจำทาง และรถไฟ ขณะที่มองว่า การเดินทางด้วยเครื่องบินจะประหยัดเวลาและปลอดภัยกว่า
ส่วนเรื่องการย้ายสถานที่จัดการจากสนามบินดอนเมืองไปยังสนามบินสุวรรณภูมิ ยังคงสนับสนุนให้มีการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารเฉพาะสายการบินโลว์คอสต์ เพราะนอกจากจะลดการแออัดของการใช้พื้นที่แล้ว จะยังช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในค่าปฎิบัติการและค่าเช่าพื้นที่ได้บ้าง