กระทรวงอุตสาหกรรมดึงสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติสำรวจข้อมูลลอจิสติกส์เชิงลึกเน้นเจาะเป็นรายอุตสาหกรรม หวังเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้ธุรกิจไทยสู้ยุคน้ำมันแพง โดยระยะแรกเจาะลึก 5 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ ชิ้นส่วนยานยนต์ ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ อาหาร สิ่งทอ และผลิตภัณฑ์ยาง
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวในการสัมมนาเรื่อง "ลอจิสติกส์ : พลังขับเคลื่อน อุตสาหกรรมยุคใหม่” ว่า ขณะนี้กระทรวงอุตสาหกรรมได้ร่วมกับสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารจัดการลอจิสติกส์ของภาคอุตสาหกรรมโดยรวม โดยในระยะแรกเน้นเจาะลึกการสำรวจอุตสาหกรรมที่เป็นเป้าหมายในการส่งเสริมและพัฒนาตามแผนการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมยุคใหม่ของกระทรวงอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ อาหาร สิ่งทอ และผลิตภัณฑ์ยาง ก่อนขยายสู่ภาคอุตสาหกรรมประเภทอื่น ๆ ต่อไป
นายจักรมณฑ์ กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรมจะนำข้อมูลที่ได้มาจัดทำแผนการบริหารจัดการการลดต้นทุนการผลิตด้วยระบบลอจิสติกส์เชิงลึกให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจภายในประเทศ นอกจากนั้นยังได้กำหนดให้สถาบันที่เกี่ยวข้องในแต่ละสาขาอุตสาหกรรมบูรณาการการทำงานร่วมกันเพื่อเกิดความเชื่อมโยงของข้อมูลด้านการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ จากการสำรวจข้อมูลโครงสร้างการบริหารจัดการขั้นพื้นฐานของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมพบว่า ลอจิสติกส์เป็นจุดอ่อนสำคัญของผู้ประกอบการไทย จึงจำเป็นที่จะต้องให้ผู้ประกอบการมีความรู้ความเข้าใจในความสำคัญของเทคโนโลยีลอจิสติกส์เพื่อให้สามารถนำแนวทางมาปรับใช้กับธุรกิจของตนเองได้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะการบริหารจัดการด้านการผลิตให้ได้คุณภาพเป็นที่ยอมรับ และความรวดเร็วในการส่งมอบสินค้าและบริการ ซึ่งหากผู้ประกอบการมีการบริหารจัดการลอจิสติกส์ที่ดีจะช่วยประเทศชาติลดการสิ้นเปลืองพลังงาน
ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาธนาคารโลกได้มีการประมาณการตัวเลขต้นทุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมโดยรวมไว้ว่า ในระดับธุรกิจ หากบริษัทสามารถลดต้นทุนการขนส่งได้ร้อยละ 1 จะสามารถทำให้ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 และหากประเทศใดสามารถลดต้นทุนการขนส่งได้ถึงร้อยละ 10 จะสามารถเพิ่มการค้ารวมได้ถึงร้อยละ 20 ขณะที่ปัจจุบันผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของประเทศไทยมีมูลค่า 6 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นต้นทุนของระบบขนส่งคิดเป็นร้อยละ 19 - 20 หรือประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท ซึ่งหากประเทศไทยลดต้นทุนการขนส่งได้ร้อย 10 จะประหยัดงบประมาณได้ถึง 700,000 ล้านบาท
นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวในการสัมมนาเรื่อง "ลอจิสติกส์ : พลังขับเคลื่อน อุตสาหกรรมยุคใหม่” ว่า ขณะนี้กระทรวงอุตสาหกรรมได้ร่วมกับสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารจัดการลอจิสติกส์ของภาคอุตสาหกรรมโดยรวม โดยในระยะแรกเน้นเจาะลึกการสำรวจอุตสาหกรรมที่เป็นเป้าหมายในการส่งเสริมและพัฒนาตามแผนการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมยุคใหม่ของกระทรวงอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ อาหาร สิ่งทอ และผลิตภัณฑ์ยาง ก่อนขยายสู่ภาคอุตสาหกรรมประเภทอื่น ๆ ต่อไป
นายจักรมณฑ์ กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรมจะนำข้อมูลที่ได้มาจัดทำแผนการบริหารจัดการการลดต้นทุนการผลิตด้วยระบบลอจิสติกส์เชิงลึกให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจภายในประเทศ นอกจากนั้นยังได้กำหนดให้สถาบันที่เกี่ยวข้องในแต่ละสาขาอุตสาหกรรมบูรณาการการทำงานร่วมกันเพื่อเกิดความเชื่อมโยงของข้อมูลด้านการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ จากการสำรวจข้อมูลโครงสร้างการบริหารจัดการขั้นพื้นฐานของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมพบว่า ลอจิสติกส์เป็นจุดอ่อนสำคัญของผู้ประกอบการไทย จึงจำเป็นที่จะต้องให้ผู้ประกอบการมีความรู้ความเข้าใจในความสำคัญของเทคโนโลยีลอจิสติกส์เพื่อให้สามารถนำแนวทางมาปรับใช้กับธุรกิจของตนเองได้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะการบริหารจัดการด้านการผลิตให้ได้คุณภาพเป็นที่ยอมรับ และความรวดเร็วในการส่งมอบสินค้าและบริการ ซึ่งหากผู้ประกอบการมีการบริหารจัดการลอจิสติกส์ที่ดีจะช่วยประเทศชาติลดการสิ้นเปลืองพลังงาน
ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาธนาคารโลกได้มีการประมาณการตัวเลขต้นทุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมโดยรวมไว้ว่า ในระดับธุรกิจ หากบริษัทสามารถลดต้นทุนการขนส่งได้ร้อยละ 1 จะสามารถทำให้ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 และหากประเทศใดสามารถลดต้นทุนการขนส่งได้ถึงร้อยละ 10 จะสามารถเพิ่มการค้ารวมได้ถึงร้อยละ 20 ขณะที่ปัจจุบันผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของประเทศไทยมีมูลค่า 6 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นต้นทุนของระบบขนส่งคิดเป็นร้อยละ 19 - 20 หรือประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท ซึ่งหากประเทศไทยลดต้นทุนการขนส่งได้ร้อย 10 จะประหยัดงบประมาณได้ถึง 700,000 ล้านบาท