รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เรียกผู้บริหารการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า สายมักกะสัน-สุวรรณภูมิ ถกเครียดปัญหารอยร้าว ทั้งตอม่อและคาน โดยยอมรับว่ามีปัญหารอยร้าวจริง และสั่งทุบตอม่อไปแล้ว 2 ต้น ขณะที่คานรับน้ำหนักนั้น ไม่กระทบความแข็งแรงของโครงสร้าง และให้หาแนวทางทางวิศวกรรมซ่อมแซมแล้ว

นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้ประชุมผู้บริหารการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) หลังตอม่อและคานของโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง หรือแอร์พอร์ต ลิงก์ มีรอยแตกร้าว พร้อมทั้งได้ลงพื้นที่ไปตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่าจากเสาตอม่อทั้งโครงการ 889 ต้น ได้ทำการหล่อเสร็จแล้ว 212 ต้น และพบในจำนวนดังกล่าวมีรอยร้าว 14 ต้น และในจำนวนดังกล่าวได้สั่งให้ทุบทำลายทิ้งเนื่องจากเสามีรูพรุนจนเห็นเนื้อเหล็ก และอีก 1 ต้น อยู่ระหว่างการตรวจสอบรายละเอียดว่าจะซ่อมแซม หรือทุบทิ้ง
ส่วนที่เหลือตรวจสอบแล้วไม่มีปัญหา เพราะเป็นรอยแตกร้าวที่ไม่เกินมาตรฐานทางวิศวกรรม นอกจากนี้ ยังพบรอยร้าวบริเวณคานกล่อง (Segment) โดยลักษณะรอยร้าวที่บริเวณผิวด้านในของคานกล่องที่ติดตั้งบนเสาตอม่อ ( Pier Segment ) ขนาด 0.2-0.3 มิลลิเมตร ซึ่งสาเหตุมาจากการดึงลวดอัดแรงด้วยแรงดึงที่มากเกินไป ซึ่งทางวิศวกรควบคุมงานยืนยันว่าแก้ไขได้โดยการใช้คาร์บอนไฟเบอร์ ซึ่งมีคุณสมบัติในการยึดรอยแตกร้าวไม่ให้ขยายเพิ่มขึ้นมาปิดทับ ส่วนคานที่ยังไม่ได้หล่อจะเพิ่มเหล็กเส้นให้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าโครงสร้างแอร์พอร์ต ลิงก์ ยังมีความแข็งแรงตามมาตรฐานการออกแบบ และกรณีที่เกิดขึ้นยังไม่กระทบแผนงานโดยภาพรวม
“ได้กำชับหน่วยงานและผู้ควบคุมงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้มีความเข้มงวดในการตรวจสอบและควบคุมงานเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา และหากมีปัญหาผู้ออกแบบและวิศวกรผู้ควบคุมงานก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ และที่ถามว่าทางหน่วยงานดังกล่าวไม่รายงานให้ทราบหรือ จริงแล้วทางหน่วยงานต่าง ๆ มีรายงานให้การรถไฟฯ ทราบ แต่ไม่มีการรายงานให้ผมทราบ” นายพงษ์ศักดิ์ กล่าว
นายมนัส ชื่นเกิดลาภ วิศวกรผู้ควบคุมงาน กล่าวว่า ยอมรับว่า โครงการแอร์พอร์ต ลิงก์ มีความล่าช้าเกือบร้อยละ 20 ซึ่งเกิดจากการเวนคืนที่ดินมากกว่าเรื่องรอยแตกร้าว และยืนยันว่าวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างทั้งหมดเป็นไปตามมาตรฐานการออกแบบ และบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้าง เพื่อให้รายงานปัญหาดังกล่าว ซึ่งทางผู้รับเหมาได้ทำรายงานแจ้งให้ทราบแล้วว่า ตอม่อและคานของโครงการดังกล่าวเกิดรอยร้าวขึ้นจริง โดยตอม่อเกิดจากผิวคอนกรีตที่ไล่ความชื้นไม่ทัน และเมื่อมีแดดเผาก็มีการหดตัวและรอยแตก
สำหรับคานซึ่งมีรอยร้าวเกิดขึ้น ขณะนี้ รฟท. และผู้รับเหมาก่อสร้าง ได้สั่งให้มีการตั้งคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมจากภายนอกเข้ามาตรวจสอบเพื่อหาคำตอบใน 3 ประเด็น คือ สาเหตุของรอยร้าว ปริมาณการแตกร้าว และวิธีการซ่อมแซม ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน 2 สัปดาห์ข้างหน้า
นายสุทธิผล วิวัฒนะทีปะ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมก่อสร้าง กล่าวว่า รอยร้าวที่เกิดขึ้นรู้สึกว่าเป็นรอยร้าวที่ใหญ่เกินไป น่าจะอยู่ที่ 0.15 มิลลิเมตรเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบรอยร้าวดังกล่าวเกิดขึ้นไม่มากนัก โดยแนวทางการแก้ไขคือ ให้นำคาร์บอน์ไฟเบอร์มาติดขวางตามแนวเพื่อยึดแนวที่ร้าว ส่วนคานที่ยังไม่ได้หล่อนั้นให้เสริมเหล็กเพิ่มขึ้น
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้ประชุมผู้บริหารการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) หลังตอม่อและคานของโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง หรือแอร์พอร์ต ลิงก์ มีรอยแตกร้าว พร้อมทั้งได้ลงพื้นที่ไปตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่าจากเสาตอม่อทั้งโครงการ 889 ต้น ได้ทำการหล่อเสร็จแล้ว 212 ต้น และพบในจำนวนดังกล่าวมีรอยร้าว 14 ต้น และในจำนวนดังกล่าวได้สั่งให้ทุบทำลายทิ้งเนื่องจากเสามีรูพรุนจนเห็นเนื้อเหล็ก และอีก 1 ต้น อยู่ระหว่างการตรวจสอบรายละเอียดว่าจะซ่อมแซม หรือทุบทิ้ง
ส่วนที่เหลือตรวจสอบแล้วไม่มีปัญหา เพราะเป็นรอยแตกร้าวที่ไม่เกินมาตรฐานทางวิศวกรรม นอกจากนี้ ยังพบรอยร้าวบริเวณคานกล่อง (Segment) โดยลักษณะรอยร้าวที่บริเวณผิวด้านในของคานกล่องที่ติดตั้งบนเสาตอม่อ ( Pier Segment ) ขนาด 0.2-0.3 มิลลิเมตร ซึ่งสาเหตุมาจากการดึงลวดอัดแรงด้วยแรงดึงที่มากเกินไป ซึ่งทางวิศวกรควบคุมงานยืนยันว่าแก้ไขได้โดยการใช้คาร์บอนไฟเบอร์ ซึ่งมีคุณสมบัติในการยึดรอยแตกร้าวไม่ให้ขยายเพิ่มขึ้นมาปิดทับ ส่วนคานที่ยังไม่ได้หล่อจะเพิ่มเหล็กเส้นให้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าโครงสร้างแอร์พอร์ต ลิงก์ ยังมีความแข็งแรงตามมาตรฐานการออกแบบ และกรณีที่เกิดขึ้นยังไม่กระทบแผนงานโดยภาพรวม
“ได้กำชับหน่วยงานและผู้ควบคุมงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้มีความเข้มงวดในการตรวจสอบและควบคุมงานเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา และหากมีปัญหาผู้ออกแบบและวิศวกรผู้ควบคุมงานก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ และที่ถามว่าทางหน่วยงานดังกล่าวไม่รายงานให้ทราบหรือ จริงแล้วทางหน่วยงานต่าง ๆ มีรายงานให้การรถไฟฯ ทราบ แต่ไม่มีการรายงานให้ผมทราบ” นายพงษ์ศักดิ์ กล่าว
นายมนัส ชื่นเกิดลาภ วิศวกรผู้ควบคุมงาน กล่าวว่า ยอมรับว่า โครงการแอร์พอร์ต ลิงก์ มีความล่าช้าเกือบร้อยละ 20 ซึ่งเกิดจากการเวนคืนที่ดินมากกว่าเรื่องรอยแตกร้าว และยืนยันว่าวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างทั้งหมดเป็นไปตามมาตรฐานการออกแบบ และบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้าง เพื่อให้รายงานปัญหาดังกล่าว ซึ่งทางผู้รับเหมาได้ทำรายงานแจ้งให้ทราบแล้วว่า ตอม่อและคานของโครงการดังกล่าวเกิดรอยร้าวขึ้นจริง โดยตอม่อเกิดจากผิวคอนกรีตที่ไล่ความชื้นไม่ทัน และเมื่อมีแดดเผาก็มีการหดตัวและรอยแตก
สำหรับคานซึ่งมีรอยร้าวเกิดขึ้น ขณะนี้ รฟท. และผู้รับเหมาก่อสร้าง ได้สั่งให้มีการตั้งคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมจากภายนอกเข้ามาตรวจสอบเพื่อหาคำตอบใน 3 ประเด็น คือ สาเหตุของรอยร้าว ปริมาณการแตกร้าว และวิธีการซ่อมแซม ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน 2 สัปดาห์ข้างหน้า
นายสุทธิผล วิวัฒนะทีปะ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมก่อสร้าง กล่าวว่า รอยร้าวที่เกิดขึ้นรู้สึกว่าเป็นรอยร้าวที่ใหญ่เกินไป น่าจะอยู่ที่ 0.15 มิลลิเมตรเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบรอยร้าวดังกล่าวเกิดขึ้นไม่มากนัก โดยแนวทางการแก้ไขคือ ให้นำคาร์บอน์ไฟเบอร์มาติดขวางตามแนวเพื่อยึดแนวที่ร้าว ส่วนคานที่ยังไม่ได้หล่อนั้นให้เสริมเหล็กเพิ่มขึ้น